วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วาทะธรรม: ความดี 10 ประการ รากฐานของ เหยินหวุน


ความดี 10 ประการ รากฐานของ เหยินหวุน
(THE TEN GOODS:THE FOUNDATION OF HUMANITY)


ธรรมมาจารย์ เจิ้นเอี๋ยง ได้สอนให้ ลูกศิษย์ทุกคน
นอกจากต้องปฏิบัติตามศีล 5 แล้ว ต้องทำความดีอีก 10 ประการได้แก่

กระทำดี 3 ประการ
พูดดี 4 ประการ
คิดดี 3 ประการ

กระทำดี ๓ ประการได้แก่
๑.คุ้มครอง ปกป้อง สรรพชีวิต (Protect life)
๒.บริจาค ให้ทาน (giving)
๓.การมีชีวิตคู่ กับคู่ครอง อย่างถูกต้อง อยู่ในศีลธรรม ตามวัฒนธรรม สังคมและศาสนา(chastity)

พูดดี 4 ประการ
๔.พูดแต่ความจริง(truth)
๕.พูดไพเราะ น่าฟัง(pleasant language)
๖.พูดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม (Agreeable words)
๗.พูดตรงไปตรงมา (Straight forward speech-ไม่พูดเพ้อเจ้อ)

คิดดี ๓ ประการ
๘.คิดขจัดความโลภออกจากใจ(eliminate greed)
๙.คิดเมตตา โดยขจัดความโกรธออกจากใจ(eliminate anger)
๑๐.จิตที่เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมเพื่อขจัดความหลงออกไป(The law of cause and effect to eliminate delusion)

(แปลจากหนังสือ THREE WAYS TO THE PURE LAND lecture by Dharma Master Cheng Yen.Translated by Lin Sen-shou
English edited by Hu Tsang-hsiang and Douglas Shaw.Published by the Tzu Chi Cultural Publishing Co.Fourth printing May 2008.Page 84-94.)



ทั้ง 10 ประการนี้ เชื่อว่าชาวพุทธไทยเรา
ก็คงเคยได้ฟังธรรมนี้มา ตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้นประถม

เป็นเรื่องที่ ท่านซ่างเหยิน หยิบขึ้นมาสอนคนไต้หวัน
และคนทั่วๆไป ว่า ทำ 10 ข้อนี้ เป็นรากฐานของ
จริยธรรม ที่จะบังเกิดขึ้นในใจของเรา

ธรรม ที่ฉือจี้ รักษา
กับธรรม ที่สอนในเมืองไทย
ไม่แตกต่างกัน

ต่างกันที่ คน ไทย หรือคนไต้หวัน

จะนำธรรม
นั้น
มาทำ
หรือไม่เท่านั้น

รายงานการประชุม อส.ฉจ.ราชบุรี 28-5-2011 菩提會議記錄

菩提會議記錄
บันทึกการประชุมผูถีฮูอ้ายราชบุรี

วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เวลา 8.30 น – 17.00
น ห้องประชุมพงษธา อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลโพธาราม
ผู้ร่วมประชุมทั้งหมด 27 ท่าน
กรรมการจากกรุงเทพ 5 ท่าน คือ คุณเมตตา อาจารย์สุชน ป้าชู คุณบุญประกอบและอาหมิง
อาสาสมัครโพธาราม 13 ท่านคือ แพทย์สมบูรณ์ คุณนก คุณแมว พี่สายหยุด
พี่สำเนียง พี่นิตยา พี่ขวัญตา พี่เว้ง พี่เง็ง ป้ากัลยา ป้าสุนี น้าทวี และคุณแตง
จากสสจ.ราชบุรี 2 ท่านคือนายแพทย์บุญเรียง คุณกอล์ฟ
วัดเพลง 2 ท่าน
บ้านโป่ง 5 ท่าน
ผู้บันทึกการประชุม น.ส.สุพัตรา แตงฮ้อ ( คุณแตง)
ผู้ถ่ายภาพ นายวีระชัย ทาบุญสม (อาหมิง)
----------------------------------------------


*เริ่มประชุมโดยการไหว้พระ ร้องเพลงมาร์ชฉือจี้ กล่าวศีล สิบ

*แล้วฟังท่านธรรมมาจารย์เทศน์ เรื่องอาหารและเครื่องดื่มที่วางขายในร้านสะดวกซื้อที่ประเทศไต้หวั่นมีการตรวจพบมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิดซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะเกิดโทษ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยง การทำอาหารรับประทานเองที่บ้านจะปลอดภัยกว่า น้ำดื่มก็ควรนำไปจากบ้านก็จะดีกว่าสะอาดกว่าอาจนำมาต้มให้สะอาดก่อน คนเราต้องรู้จักรักและถนอมร่างกายของเราเพื่อทำประโยชน์ทำความดีต่อโลกและมวลมนุษย์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์รสจืดจะดีต่อสุขภาพ เราต้องรู้จักใช้ชีวิตที่แสนสั้นนี้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มักมีคนพูดว่ารอให้รวยก่อนค่อยช่วยเหลือผู้อื่นนี้คือความโลภเพราะคนเราส่วนมากมักจะคิดว่าได้หรือมีอยู่แค่หนึ่งยังขาดอีกตั้ง เก้า เสมอแล้วเมื่อไหร่ที่จะบอกว่าตนเองรวย การได้รวบรวมทรัพย์คนละเล็กคนละน้อยเพื่อช่วยเหลือคนอื่นได้ถือเป็นเรื่องดี การรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ทานแค่ พออิ่ม 70-80 % ก็พอ เก็บที่เหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นการรู้จักประหยัดกินประหยัดใช้เปรียบเสมือนการปฎิบัติธรรมการให้ทานทำให้จิตใจเปรียบเสมือนยิ่งรวย คนที่ไม่ค่อยมีทรัพย์แต่รู้จักให้ความรักแก่ผู้อื่นก็จะรวยความรักรวยน้ำใจจิตใจก็จะดี การทำความดีเป็นการตอบแทนคุณพ่อแม่และพระแม่ธรณีด้วย ก่อนเทศน์จบท่านธรรมมาจารย์อวยพรให้ทุกคนปลอดภัย

*คุณเมตตาแบ่งปันเรื่องการซื้ออาหารใส่ถุงพลาสติกเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายเพราะสารที่ใช้ผลิตถุงเมื่อถูกความร้อนก็จะออกมาในอาหารเมื่อรับประทานอาหารก็ได้รับสารพิษเข้าไปสะสมในร่างกาย น้ำจิ้มพริกป่นล้วนแต่มีสารอันตรายต่อร่ากายทั้งนั้น ม่าม่าก็ใช้น้ำมันในการทอดเส้นที่ไม่เคยเปลี่ยนน้ำมันเลยล้วนเป็นสิ่งอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น

*ดูภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย มีภาพข่าวนายแพทย์บุญเรียงที่ไปทำงานอาสาสมัครที่โรงพยาบาลในประเทศไต้หวัน และได้เข้าพบท่านธรรมมาจารย์ด้วย ท่านธรรมมาจารย์บอกให้แพทย์บุญเรียงมารับกรรมการในปีนี้ และกลับมาดูแลคนไข้ให้ดีๆและมาถ่ายทอดความดีให้แพทย์สนใจและดูแลผู้ป่วยด้วยความรักมากๆ

*คุณเมตตาแจ้งปฏิทินกิจกรรมในแต่ละเดือนดังนี้
29 พฤษภาคม- 2 มิถุนายน2554 ที่กรุงเทพมีการทำขนมบะจ่างขายเพื่อหาเงินสร้างศาลาจิ้งซือ
13 – 18 กรกฎาคม 2554 มีการอบรมเข้าค่ายกรรมการที่ประเทศไต้หวัน
9 -13 สิงหาคม 2554 มีการอบรมแพทย์ทิม่าที่ไต้หวัน ( ผู้สนใจลงทะเบียน 5 มิถุนายน 2554 )
27ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2554 กรรมการกิตติมศักดิ์ ประชุมที่ประเทศไต้หวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
8 – 19 พฤศจิกายน 2554 พิธีรับกรรมการที่ปประเทศไต้หวัน
23 -28 ธันวาคม 2554อบรมค่ายเยาวชนฉือจี้ที่ไต้หวัน
**ปีนี้ไม่มีการอบรมเสื้อเทาที่ไต้หวันคุณเมตตาอาจพาไปปีนัง**


*ดูภาพกิจกรรมช่วยน้ำท่วมที่ภาคใต้ของไทยและมีการแบ่งปันความรู้สึกการทำงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดของลงถุงบริจาคก็ต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนมีระบบมีการผูกเชีอกสำหรับถุงที่มีของแตกต่างจากถุงอี่นๆเช่นของสำหรับเด็ก การใช้ดนตรีเปิดขณะทำงานทำให้บรรยากาศดีขึ้น การถ่ายภาพที่ดีจะสามารถเล่าเรื่องราวได้ การให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้าต้องให้ตรงความต้องการของผู้รับเป็นสิ่งที่ควรทำและถ้ามีการมอบเงินใส่ซองต้องแจ้งให้ทราบด้วย การแต่งกายร้องเท้าบูธใช้สีอะไรก็ได้ให้เหมือนกันและเหมาะสมสะดวกต่อการปฏิบัติงาน

*ดูภาพกิจกรรมอบรมกรรมการที่กรุงเทพฯ และพาไปดูสถานที่ที่จะสร้างศาลาจิ้งซือที่สวนหลวงร.9

*ดูภาพกิจกรรมเสิร์ฟน้ำชาที่โรงพยาบาลโพธารามแบ่งปันว่าการเสิร์ฟน้ำชาเพื่อใช้เป็นสื่อในการพูดคุยกับผู้ป่วย การมอบความรักเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนเสิร์ฟน้ำสมุนไพรให้ผู้ป่วยทุกครั้งควรมีการชิมรสก่อนมิให้หวานเกินไปและควรมีชนิดอุ่นและเย็นด้วย

*ประชุมการจัดงานวันที่ 19 มิถุนายน 2554 การทำความสะอาดบ้านป้าน้อยที่วัดโพธิ์ไพโรจน์
จะมีนักศึกษาจากราชภัฏนครปฐมมาร่วมกิจกรรม 80 ท่าน
จะประสานงานให้มารับประทานอาหารที่โพธารามไม่ต้องห่ออาหารมา
มอบหมายให้คุณกอล์ฟประสานงานเชิญคนร่วมงานและ
เชิญสื่อมาทำข่าว
อาสาสมัครโพธารามเตรียมสถานที่และอาหารอุปกรณ์ ต้องไปตั้งแต่ 07.30.น
ให้ติดต่อรถดับเพลิงเทศบาลมาบริการน้ำเวลา 11.00 น.
ผู้มาร่วมงานแจ้งยอดที่คุณนฤมล
ประสานงานให้ช่างมาดูทางระบายน้ำรอบบ้านป้าน้อยด้วย
ถ้ามีคนมามากอาจแบ่งไปทำบ้านลุงหมิกด้วย
คุณเมตตาจะนำเสื้อกั๊กมาให้ใช้ในการทำกิจกรรม 150
ตัวนำป้ายแบ่งกลุ่มและพี่เลี้ยง 10 คนไปด้วย
ก่อนเริ่มทำงานคุณป้าจูจะแนะนำวิธีอาจทำความสะอาดก่อน

*วันที่ 12 มิถุนายนอบรมกรรมการให้เอาป้ายชื่อไปด้วย

*25 มิถุนายน 54 ประชุมประจำเดือนให้คุณกอล์ฟประสานงานเรื่องเชิญผู้เข้าร่วมประชุมด้วย

*ประชุมจัดการอบรมค่ายคุณธรรมรุ่นที่ 4 ครั้งที่ 2 วันที่ 2 กรกฎาคม 2554 จะมีการแบ่งฐานในการอบรม และฝึกปฏิบัติที่บ้านป้าน้อยด้วย คุณแตง คุณนกและพี่เว้งรับผิดชอบเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ทีมอาสาสมัครบ้านโป่งรับผิดชอบดูแลกิจกรรมปิดตารับประทานอาหารกลางวัน การป้อนอาหารเบรคให้ผู้ปกครอง 10 คำ คุณโชติการับผิดชอบเรื่องการอบรมการแสดงละครบะหมี่ชามเดียว ให้ติดต่อทีมพี่เลี้ยงมาร่วมงาน

*งานกิจกรรมเชิดชูเกียรติสำนึกคุณจิตอาสาที่โรงพยาบาลโพธารามจะจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกาคม 2554
รูปแบบการจัดเป็นของชาวฉือจี้มีการแสดงภาษามือเพลงโลกนี้มีความรัก ครอบครัวเดียวกันและภาษามือประกอบ การชงชาจัดดอกไม้ มีการประกาศเกียรติจิตอาสาในกลุ่มต่างๆและมอบโล่ห์ ใบประกาศฯ ให้แบ่งปันระหว่างจิตอาสาและแพทย์ที่มีความซาบซึ้งต่อกัน อาสาสมัครฉือจี้เป็นผู้จัดงานให้รับใบประกาศเฉพาะผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป

*คุณเมตตาแจ้งการจัดอบรมที่วิทยาลัยราชภัฏนครปฐมดังนี้
วันที่ 3,9 กรกฏาคม 2554 อบรมนักศึกษา 1,500 คนต้องการคนช่วยงานวิทยากร พิธีกร
วันที่ 30-31 กรกฏาคม 2554 อบรมผู้นำเยาวชน 80 คนต้องการพี่เลี้ยง
วิทยากรใครสามารถทำหน้าที่อะไรแจ้งได้ ถ้าประสบผลสำเร็จจะเกิดชมรมเยาวชนฉือจี้ที่นี่
วันที่ 17 กรกฏาคม 2554 เยี่ยมครอบครัวบุญคุณที่โพธาราม คุณเมตตาให้ชวนคนมาร่วมกิจกรรมมากๆชวนคนใหม่มาด้วย คุณนกและคุณแมวเสนอทำอย่างไรมิให้นกเข้าบ้านลุงหมิกได้ และแก้ไขเรื่องห้องน้ำบ้านป้าสมจิตรแตกร้าว ลูกสาวนางชันอ้วนผิดปกติน่าจะมีความผิดปกติของเรื่องฮอร์โมนให้พามาให้แพทย์ตรวจและชวนมาร่วมกิจกรรมด้วยให้ไปเยี่ยมเคสด้วยและรับของไปเองไม่ต้องนำไปให้ คุณสมศักดิ์สามารถเซ็นชื่อได้แล้ว อาจารย์เมตตาแนะนำให้ถ่ายวีดีโอมาด้วย คุณเมตตาให้แบ่งสายทีมคุณแตงและพี่เช้งดูแลรับผิดชอบป้าน้อย ทีมคุณนกและคุณแมวรับผิดชอบลุงหมิก คุณนกแจ้งป้ารำพรวนขอเปลี่ยนเป็นแพมเพิสร์แทนนมซึ่งเดือนนี้คุณนกจัดให้แล้วและรอเข้าไปอยู่ที่บ้านสงเคราะห์ที่เมืองกาญจน์ บ้านลุงฉาย อบต.จะมาซ่อมแซมบ้านให้

*ให้บ้านโป่งและวัดเพลงแบ่งปันวัดเพลงมีการเยี่ยมเคสโดยจิตอาสาของโรงพยาบาลอยู่แล้ว
บ้านโป่งก็ทำกิจกรรมเยี่ยมเคสโดยจิตอาสาเช่นกันและมีกิจกรรมเยาวชนมาทำกิจกรรมจิตอาสาที่โรงพยาบาลให้ไปดูผู้ป่วยแล้วมาแบ่งปันและสอนเยาวชนสนใจและจะมาเป็นจิตอาสาอีกครั้งต่อไป

*แพทย์บุญเรียงอยากให้เกิดจิตอาสาทำงานในโรงพยาบาลจำนวนมากอยากให้อสม.มาอมรม
ตอนแรกโพธารามจะจัดอบรมให้ความรู้ฉือจี้ก่อนแต่ต้องรอปรึกษาแพทย์สมบูรณ์ในตอนบ่ายก่อนแต่เมื่อปรึกษาแล้วยังไม่ได้รับข้อคิดเห็นใดๆจากแพทย์สมบูรณ์

*มติที่ประชุมเห็นว่าเมื่อผ่านการอบรมค่ายคุณธรรมวันที่ 2 กรกฏาคม 2554 แล้วควรจัดอบรมครั้งต่อไปคือวันที่ 3 กันยายน 2554 จึงจะมอบเสื้อให้สำหรับคนใหม่ที่ผ่านการอบรมครบ 2 ครั้งแล้ว

*แพทย์สมบูรณ์ปรึกษาเรื่องการทำกิจกรรมอาสาสมัครที่โรงพยาบาลควรมีการมอบหมายงานให้ชัดเจนว่าวันไหนมีใครมาบ้างและการบันทึกรายงานกิจกรรมแต่ละครั้งก็ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเพื่อที่จะได้มีการรายงานกิจกรรมทุกครั้งต้องส่งรายงานภายใน 3 วันหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม

*แพทย์สมบูรณ์แจ้งข่าวดีว่ามีผู้ประสงค์ออกค่าใช้จ่ายในการตกแต่งสำนักงานฉือจี้ของโพธารามให้รีบดำเนินการได้และมีผู้ใจบุญบริจาคบอร์ดสำหรับประชาสัมพันธ์กิจกรรมของฉือจี้ที่บริเวณข้างๆร้านโพธารามสโตร์ซึ่งแพทย์สมบูรณ์จะพาคณะไปดูเมื่อเลิกการประชุมแล้ว

ปิดประชุมเวลา 16.30 น.

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เพลง ใบหน้าที่มีความสุข ซิ่ง ฝู เตอะ เหลี่ยน

เพลงนี้ไม่ทราบว่าใครแต่ง มีความหมายดีมาก
ทำนองสนุกสนาน ผมไปไต้หวันครั้งหลังสุด ธค 2553
มีการแสดงภาษามือบนเวที สนุกสนานมาก
คนฟังก็มีส่วนร่วมมาก เพลงนี้ ก็ให้เรียนภาษาจีนพร้อมกันไปด้วย
ก็จะเหมือน ยิงนกทีเดียวได้หลายตัว (เอ ยิงนก ไม่ดี บาป)
*******************************************

เพลง ใบหน้าที่มีความสุข ซิ่ง ฝู เตอะ เหลี่ยน


Xing fu de lian
*******************************************

(1)

ซิ่งฝู โหย่ว เหม่ย โหย่ว ไจ้ หว่อ เซิน เปียน
Xing fu you mei you zai wo shen bian

ความสุขนั้น อยู่ข้างฉันหรือเปล่า

เจิม มอ อี้ จื่อ คั่น ปู๋ เจี่ยน
Zen me yi zhi kan bu jian

ทำไม ไม่เห็นสักที
-----------------------------------------------------------------------
(2)

ซิ่งฝู โหย่ว เหม่ย โหย่ว ไจ้ หนี่ น่า เปียน

ความสุขนั้นอยู่ข้างเธอหรือเปล่า

ร่าง หว่อ คั่น คั่น ทา เตอะ เหลี่ยน

ให้ฉันได้เห็นหน่อยซิ

------------------------------------------------------------------------
(3)
เจีย หลี่ อี่ จิง จ่าว เลอ เฮ่า ตั๊ว เปี้ยน

ในบ้านหากันหลายตลบ

จื่อ โหย่ว เวิน หน่วน เตอะ ฝาง เจียน

มีอยู่แต่บ้านที่อุ่นไอ

--------------------------------------------------------------------------------------
(4)

ป้าปา ซัว ซิ่ง ฝู จิ้ว ไจ้ จิ้ง จึ หลี่

ป้าปาบอกความสุขอยู่ในกระจก

น่า จิ้ว ซื่อ หว่อ ไคว้ เล่อ เตอะ เหลี่ยน

นั้นคือหน้าฉันที่มีความสุข
-----------------------------------------------------------------------------------------
(5)
ครูฉันบอกว่าถ้าอยากให้น้อยลงหน่อย

ความสุขจะเพิ่มขึ้นมากมี

-----------------------------------------------------------------------------------------
(6)
รักโลกรักสิ่งที่เราใช้ประโยชน์

จำจดเอาไว้ในจิตใจ

-----------------------------------------------------------------------------------------
(7)
เมตตามารยาทจากสายตาฉัน

เห็นหน้าทุกคนมีความสุข

-------------------------------------------------------------------------------------------

การอบรมอาสาสมัครฉือจี้ ระดับนักศึกษามหาวิทยาลัย ครั้งแรก ในประเทศไทย

กิจกรรมค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้
ระหว่าง วันที่ 21 – 23 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2554
(เวลา 08.00 – 16.30 น.)
ณ ห้องกิตติ ลิ่มอภิชาต คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จัดโดย มูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวันในประเทศไทย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และ
งานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อาสาสมัคร : อาสาสมัครกรุงเทพ จำนวน 6 คน
อาสาสมัครหาดใหญ่ จำนวน 24 คน
อาสาสมัครภูเก็ต จำนวน 2 คน
อาสาสมัคตรัง จำนวน 2 คน
เจ้าหน้าที่มูลนิธิฉือจี้ : เล็ก บอล
บันทึกกิจกรรม : เล็ก
…………………………………………
วันศุกร์ ที่ 20 พฤษภาคม 2554
อาสาสมัครได้เดินทางมาถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยได้รับการต้อนรับจากอาสาสมัครฉือจี้หาดใหญ่ อาสาสมัครฉือจี้ที่ได้มาร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้ครั้งนี้ได้แก่ อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร อาสาสมัครภูเก็ต อาสาสมัครตรัง และอาสาสมัครหาดใหญ่ จำนวน 34 คน อาสาสมัครได้ร่วมกันประชุมปรึกษาวางแผนงานกิจกรรมค่ายอบรมในครั้งนี้ อาสาสมัครแต่ละท่านต่างได้รับมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบซึ่งทุกท่านรับผิดชอบหน้าที่ตามมความถนัดและความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรมตลอดระยะเวลา 3 วันในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ จากนั้นอาสาสมัครได้ช่วยกันจัดสถานที่จัดกิจกรรม และจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ จากนั้นอาสาสมัครได้รวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อมการแสดงละครห้วงเวลากระปุกออมบุญ เพื่อให้การถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา การก่อกำเนิดมูลนิธิพุทธฉือจี้เป็นไปด้วยความสมบูรณ์ที่สุด อาสาสมัครทุกท่านต่างตั้งใจฝึกซ้อมละครในครั้งนี้ อาสาสมัครแต่ละท่านมีความตั้งใจและตื่นเต้นกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
……………………………………………….
หลักการและเหตุผลกิจกรรมค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้
ปัจจุบันมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไต้หวัน เป็นแหล่งที่คนไทยคณะต่างๆ เดินทางไปแสวงบุญ เพื่อสร้าจิตสำนึกใหม่บนเส้นทางแห่งความดี โดยผ่านการจัดกิจกรรมที่ปลูกฝังคุณธรรมให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (active learning) ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ทุกศาสนา ทำให้เยาวชนได้คิด ได้ทำและมีส่วนร่วม โดยวิถีธรรมอยู่ในวิถีชีวิตทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือและลดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นวิกฤตของประเทศไทยและของโลกปัจจุบัน คณะผู้จัดอบรมได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและจิตอาสาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และการสร้างจิตสำนึกใหม่ตามแนวปฏิบัติของมูลนิธิพุทธฉือจี้โดยจิตสำนึกใหม่ (new consciousness) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่มีปริมณฑลที่กว้างขวางหมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับขั้นพื้นฐานของจิตใจ จิตวิญญาณ จากจิตเล็กไปสู่จิตใหญ่ จากความคับแคบของตัวเองไปสู่จิตที่เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวิตและธรรมชาติ เข้าถึงความเป็นทั้งหมดหรือเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติ หลุดพ้นจากความบีบคั้น ความคับแคบเป็นอิสระ มีความสุข เกิดมิตรภาพอันไพศาล รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติทั้งหมด และเข้าใจคน มองคนเป็นองค์รวมที่ประกอบด้วยมิติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ จิตวิวัฒน์ทำให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติมีได้อย่างสันติ ทำให้มนุษย์เห็นคุณค่าของคนรอบข้าง เห็นความงามของทุกสิ่งรอบตัว ก้าวข้ามความคิดคับแคบที่เคยมองโลกนำไปสู่การแก้วิกฤตต่างๆ ที่โลกเผชิญ โดยอยู่บนพื้นฐานของความรักและความเคารพกันและกันทั้งกับเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ การสร้างขบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในนำไปสู่จิตสำนึกใหม่โดยผ่านกิจกรรมการเจริญสติ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตวิวัฒน์ที่มีจิตใจดีงาม มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และเกื้อกูลต่อโลก คณะผู้จัดอบรมจึงสนใจอบรมคุณธรรมจริยธรรมและจิตอาสาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ให้กับนักศึกษาแกนนำ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ และทักษะ การเป็นจิตอาสาตามแนวทางมูลนิธิพุทธฉือจี้ และเป็นแกนนำในด้านจิตอาสาสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. เพื่อให้ได้ฝึกปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติงานด้านจิตอาสาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
………………………………………...





วันเสาร์ ที่ 21 พฤษภาคม 2554
กิจกรรมค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้ได้รับความสนใจจากนักเรียนนักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งหมด 36 คน ได้แก่
-คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 2 คน
-คณะนิติศาตร์ จำนวน 1 คน
-คณะแพทย์แผนไทย จำนวน 3 คน
-คณะเทคนิคการแพทย์ จำนวน 12 คน
-คณะแพทย์ศาสตร์ จำนวน 2 คน
-คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 1 คน
-คณะวิทยาศาตร์ จำนวน 1 คน
-เจ้าหน้าที่โครงการบัณฑิตอาสา จำนวน 1 คน
-เจ้าหน้าที่งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย จำนวน 3 คน
-วิทยาลัยการอาชีพเบตง จ.ยะลา จำนวน 1 คน
-นักศึกษาแลกเปลี่ยนสัญชาติฮ่องกง จำนวน 1 คน
-นักศึกษาแลกเปลี่ยนสัญชาติเกาหลี จำนวน 1 คน
-นักเรียนจากโรงเรียนสังกัดอบต.ท่าข้าม จำนวน 5 คน
-สมาคมจิตอาสา (VSA Thailand) จำนวน 2 คน
ผู้เข้ารับการอบรมเดินทางมาถึงห้องประชุม ต่างทยอยลงทะเบียนเพื่อรับแฟ้มกิจกรรมค่ายอบรม โดยมีอาสาสมัครให้การต้อนรับด้วยความรัก
ก่อนพิธีเปิดค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้อย่างเป็นทางการ คุณผงโชวอี้ได้แนะนำวัฒนธรรมจริยธรรมฉือจี้ “วิถีชา วิถีชีวิต” โดยมีคุณเฉียชินแสดงภาษามือประกอบการแสดง เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมการชงชาแก่ผู้เข้าอบรม เพื่อให้ทุกท่านได้เรียนรู้ชีวิตโดยใช้การชงชาเป็นสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมารยาท ความกตัญญู ความดีงาม ได้นำหลักคำสอนต่างๆไปปรับใช้และเผยแพร่ต่อไป
กิจกรรมค่ายอบรมในวันนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์นายแพทย์สุธรรม ปิ่นเจริญ รองอธิการบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้กล่าวเปิดค่ายอบรมครั้งนี้ นายแพทย์
สุธรรม กล่าวว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมพิธีเปิดการอบรมในวันนี้ ได้เห็นกลุ่มเยาวชนและนักศึกษาให้ความสำคัญและสนใจการเป็นจิตอาสา เพื่อมาดูแลช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นแกนหลักให้กับเพื่อนๆที่มีจิตอาสาด้วยกัน ไม่เพียงแต่การเติมเต็มปัจจัยภายนอกด้านการดำเนินชีวิต แต่ยังได้เติมเต็มชองว่างทางจิตใจ เริ่มต้นด้วยการสร้างสรรค์จิตใจอันดีงามของตนเอง หลายคนได้นำวาทะธรรมของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอิ๋ยนมาใช้ในการดำเนินชีวิตและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความทุกข์ยาก การรักษาพยาบาล การช่วยเหลือภัยพิบัติต่างแดน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน”
ทญ.ฉลอง เอื้องสุวรรณ ได้กล่าวรายงานค่ายอบรมแกนนำนักศึกษาจิตอาสาว่า “การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่บนเส้นทางแห่งความดี ผ่านการจัดกิจกรรมที่ปลูกฝังคุณธรรมให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เยาวชนได้คิด ได้ทำ และมีส่วนร่วม เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับขั้นพื้นฐานของจิตใจจิตวิญญาณจากจิตเล็กไปสู่จิตใหญ่ จากความคับแคบของตัวเองไปสู่จิตที่เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวิตและธรรมชาติ มองคนเป็นองค์รวมที่ประกอบด้วยมิติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ”
จากนั้นคุณผงโชวอี้ เป็นตัวแทนอาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดแก่เยาวชนผู้เข้ารับการอบรมว่า “ขอให้เยาวชนทุกคนตั้งใจและเก็บเกี่ยวความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองและนำไปเผยแพร่แก่คนรอบข้างต่อไป”
วัฒนธรรมฉือจี้ การแสดงภาษามือเพลงโลกนี้มีความรัก เพื่อเป็นถ่ายทอดการมอบความรักให้แก่คนทั่วโลก สร้างความประทับใจแก่เยาวชนทุกท่าน
เพื่อให้นักศึกษาทุกท่านได้ทำความรู้จัก คุ้นเคย สนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น คุณหมอฉลองได้ให้นักศึกษาร่วมกิจกรรม รู้ใจ รู้จัก ก่อนเริ่มกิจกรรมให้ทุกคนนั่งสมาธิ หายใจเข้า-ออกเพื่อผ่อนคลาย แล้วให้นึกย้อนระลึกถึงอดีตที่ผ่านมาเมื่อสมัยวัยเยาว์ จากนั้นทุกคนจับคู่เพื่อนเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องราวสมัยวัยเยาว์เพื่อให้เพื่อนรับฟังเรื่องราวของตน เป็นการให้ทุกคนเรียนการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี
นอกจากนี้นักศึกษาได้ร่วมกันเล่นเกมจับคู่บัดดี้ โดยแต่ละคนจะมีเพื่อนที่คอยดูแล ให้กำลังใจ โดยแต่ละคนจะได้รับข้อความให้กำลังใจใส่ซองจดหมายไว้บนกระดานหัวข้อ “หว่านต้นรักแห่งหัวใจ”เป็นการสร้างมิตรสัมพันธ์ระหว่างกัน
เรื่องราวประวัติความเป็นมาและภารกิจของฉือจี้ คุณบุญประกอบรับหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราว และเพื่อให้เยาวชนเรื่องราวมากยิ่งขึ้น อาสาสมัครได้แสดงละครเรื่อง ห้วงเวลากระบอกไม้ไผ่ เป็นการบอกเล่าต้นกำเนิดของมูลนิธิฉือจี้อย่างแท้จริง ทำให้ทุกท่านเมื่อได้รับชมละครแล้วเข้าใจเรื่องราวฉือจี้มากขึ้น และยินดีร่วมบริจาคเงินใส่กระปุกออมบุญ เพื่อทำความดีกับชาวฉือจี้ต่อไป
คุณสุชนได้ร่วมแบ่งปันงานมหาปณิธานนสี่ของฉือจี้ และได้เล่าเรื่องราวการให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้มีพระคุณ โดยยกตัวอย่างเคสคุณสุภานีซึ่งเป็นเคสที่มูลนิธิให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณสุภานีจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ปัจจุบันมูลนิธิก็ยังให้ความช่วยเหลือดูแลและแม่และลูกๆของคุณสุภานีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครอบครัวนี้ซาบซึ้งในน้ำใจชาวฉือจี้เป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาเมื่อได้รับชม VCR เรื่องราวคุณสุภานีทุกคนรู้สึกเสียใจกับครอบครัวนี้เป็นอย่างมาก และได้เรียนรู้การใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น
การอบรมในภาคเช้านักศึกษาได้เข้าใจเรื่องราวมูลนิธิฉือจี้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทุกคนจดจำเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้นอาสามัครได้ให้ทุกคนทำกิจกรรมวาดภาพ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม และให้ทุกคนช่วยกันวาดภาพสิ่งที่ตัวเองได้รับจากการอบรมในช่วงเช้าทั้งหมด ซึ่งนักศึกษาแต่ละคนต่างร่วมแรงร่วมใจกันวาดภาพถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างสวยงามแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของทุกคน และแสดงออกถึงความสมานไมตรีของนักศึกษา
กิจกรรมช่วงบ่าย อาสาสมัครได้สอนวัฒนธรรมการแสดงภาษามือ เพลงครอบครัวเดียวกัน เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมฝึกซ้อมเพื่อจะได้แสดงท่าทางได้อย่างสวนงาม เพราะช่วงบ่ายกิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยนักศึกษาจะได้ร่วมกันแสดงภาษามือให้ผู้ป่วยได้ชม
อาสาสมัครได้จำลองเหตุการณ์การไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยแบบชาวฉือจี้ ให้ได้เห็นถึงวิธีการแสดงออกต่อครอบครัวบุญคุณ มารยาท การพูดการจา และการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
กิจกรรมเยี่ยมหอผู้ป่วย อาสาสมัครได้พานักศึกษาเดินทางมายังอาคารเย็นศิระ บริเวณวัดโคกนาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อพูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยซึ่งมาพักอาศัยที่บ้านพักชั่วคราว อาคารเย็นศิระเป็นสถานที่พักสำหรับผู้ป่วยทั่วภาคใต้ซึ่งต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์แต่เนื่องจากระยะเวลาในการเดินทางต้องใช้เวลานานประกอบกับผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานาน จึงได้มาพักชั่วคราวที่อาคารเย็นศิระ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพักที่อาคารเย็นศิระ เข้ารับการรักษาด้วยโรคมะเร็ง โรคอัมพฤต อัมภาต นักศึกษาได้แบ่งกลุ่มเข้าไปเยี่ยมพูดคุย ให้กำลังใจ มอบของเยี่ยมแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย นอกจากนี้ยังได้เขียนขอความให้กำลังใจและร่วมกันแสดงภาษามือเพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยมีรอยยิ้มและมีพลังแรงใจต่อสู้กับโรคภัยต่อไป
กิจกรรมตลอดทั้งวันนี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจมูลนิธิฉือจี้มากยิ่งขึ้น พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตลอดระยะเวลา 3 วันของการอบรมนักศึกษาทุกท่านจะนำฉือจี้เข้าไปอยู่ในหัวใจของทุกคน
……………………………………….



วันอาทิตย์ ที่ 22 พฤษภาคม 2554
วันที่สองของค่ายอบรมการสร้างแกนนำนักศึกษาจิตอาสา กิจกรรมแรกในวันนี้ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง นั้นคือ “พิธีสรงน้ำพระ” อาสาสมัครได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ทำพิธีสรงน้ำพระ เมื่อเยาวชนเดินทางมาพร้อมแล้ว เยาวชนได้ร่วมฝึกซ้อมพิธีสรงน้ำพระพุทธมนต์เพื่อให้พิธีเป็นไปด้วยความสวยงามและเรียบร้อย เยาวชนทุกท่านได้ร่วมพิธีสรงน้ำพระอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นการเจริญสติ ชำระล้างกิเลศภายในจิตใจให้ดียิ่งขึ้น ทำให้จิตใจใสสะอาดมากขึ้น
อาจารย์วิมลมาลย์รับหน้าที่บรรยายการเจริญอยู่กับปัจจุบันขณะ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา โดยให้ทุกคนนั่งสมาธิ ตั้งจิตให้มั่นเพื่อเป็นการฝึกจิตใจของตนเอง จากนั้นเหรียญชินซือเจ๋ได้แบ่งปันเรื่อง การสำนึกผิด โดยใช้บทเพลงประกอบการแสดงภาษามือเป็นการสื่อความหมายเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ความทุกข์ไม่มีวันหมดสิ้น จากอดีตสะสมมา เกิดจากความโลภ โกรธ หลง จึงจำเป็นที่จะต้องสำนึกผิดต่อความอยากที่เกิดจากความรัก หลงในชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ เพื่อให้ทุกคนสำนึกผิดทุกๆวัน ทุกๆเวลา หากรู้สำนึกผิดอยู่เสมอจะทำจิตใจเราดีขึ้น ทำให้เรารู้จักรักผู้อื่นมากขึ้น เป็นการขัดเกลาจิตใจตัวเอง เมื่อนั้นเราจะมีเมตตาธรรมเกิดขึ้น การสำนึกผิดเปรียบได้กับการทำความดีต้องทำตลอดเวลา แล้วสิ่งดีๆจะเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีสมาธิ มีสติมากขึ้น อาสาสมัครได้แสดงภาษามือเพลงชีวิตคือเซน สร้างสมาธิให้เกิดขึ้นกับทุกคน ให้ทุกคนมีสติมากยิ่งขึ้น
ช่วงบ่ายของกิจกรรม อาสาสมัครได้แสดงละครเรื่องบะหมี่ชามเดียว นักศึกษาจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของการกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ละครบะหมี่ชามทำให้เราได้เรียนรู้ว่า แม่มีความหมายและเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อลูกมาก และลูกควรมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ รู้ตอบแทนคุณบิดรมารดา
จากนั้นทุกคนได้ร่วมกันแสดงภาษามือเพลงแม่จ๋า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของแม่และพ่อผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูลูกมาด้วยความรักและอาทร
ละครเทิดพระคุณแม่ ละครกล่องของแม่ เป็นละครเวทีที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ได้จัดแสดงไว้เมื่อหลายปีก่อน อาสาสมัครได้นำมาฉายให้เยาวชนได้ชม ณ บ้านหลังน้อยหลังหนึ่ง ในอดีตบรรยากาศภายในบ้านมีแต่ความสุข ความอบอุ่นของแม่และลูกๆอีกสี่ชีวิต แต่วันนี้มีเพียงหญิงชราที่ชื่อพรพรรณ ใช้ชีวิตอยู่กับลูกสาวคนเล็กเท่านั้น ส่วนลูกสาวคนโตและลูกชายคนกลาง ได้แยกออกไปมีครอบครัวอยู่ต่างหาก นานๆครั้งลูกของเธอจะมาเยี่ยมสักครั้ง ละครกล่องของแม่เป็นละครที่นำมาจากเค้าโครงเรื่องจริง ของผู้ที่ได้ชื่อว่า เกิดมาเพื่อมอบรอยยิ้ม กำลังใจ หรือแม้แต่ชีวิตเพื่อลูก เพื่อให้ทุกท่านได้ใช้หัวใจ ความรู้สึกเรียนรู้ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
กิจกรรมแบ่งปันประสบการณ์สำนึกกตัญญู อาสาสมัครได้ให้ผู้เข้าอบรมเขียนบรรยายความรู้สึก ประสบการณ์ต่างๆ หรือเรื่องราวที่อยากจะบอกแม่ของตนเอง และให้ผู้สมัครใจแบ่งปันเรื่องราวของตนเอง นักศึกษารู้สึกซาบซึ้งกับกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก น้ำตาแห่งการสำนึกผิดของลูกที่ได้ทำให้แม่เสียใจ น้อยใจ หมดกำลังใจจากความเอาแต่ใจ น้อยใจพ่อแม่ ได้ไหลผ่านดวงตาดวงน้อยของลูกๆ คำกล่าวขอโทษได้ออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจ กิจกรรมสำนึกคุณทำให้พวกเค้าหวลระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ หากไม่มีพ่อและแม่พวกเค้าคงไม่มีวันนี้ นักศึกษาต่างสัญญาว่า “จะกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จะตั้งใจเรียน และจะเป็นเด็กดีของพ่อแม่”
..........................................................
วันจันทร์ ที่ 23 พฤษภาคม 2554
วันสุดท้ายของการอบรมค่ายแกนนำนักศึกษาจิตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้ กิจกรรมเริ่มด้วยภาษามือเพลง ซิ่งฝู อาสาสมัครได้ให้นักศึกษาล้อมวงเป็นวงกลมและร่วมกันแสดงภาษามือ จากนั้นได้ร่วมกันสวดมนต์พระธรรมอมิตตาสูตร เพื่อทำให้จิตใจสงบ มีปณิธานกว้างใหญ่ ทำให้เกิดปัญญาที่ชัดแจ้ง เป็นการทำตั้งสติและสมาธิในวิถีของพุทธฉือจี้ ในทุกอิริยาบท เช่น การเดิน ยืน นั่ง นอนอย่างมีสติ
อาสาสมัครคุณบุญประกอบร่วมแบ่งปันในหัวข้อสภาวะโลกร้อน สอนให้นักศึกษารู้รักษ์โลกใบนี้ ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “1 วัน 5 ความดี ร่วมกันลดโลกร้อน” เพราะโลกในปัจจุบันกำลังเผชิญกับภัยธรรมชาติที่ร้ายเรงอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันรับประทานอาหารเจ ช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใช้บริการขนส่งมวลชน และพกพาชุดรับประทานอาหารส่วนตัว เพื่อลดการใช้พลาสติกและโฟม
“มาช่วยกันถนอมโลกใบนี้กันเถอะ” อาสาสมัครได้แสดงละครเรื่องการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ลดการใช้ถุงพลาสติก แยกขยะรีไซเคิล แนะนำการนำขวดพลาสติกใสมาทำผ้าห่มและเสื้อผ้า นักศึกษาต่างสัมผัสคามนุ่มของเนื้อผ้าจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิลของมูลนิธิฉือจี้ ทำให้เข้าใจว่า จริงๆแล้วขวดพลาสติกมีคุณค่ามากมาย นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการอนุรัษ์สิ่งแวดล้อมของฉือจี้ และได้ร่วมกันเปิดใจ ร่วมกันเสนอแนวคิดเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้
โครงการที่ 1 “กระดาษหน้าที่ 3” กระดาษเมื่อเขียนทั้งสองด้านแล้วสมามารถนำมาทำเป็ยกระดาษอักษรเบลได้เพื่อเป็นหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา
โครงการที่ 2 ช่วยกันปลูกต้นไม้ ร่วมรณรงค์ให้ทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้คนละต้นเพื่อช่วยให้โลกใบนี้มีพิ้นที่สีเขียวมากยิ่งขึ้น
โครงการที่ 3 ปฏิบัติการเปลี่ยนโลก ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เมื่อทุกคนช่วยกันโลกใบนี้จะสามารถกลับมาเป็นโลกที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
กิจกรรมช่วงรับประทานอาหารกลางวัน อาสาสมัครได้ให้นักศึกษารับประทานอาหารแบบ “ปิดตากินข้าว” เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสถึงความลำบาก ความรู้สึกเมื่อมองไม่เห็น และฝึกความอดทนในการทำสิ่งต่างๆ เรียนรู้การใช้ชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
ช่วงบ่ายเป็นการเรียนรู้การเป็นเยาวชนฉือจี้ โดยคุณผงโชว่อี้ได้ร่วมแบ่งปันการที่จะเป็นเยาวชนฉือจี้จะต้องทำอย่าไร และได้นำเรื่องราวของเยาวชนฉือจี้ของแต่ละประเทศมาแบ่งปันแก่นักศึกษา จากนั้นคุณเฉินมี่ฟงได้ร่วมแบ่งปันกิจกรรมที่เยาวชนฉือจี้ทำในแต่ละประเทศ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น
ค่ายอบรมการสร้างแกนนำนักศึกษาจิตตอาสาตามแนวพุทธฉือจี้ดำเนินมาถึงช่วงสุดท้ายของการอบรม อาสาสมัครและนักศึกษาทุกท่านได้รวมพลังกันแสดงภาษามือเกี่ยวกับการสำนึกผิดเพื่อตั้งใจขอขมากรรมต่อสิ่งต่างๆที่ทุกคนทำไม่ดีไว้และเป็นการตั้งสติแห่งปัญญา
ย้อนระลึกถึงวันวาน เป็นการรับชมประมวลภาพกิจกรรมทั้ง 3 วันเพื่อเป็นการย้อนอดีตภาพแห่งความประทับใจที่นักศึกษาได้ร่วมกันทำกิจกรรม สร้างความประทับใจแก่นักศึกษาทุกคน
จากนั้นทุกคนได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อตั้งสติในการดำเนินชีวิตต่อไป อาสาสมัครได้มอบของที่ระลึกการอบรมครั้งนี้แก่นักศึกษาและอาสาสมัครจิตอาสาทุกท่าน
กิจกรรมสุดท้ายในการอบรมครั้งนี้ อาสาสมัครและนักศึกษาทุกท่านได้นำดอกไม้เพื่อสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบิดา (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์)บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ซึ่งทุกท่านให้ความเคารพนับถือ พระราชดำรัสของพระองค์ท่านที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” ก็ยังคงก้องกังวานอยู่ในหัวใจของปวงชนมิรู้คลาย นักศึกษาและอาสาสมัครทุกท่านต่างกก้มกราบพระบิดาด้วยความรักและจะนำพระราชดำรัสของพระองค์ท่านปฏิบัติตลอดไป
ประโยชน์ที่ได้รับได้จากการค่าบอบรมในครั้งนี้ ทำให้เกิดแกนนำอาสาสมัครนักศึกษาตามแนวพุทธฉือจี้ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (จำนวน 20 คน) นักศึกษาเหล่านี้สามารถเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านจิตอาสา และการทำงานในชุมชนต่อไป

บันทึกกิจกรรม : คุณเล็ก

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ภาษาจีน 3 : ชื่อองค์กร ฉือจี้

การเรียกชื่อองค์กร ฉือจี้ในประเทศไทย


分會
มูลนิธิ


本會
สำนักงานใหญ่ไต้หวัน

培訓幹事
หัวหน้าฝ่ายอบรม

活動幹事
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม

精進幹事
หัวหน้าฝ่ายวิริยะ

訪視幹事
ฝ่ายสังคมสงเคราะห์

靜思書軒
ร้านหนังสือจิ้งซือ


南互愛
กลุ่มหนันฮู่อ้าย
กลุ่มกรุงเทพใต้

西互愛
กลุ่มซีฮู่อ้าย
กลุ่มกรุงเทพตะวันตก

東一協力組
กลุ่มเสียลี่ตงอี
กลุ่มกรุงเทพตะวันออกที่ 1

東互愛
กลุ่มตงฮู่อ้าย
กลุ่มกรุงเทพตะวันออก

菩提互愛組
เขตฮู่อ้ายราชบุรี

ภาษาจีน 2 : ชื่อ ชาวฉือจี้

ชาวฉือจี้ ที่มีบทบาทที่มูลนิธิ กว่าร้อยละ 90 เป็นคนไต้หวัน
มีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนกลาง
บางท่านเป็นคนไทย แต่ก็มีชื่อเป็นภาษาจีนกลาง
การได้รู้จักชื่อท่านเป็นภาษาจีนกลาง
ก็ทำให้ รู้จักกันลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
--------------------------------------------------------------------------
ชื่อชาวฉือจี้ ที่ข้าพเจ้าทราบ

陳朝海
คุณเฉินเฉาไห่
ประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย


李建忠
คุณหลี่เจี้ยนจง
รองประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย
อดีตประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย


余建中
คุณยงเกียรติ เกียรติเสริมกุล
ประธาน TIMA สาขาประเทศไทย


廖本堯
คุณเลี่ยวเปิ่นเหยา


邱 CHIU 淑芬 HSUFENG
ชื่อไทย เมตตา แซ่ชิว
ท่านมีชื่อฉายาว่า
慈念
ฉือเนี่ยน
ส่วนฉือเนี่ยน เป็นฉายาที่ท่านธรรมาจารย์ตั้งให้
ฉือ แปลว่าเมตตา
เนี่ยนแปลว่าจิต

ภาษาจีน1

คำพื้นฐานที่ใช้ในประจำวัน

挽才攬 醫院
โรงพยาบาลโพธาราม

手語
ภาษามือ

師姐
ซือเจี่ย

คำเรียก อส.หญิง

師兄
ซือชง
คำเรียน อส.ชาย

感恩
กั่นเอิน
ขอบพระคุณ

證嚴法師
เจิ้งเอี๋ยนฝ่าซือ
( ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน)

上人
ซ่างเหยิน
( ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน)

師父
ซือฟู่
( อาจารย์ )

請合掌
ฉิ่งเหอจั่ง ( พนมมือ )

行問訓禮
สิงเวิ่นซวุ่นหลี่ ( เตรียมตัวไหว้พระ)

問訓
เวิ่นซวุ่น ( ไหว้พระ)

行三問訓禮
สิงซานเวิ่นซวุ่นหลี่ ( ไหว้พระ 3 ครั้ง)

一問訓
อี๋เวิ่นซวุ่น ( ไหว้ครั้งที่ 1)

再問訓
ไจ้เวิ่นซวุ่น ( ไหว้ครั้งที่ 2)

三問訓
ซานเวิ่นซวุ่น( ไหว้ครั้งที่ 3)

請放掌
ฉิ่งฟั่งจั่ง ( ลดมือลง)

阿彌陀佛
อามี่โถโฝ ( อมิตพุทธ)

ภาษาจีนกลาง - ปณิธาน "ศึกษาภาษาจีนต่อเนื่อง"

ภาษาจีนกลาง
เป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่ง
ในการถ่ายทอด ธรรม วัฒนธรรม แนวคิด ต่างๆ จาก
ฉือจี้ ไต้หวัน มาสู่ประเทศไทย

สมัย สมณะเฮี่ยงจาง (พระถังซำจั๋ง)
ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจาก อินเดีย ไปประเทศจีน
ท่านชำนาญภาษาสันสกฤษมาก
เมื่อนำคำภีร์ ไปถึงประเทศจีนท่านก็แปลเป็นภาษาจีน
ใช้เวลาแปล ตลอดชั่วชีวิตของท่านจนท่านมรณภาพ

พระไทยก็เรียนภาษาบาลี
เพื่อที่จะสามารถเข้าใจพระไตรปิฎก
และสามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง
จนมีพระไตรปิฎก ภาษาไทย
สามารถถ่ายทอดมาสู่คนไทยได้ถูกต้อง

ข้าพเจ้าไป ไต้หวัน 3 ครั้ง ต้องอาศัยล่ามแปลตลอด
เห็นว่าภาษาจีนก็เป็น สื่อสำคัญ ในการทำความเข้าใจ
ธรรม และกิจกรรมต่างๆให้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

อาสาสมัครราชบุรี
ก็ควรที่จะเรียนรู้ภาษาเพิ่มอีกหนึ่งภาษา
ก็มีกิจกรรม เรื่องภาษาจีนขึ้น

ที่สำคัญคือให้
พูด ฟัง อ่าน เขียน ได้
จากนั้นก็จะสื่อสาร กันได้สนิทมากขึ้นเรื่อยๆ

ปี 2554
คุณ ปราณี ก็มาสอนภาษามือ และภาษาจีน ทุกเดือน
คุณเมตตา ก็เริ่ม สอนภาษาจีนตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2554
ถึงสิ้นปี 2554 อาสาสมัคร ราชบุรี เราคง รู้ภาษาจีน อย่างน้อย
ก็ 2-300 คำ

ปณิธาน ของ พวกเราคงต้องเพิ่ม
"ศึกษาภาษาจีนต่อเนื่อง"

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ด่วน เลื่อนการออกหน่วยแพทย์ TIMA โรงเรียนพิชัยพัฒนา

เรียนท่านที่เคารพทุกท่าน

ตามที่ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนไปร่วมกันออกหน่วยแพทย์ TIMA
ที่ โรงเรียนพิชัยพัฒนา ในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 นั้น

ด้วยได้รับการแจ้งจาก รร.พิชัยพัฒนาว่า
เนื่องจากมีการเลือกตั้งทั่วไป ในเดือน กค 2554
ทาง กทม สั่งให้ระงับกิจกรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่งานประจำ
รวมถึงงาน TIMA ก็โดนด้วย

ดังนั้น ฝ่ายจัดการกิจกรรม TIMA จึงขอเลื่อนการจัดการออกหน่วย
ไปหลังการเลือกตั้ง วันเวลาแน่นอนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง


เรียนคุณหมอสมบูรณ์

ตามที่เขตตงอีจะทำการตรวจรักษาพยาบาลที่ โรงเรียนพิชัยพัฒนา
เขตบึงกุ่ม กทม. วันที่ 25 /06/2011 นั้น
เขตตงอีได้รับแจ้งจากผอ.พิชัยพัฒนา
ว่าระยะเวลาดังกล่าวใกล้ช่วงของการเลือกตั้งทั่วไป
ทางราชการสั่งการห้ามจัดงานเกี่ยวกับคนหมู่มาก
เพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับกสรเมือง
และคุณครูส่วนมากจะต้องเข้าฝึกเกี่ยวกับการนับคะแนนในหน่วยเลือกตั้งในฐานะกรรมการ
จึงขอเลื่อนวันรักษาพยาบาลเป็นวันที่ 23/07/ 2011
โดยมีรายละเอียดกิจกรรมตามเดิม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนิการ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


สมชาย อนุรักษ์ฤานนท์

งานเปิดตัวจิ้งซืออวี่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๓

โดย อาจารย์เสริมพงษ์ คุณาวงศ์
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตนครสวรรค์


ชาวนครสวรรค์ผู้สนใจกิจกรรมฉือจี้ ๙ คน เดินทางเข้าร่วมงานเปิดตัว หนังสือจิ้งซืออวี่ ฉบับภาษาไทย ที่โรงแรม ดิ อิมเมอรัล เมื่อไปถึงชาวฉือจี้ได้ให้การต้อนรับตั้งแต่ประตูโรงแรมนำพวกเราไปถึงห้องประชุมที่อยู่ชั้น ๓ บรรยากาศ คึกคักเป็นกันเอง ได้พบสมาชิกฉือจี้ที่คุ้นเคยกัน เช่น คุณสุชน คุณสมหวัง คุณส้ม และบางท่านที่เคยพบกันแล้วเช่น คุณสมชาย สมาชิกหลายท่านเคยพบแต่ไม่ทราบชื่อ คุณเรน ผู้ประสานงานของมูลนิธิได้กรุณานำกระบอกออมสินมาให้ตามที่ขอไว้
ระหว่างที่รอเริ่มงาน คณะของเราได้มีโอกาสคุยกับคุณสุชน อ.จุฑารัตน์ อาจารย์วพบ.พระบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ ได้ถามความหมายของข้อความด้านหลังการ์ดภาพจิ้งซือถังสามมิติ คุณสุชนได้กรุณาอธิบายความหมายว่า
• เหรินเหวิน หรือวัฒนธรรมของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ของฉือจี้ คือ การจัดให้ผัสสะที่เกิดขึ้นกับอายตนะทั้ง ๖ นำสู่ความสงบสุข เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาท การใช้วาจา บรรยากาศ เสียง แสง อุณหภูมิ อาหาร ฯลฯ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาฝึกฝน
• คนเราจะอยู่ร่วมกันได้ดีต้อง รู้จักสำนึกคุณกัน ให้เกียรติกัน และมอบความรักให้กัน
• องคประกอบการทำงานของฉือจี้มี ๔ ประการคือ ร่วมใจ ปรองดอง สมานฉันท์ รวมพลัง ไม่มีใครเป็นเจ้านาย ทุกคนสามารถทำงานอย่างเดียวกันได้หมด
• ท่านธรรมาจารย์สอนว่า คนเราจะมีความสุขได้เพราะมีน้ำทิพย์ ๔ ประการ คือ รู้พอ สำนึกคุณ ให้อภัย และรู้ใจเขาใจเรา
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการร่วมงานนี้ คือ ข้อคิดการใช้จิ้งซืออวี่ ซึ่งเป็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ถ่ายทอดสืบต่อมา และท่านธรรมมาจารย์ได้นำมาปรับให้สมสมัย การถ่ายทอดจิ้งซืออวี่ ที่แสดงในVTR สามารถถ่ายทอดผ่านบทเพลง บทละคร งิ้ว การขับร้องเล่าเรื่องแบบพื้นบ้าน จนถึงการเล่นตลก การเขียนจิ้งซืออวี่บทที่ประทับใจติดในที่เห็นได้ง่ายได้บ่อย ช่วยเตือนใจอยู่เสมอ และเป็นการแบ่งปันให้ผู้อื่นได้รับทราบด้วย สิ่งสำคัญที่ท่านธรรมาจารย์ย้ำเตือนหนักหนา คือ ตัวอักษรจิ้งซืออวี่เป็นเพียงหมึกกับกระดาษ ถ้าไม่นำมาปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ พลังของถ้อยคำง่ายๆ ของท่านธรรมาจารย์ ช่วยพลิกชีวิตคนได้เป็นจำนวนมาก หลายคนใช้ถ้อยคำเหล่านี้เป็นแรงดลใจในการทำงาน
มีท่านบาทหลวงคาทอลิกที่ท่านประทับใจในจิ้งซืออวี่ และนำไปปฏิบัติ ท่านพบว่าทำให้ท่านเข้าถึงคำสอนในศาสนาของท่านได้ ดีมาก ระยะแรกท่านใช้หลักการ เปลี่ยนขยะให้เป็นทอง เปลี่ยนทองให้เป็นความรัก แต่ยังไม่เข้าใจว่าจะเปลี่ยนความรักให้เป็นความอบอุ่นได้อย่างไร ต่อเมื่อได้ปฏิบัติผ่านไประยะหนึ่งจึงเข้าใจคำว่าเปลี่ยนความรักให้เป็นความอบอุ่น โรงเรียนรุ่งอรุณ ก็นำข้อคิดจาก จิ้งซืออวี่ไปถ่ายทอดสู่นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ ผ่านบทเรียนต้นกล้าความดี ค่อยๆปลูกความดีในใจของเด็ก สะสมในวิถีชีวิตประจำวัน เด็กๆได้สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ได้น่ารักน่าประทับใจ ครู ผู้ปกครองก็พลอยยินดีที่เด็กมีการพัฒนาจิตใจในทางที่ดี สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมของฉือจี้คือ การเรียนด้วยการปฏิบัติ การเร้ากุศลในใจให้เข้มแข็งจนนำสู่การลงมือทำดีอย่างต่อเนื่อง และพลานุภาพของความรักที่ยิ่งใหญ่ รักของจิตใหญ่ จึงพูดได้ว่า กิจกรรมของฉือจี้คือ พุทธธรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตนั่นเอง

เหตุเกิดที่นครสวรรค์เมื่อ ๗-๘ ก.พ.๒๕๕๓

บันทึกการประชุมฉือจี้เมื่อ ๗-๘ ก.พ. ๒๕๕๓
ที่นครสวรรค์


การประชุมกลุ่มคนนครสวรรค์ผู้สนใจ งานฉือจี้ หลังจากที่มีคนไปดูงานที่ฉือจี้ไต้หวันชุดแรก ( ๑๔-๑๗ ม.ค. ๒๕๕๓ ) การประชุมจัดที่บ้านหมอสมพงษ์ ยูงทอง ริมอุทยานสวรรค์ เวลา ๑๙.๓๐ - ๒๓.๐๐ น. รูปแบบการประชุม เป็นแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue ) มีผู้ร่วมประชุม ๑๕ คน
บรรยากาศการประชุมสบาย เป็นกันเอง เริ่มด้วยการนั่งสงบอยู่กับการรู้ตัว ถัดจากนั้นก็เช็คอิน (Check in ) แนะนำตัวและความรู้สึก / ความคาดหวังในใจต่อการพูดคุยครั้งนี้ หลายคนพูดถึงความเต็มใจที่จะทำงานแบบฉือจี้ หลายคนอยากมาพบ มาฟังคุณกวิชช์พูด การสนทนา ส่วนใหญ่จะฟังคุณกิชช์อธิบายแนวคิด และเรื่องราวของชาวฉือจี้ประเทศไทย มีการแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ ทำให้มองเห็นแนวทางที่จะดำเนินงานของฉือจี้ในนครสวรรค์ได้ สาระสำคัญที่ได้จากการสนทนาคือ
• คนไทยคุ้นเคยกับการเป็นอาสาสมัคร คือทำตามสมัครใจ ชอบก็ไป ไม่ชอบก็ไม่ไป ไมj
สม่ำเสมอ แต่ชาวฉือจี้ เป็นพวกจิตอาสา คือทำด้วยจิตใจมุ่งมั่นแน่วแน่ เพราะตระหนักถึงผลที่ได้คือความปีติในใจ
• ความสุขที่ได้จากการทำกิจกรรมแบบฉือจี้ ใช้คำภาษาจีนว่า ซิ่งฝู แทนคำ เกาซิ่ง ทั้งสอง
คำแปลว่าความสุขเหมือนกัน แต่คำว่าซิ่งฝู ไม่ใช่ความสุขอย่างทั่วไป คำว่าซิ่งมาจากคำ เกาซิ่ง หมายถึงความสุข ความยินดี ฝู หมายถึงบุญวาสนา ความสมบูรณ์ รวมความอาจแปลว่า ความสุขที่เต็มอิ่ม สุขเพราะพบเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นความเป็นมนุษย์ในตัว
• หลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติของชาวฉือจี้ ได้แก่พรหมวิหาร ๔ ซึ่งแปรออกเป็นการ
กระทำ ดังนี้
๑. เมตตา ความรักที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีเงื่อนไข แปรเป็น การสงเคราะห์ผู้ต้องการความช่วยเหลือ โดยเห็นเขาเป็นคนเท่าทียมกับเรา และเป็นผู้มีพระคุณกับเราที่ทำให้เราได้มีโอกาสบำเพ็ญความดี เป็นตัวอย่างให้เราได้ตระหนักถึงความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ กล่อมเกลาจิตใจเราให้นุ่มนวลอ่อนโยน
๒. กรุณา เห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น แปรเป็น การรักษาพยาบาล เกื้อกูลผู้เจ็บป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ ช่วยอย่างต่อเนื่องจนเขาสามารถพึ่งตนเองได้ บางรายก้าวหน้าถึงการเปลี่ยนจิตใจของเขาจนมาเป็นจิตอาสา

๓. มุทิตา ยินดีในความสุข ความสำเร็จของผู้อื่น แปรเป็นการศึกษา เพราะคนจะประสบความสุข ความสำเร็จได้ อาศัยความรู้นำพาให้พึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ การศึกษาจึงเป็นเหตุแห่งมุทิตา
๔. อุเบกขา การปล่อยวาง แปรเป็นการกระจายข่าวสารทางสื่อต่างๆ ปกติคนจีน มีอะไรดีๆมักเก็บหวงเอาไว้ไว้เป็นของๆตน ของพวกตัวเอง ยึดไว้วางไม่ลง การแบ่งปันสิ่งดีๆจึงเป็นการลดการยึดมั่นถือมั่นให้คลายลง (หลักทั้ง ๔นี้ ปัจจุบันปรับเป็น ๘ ภารกิจ)
• การทำกิจกรรมฉือจี้ ควรเริ่มจากเล็กๆใกล้ตัวก่อน แต่ควรทำเป็นกลุ่ม จะไม่เป็นตัวตลก
การรับการบริจาคด้วยการโค้งโน้มต่ำอย่างชาวฉือจี้ อาจจะยังไม่เหมาะในตอนแรก เพราะคนไทยเราจะมีความระแวงเรื่องเงินรับบริจาค และท่าทางของชาวฉือจี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอาจตีความผิดเพี้ยนได้
• การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ของจิตอาสาฉือจี้ จะมีการบันทึกเรื่องราวรายละเอียด สิ่งที่
ชอบ ไม่ชอบของผู้ป่วย เพื่อส่งต่อให้จิตอาสาที่มารับหน้าที่ต่อ ทำให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องราบรื่น บันทึกนี้สำคัญมาก
• การดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย (Palliative care) ควรยกจิตของผู้ป่วยให้เห็นค่าของตัวเองจนเกิดปีติ
จะช่วยให้เขามีโอกาสจากไปด้วยดีมากกว่านำให้เขาวางจิตปล่อยวาง ซึ่งเมื่อภาวการณ์ตายมาถึงอาจกลัว หรือเจ็บปวดได้จะนำให้เขาไปไม่ดี
• การเยี่ยมบ้านเพื่อดูผู้ต้องการความการช่วยเหลือ ให้ทำอย่างเป็นธรรมชาติ เอาความรักที่มี
ต่อเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกันนำไป และมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ เช่น หมอ พยาบาลไปเสริม ไม่ไปหาอย่างเป็นทางการในฐานะแพทย์ พยาบาล ซึ่งมีกรอบของตำแหน่งหน้าที่ มีฐานะที่ดูสูงกว่า
• การให้ความช่วยเหลือ ให้ตั้งเป้าหมายไม่เพียงแต่ช่วยให้เขาพ้นจากความเดือดร้อน
หากแต่ให้เขาได้มีโอกาสพัฒนาจิตใจจนมีจิตของผู้ให้ในตัว ซึ่งบางครั้งก็สามารถเหนี่ยวนำให้เพื่อนบ้านได้ยกจิตใจของเขาขึ้นมาด้วย การเยี่ยมบ้านควรไปอย่างน้อย ๓ คน พูดคุยกับเขา และเพื่อนบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือ ต้องมีการบันทึกภาพเก็บเป็นข้อมูล การบันทึกการสัมภาษณ์ และต้องประชุมจัดการความรู้หลังการเยี่ยมทุกครั้ง การไปเยี่ยมต้องมีความต่อเนื่อง อาจเป็นสัปดาห์ละครั้ง ๒สัปดาห์ครั้ง แล้วแต่ความจำเป็น
• การตั้งกลุ่ม ควรมีการประชุมแบบ Dialogue เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารประสบการณ์ สัปดาห์
ละครั้ง ควรมีการตั้งประธาน รองประธาน เลขา เหรัญญิก ของกลุ่ม มีการจดบันทึก การรับเงินบริจาค ถ้าทำในนามฉือจี้ ต้องมีกรรมการของฉือจี้มาร่วมรับรู้ด้วย
• วันที่ ๒๓ – ๒๖ มี.ค. มีการอบรมฉือจี้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นครสวรรค์ไปร่วม
ด้วย และวันที่ ๒๐ ก.พ. เปิดตัว จิ้งซืออวี่ ฉบับภาษาไทย ที่โรงแรมดิอิเมอรัล อยากชวนให้ไปกับมากๆ
สรุปการทำกิจกรรม เริ่มจากการดูแลให้กำลังใจกับคุณนุ้ย คนอำเภอท่าตะโก ที่มีการกระทำ
แบบชาวฉือจี้อยู่ ทั้งที่ตัวเองก็ประสบเหตุที่มีความทุกข์อยู่ คุณเพียรพร ยูงทอง เป็นผู้ประสานงานเบื้องต้น
ศึกษาความเป็นอยู่ของกลุ่มคนเจ้าของที่ดินที่ขายที่ดินให้มหาวิทยาลัยที่เขา
ทอง ที่อยู่ในกลุ่มที่ฐานะยากจน ว่าเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และวางแผนการเยี่ยมเยือนช่วยเหลือต่อไป

วันที่ ๘ ก.พ. มีการพูดคุยเกี่ยวกับงานของฉือจี้เพิ่มเติม ต่อเนื่องจากวันที่ ๗ สรุปได้ดังนี้
• พื้นที่หลักที่จะทำกิจกรรม จะใช้พื้นที่เขาทอง โดยเริ่มจากเจ้าของที่ดินเดิมที่หมดที่ทำกิน
• การทำงาน จะให้ทีมจิตอาสานครสวรรค์ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนศึกษาความเป็นอยู่ก่อน ๒รอบ
จากนั้นจะประสานให้ ทีมฉือจี้กรุงเทพมาร่วมด้วย เพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานระบบฉือจี้
• จิตอาสา อาจทำงานร่วมกับคลินิกแพทย์แผนไทย ที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะตั้งขึ้นที่เขาทอง
• การดูงานฉือจี้ ที่ไต้หวัน รอบ ๒ มีชุดครอบครัวคุณหมอนุช และอาจารย์มหิดลที่เข้ามา
ใหม่เป็นหลักคาดว่าอาจไปเร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิม ( เดิมประมาณเดือนสิงหาคม )
• การอบรมฉือจี้ วันที่ ๒๓ – ๒๖ มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางนครสวรรค์โดย
มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จะจัดส่งคนไปอบรม อาจารย์ดาริกาเป็นผู้ประสานงาน
• การแต่งกายของจิตอาสาฉือจี้ ทำเพื่อให้ออกจากภาพ หมอ พยาบาล และทำให้เป็นทีม
เดียวกัน ไม่เปรียบเทียบกันในกลุ่ม เครื่องแบบปรับเปลี่ยนตามจำนวนชั่วโมงการทำงานดังนี้
ชั่วโมงที่ ๐ - ๑๐๐ สวมเสื้อกั๊กสีเหลือง
๑๐๐ - ๘๐๐ สวมเสื้อสีเทา กางเกงขาว แต่เปลี่ยนสีบัตรตามฉัพพรรณรังสี * และสีทั้ง ๖
๘๐๐ – ๙๐๐ สวมเสื้อสีน้ำเงิน กางเกงขาว
การนับชั่วโมงการทำงาน นับทั้งชั่วโมงการประชุม การเดินทาง การทำงาน การอบรม รวมถือเป็นเวลาที่สละมาทำงานจิตอาสา

* ฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการคือ ๑.นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒.ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓.โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕.มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง หรือหงอนไก่ ๖.ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

เรื่องเล่าชาววัยใสฯ

ดาริกา ธารบัวสวรรค์

เมื่อวันที่10 – 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา โครงการวัยใสใส่ใจบุพการี ได้จัดการอบรมไป 2 กิจกรรม โดยกิจกรรมที่ 1 เป็นเรื่องเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจผู้สูงอายุ และกิจกรรมที่ 2 เป็นเรื่องผู้อาวุโสคือรากแก้วของครอบครัวและสังคมไทย มีเยาวชนและ อสม. เข้าร่วมโครงการวมทั้งสิ้น 45 คน การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรจากมูลนิธิพุทธ
ฉือจี้ไต้หวัน ในประเทศไทยเป็นวิทยากรหลัก วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อใส่ความรัก ความเมตตาลงในใจเยาวชน การดำเนินการอบรมมีทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ได้แก่ การไปเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ไปเยี่ยมคนชราที่สถานสงเคราะห์คนชรา และที่สำคัญคือกิจกรรมร่มโพธิ์ร่มไทรด้วยการให้เยาวชนป้อนอาหาร และล้างมือและเท้าให้พ่อแม่ ทำให้พ่อแม่ลูกหลายคนถึงกับหลั่งน้ำตา เพราะเพิ่งได้ทำกิจกรรมนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต
เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากการอบรม นอกจากเยาวชนและครอบครัวแล้ว แทบทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ต่างรู้สึกประทับใจและรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในใจตนเอง บางคนได้รับรู้การมีคุณค่าของตนผ่านอ้อมกอดของคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยในชีวิต แม้นแต่แม่ครัวใหญ่ประจำรีสอร์ทสถานที่จัดการอบรมยังเปลี่ยนจากคนชอบดุ เสียงดัง และไม่ยอมลงให้ใคร กลายเป็นคนโอบอ้อมอารี ใส่ใจและดูแลผู้อื่น
ถ้าอยากรู้มากว่านี้ก็ลองตามเรามาค่ะ...................

เสียงสะท้อนจากใจน้อง
เยาวชนหญิง ชั้น ม. 4
กิจกรรมนี้ทำให้เรารู้ว่าพ่อแม่เลี้ยงเรามาจนเติบใหญ่นั้น ท่านไม่เคยหวังอะไรตอบแทนจากเราเลย ในฐานะที่เราเป็นลูกเราควรดูแลเอาใจใส่ท่านมากๆ เวลามีแฟนเรายังบอกรักได้เลย แต่ทำไมพ่อแม่เราจะบอกรักท่านไม่ได้ เวลามีแฟนเราหอมแก้มแฟนได้ แต่ทำไมพ่อแม่ เราถึงหอมแก้มไม่ได้ ทำอาหารให้ท่านทานบ้างดีกว่าทำอาหารแล้วไปวางข้างโลง แล้วต้องเคาะโลงเรียกท่านมาทานข้าว ตัวเราเองแม่เสียไปตั้งนานแล้ว ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะบอกรักแม่ ดูแลแม่ทุกวันเลย

กิจกรรมที่ประทับใจ
สำหรับวันนี้ประทับใจทั้งสามกิจกรรม เพราะเป็นการช่วยเหลือคนที่เราไม่รู้จัก ได้พูดคุยถามสารทุกข์
สุกดิบ ให้ความสุขกับพวกเขาทำให้เรามีรอยยิ้ม โดยเฉพาะสถานสงเคราะห์คนชรา ขณะที่เรานั่งอยู่แล้วเห็นพวกคุณตาคุณยายเดินมา พอเห็นเราพวกท่านก็ดีใจ ปลาบปลื้มใจ เราได้ให้ความสุขกับคุณตาคุณยายทำให้พวกท่านมีความสุข ทำให้ท่านรู้สึกว่าตัวเองนั้นมีค่า เพราะคนชราส่วนใหญ่จะคิดว่าตนเองไม่มีค่า ถ้ามีโอกาสจะไปเยี่ยมคุณตาคุณยายอีก
ตอนที่จะกลับ เดินไปส่งคุณยาย เราเดินเข้าไปในโรงนอน เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของพวกท่านแล้วสงสาร

“ พ่อแม่มีบุญคุณมากมายมหาศาล เราควรดูแลพ่อแม่เหมือนกับที่ท่านดูแลเรามาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่”



รูปภาพแทนความรู้สึกเราทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน



ความคิดเห็นของกระบวนกร
เด็กวัยใสที่พบในค่ายนี้ ถูกฉาบทาด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว กระแสความนิยมในหมู่เพื่อนที่ไหลตามกระแสสื่อที่รับอิทธิพลจากระบบทุนขนาดใหญ่ จนมองไม่เห็นที่ยืนของตนในสังคม ยิ่งเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกันในตัวจังหวัดอาจรู้สึกถึงความด้อยต้อยต่ำชั้น รึเปล่า! เธอจึงแสดงกิริยาอาการบางอย่างที่ทำให้รู้สึกว่า “ทันสมัย” “เป็นตัวของตัวเอง” เพื่อรู้สึกว่าเป็นใครสักคนในสังคม ขณะที่หลายคนพอใจที่จะหยุดคิดค้นหาตัวเอง เพียงปล่อยชะตาชีวิตไหลตามกระแสสังคม ที่จริงแล้ว อาการเช่นนี้พบได้ในทุกที่ ทุกระดับฐานะ ในสังคมไทยปัจจุบัน เพียงต่างกันที่บริบทแวดล้อม และความเข้มข้น ปัญญาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ “เห็น” ความจริง
เมื่อพวกเธอได้รับรู้และประสบกับเรื่องราวต่างๆในค่าย หลายเหตุการณ์สะเทือนความรู้สึก ทำให้หันกลับมามองเห็นเรื่องของตนเองในเรื่องคนอื่น หลายเหตุการณ์เห็นค่าของตนเองที่เป็นผลมาจากการกระทำให้กับผู้อื่น หลายคนอาจจะเริ่มตระหนักถึงความหมายของชีวิตของตน การทำซ้ำในกิจกรรมต่อเนื่อง น่าจะเป็นหนทางที่สร้างการเรียนรู้ที่ดีให้กับคนอีกหลายคนจากค่ายนี้ ผมคิดเช่นนั้น.


ความรู้สึกของคนทำหน้าที่ถอดบทเรียนในโครงการ
ทุกวันนี้เด็กในสังคมไทยของเรามีความเจ็บปวดใจมากมายเหลือเกิน และส่วนใหญ่ผู้ที่สร้างรอยแผลก็คือคนในครอบครัว ระหว่างอบรมต้องแจกยาแก้ปวดหัว แก้ปวดจุกเสียดแน่นท้องให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่เช้าจนพลบค่ำ
ยาที่แจกให้นี้ช่วยให้อาการปวดทุเลาได้เพียงชั่วคราว เพราะอาการปวดจริงๆ น่าจะอยู่ที่ใจ ต้องลงมือนวดเนื้อนวดตัวและโอบกอด จึงช่วยลดยาที่ต้องกินลง แต่อ้อมกอดของคนนอกบ้านฤาจะสำคัญเท่าคนในบ้าน ภาพลูกๆ นั่งอยู่แทบเท้าพ่อแม่และเริ่มป้อนอาหารให้คนที่เคยป้อนอาหารตนมาตั้งแต่เกิด ต่างฝ่ายต่างรู้สึกเก้อเขิน บางคู่ในใจร้องไห้แต่กลับกลบมันด้วยเสียงหัวเราะ ต่อเมื่อเริ่มเช็ดหน้า ล้างมือและเท้าถึงกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เด็กบางส่วนถึงแม้นจะยังมีพ่อแม่อยู่ แต่ทำได้เป็นเพียงผู้ดูพ่อแม่ของเพื่อน ๆ เท่านั้น เด็ก ๆ เหล่านี้เมื่อไปเยี่ยมคนชราที่สถานสงเคราะห์ พวกเขาล้วนเรียกคนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยนี้ว่า “คุณตา คุณยาย” ได้อย่างสนิทสนม และสามารถสวมกอดคนแปลกหน้าเหล่านี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน นับเป็นเรื่องน่าคิดของคนใกล้ตัวและไกลตัวของสังคมไทยเรา

แทนใจน้อง

ค่ายวัยใสใส่ใจบุพการี นครสวรรค์

การเรียนรู้จาก ค่ายวัยใสใส่ใจบุพการี
โครงการสุขแท้ด้วยปัญญา ของเครือข่ายพุทธิกา
๑๐ - ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ สักทองรีสอร์ท นครสวรรค์


อาจารย์เสริมพงษ์ คุณาวงศ์
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตนครสวรรค์


ค่ายวัยใสใส่ใจบุพการี เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยหน่วยงานจัดการความรู้เพื่อชุมชน ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพุทธิกา และมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ในประเทศไทย โดยรับทุนค่าใช้จ่ายจากสำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(ส.ส.ส.) ผ่านมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา ผู้เข้าอบรมเป็นเยาวชนระดับมัธยมจากตำบลเขาทอง และตำบลหนองปลิง (มีระดับประถม ๖ ๓ คน) และอสม.จากเขาทอง ๕ ท่าน เป็นพี่เลี้ยง การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากงานองค์กรเรียนรู้ของท้องถิ่น และงานศึกษาการวางแผนทำผังเมืองในตำบลเขาทอง ของสาขาสถาปัตย์ชุมชน สถาบันอาศรมศิลป์ เข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ด้วย
ค่ายวัยใสฯ เริ่มด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายโครงการที่ต้องการให้เรียนรู้เพื่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนคนรุ่นใหม่กับผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในเขาทอง (๒๔% ?) และผู้ปกครอง เริ่มอบรม ทีมงานฉือจี้ได้พาดูสื่อเตือนใจให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและผลของการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยเรื่องราวของคนในมณฑลกันซู่ ประเทศจีน ก่อนแนะนำภารกิจทั้ง ๘ของฉือจี้ คุณวัชราภรณ์ได้กล่าวถึง ๒ สิ่งที่ท่านธรรมาจารย์ย้ำเตือนเสมอว่ารอไม่ได้ คือ การทำความดี และการแสดงความกตัญญูกตเวที การแนะนำภารกิจทั้ง ๘ ของพุทธฉือจี้ เน้นที่เรื่องราวของครอบครัวบุญคุณ* เรื่องของคุณยายทองสุข อายุ ๘๐กว่าปีที่ตาบอด แต่ก็เลี้ยงดูสมบัติลูกชายปัญญาอ่อนที่ช่วยตัวเองไม่ได้โดยไม่ยอมทอดทิ้ง เรื่องของคุณยายวรรณาที่ปัญญาอ่อน มีลูกปกติแต่ปฏิเสธที่จะดูแล ทำให้เห็นความยิ่งใหญ่ของความรักของแม่ เด็กหลายคนน้ำตาซึมเมื่อได้รู้เห็นเรื่องราว เห็นความพยายามของคนฉือจี้ที่จะช่วยให้ครอบครัวบุญคุณมีความสุขแม่ลูกพี่น้องรักใคร่กัน เห็นวิธีการทำงานที่เกาะติดอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ซึมซับวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่อ่อนโยน ละเอียดอ่อน และรอบคอบ จากนั้น ก็พาให้รู้เรื่องราวของยายน้อย หญิงชราพิการทั้งขาและแขน อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง แต่ไม่ท้อต่อชีวิต รับรู้พลังของการรวมกลุ่มสมาชิกนับร้อยที่เข้าช่วยเหลือทำความสะอาดที่อยู่ของยายน้อย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่น่าชื่นชมของชาวฉือจี้ ถึงจุดนี้ เชื่อว่าเด็กเริ่มเห็นแง่มุมของชีวิตที่ต่างจากเดิม บางคนเริ่มมองย้อนดูเรื่องของตนและคนในชุมชน
การบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศได้นำภาพการช่วยเหลือชาวพม่าเมื่อคราวถูกพายุนากีสเข้าถล่ม เห็นสีหน้าแววตาเด็กๆและผู้คนที่ยินดีอย่างใสซื่อสร้างควมปีติยินดีให้กับผุ้พบเห็น เห็นความพยายามของชาวฉือจี้ และหลักการที่ช่วยอุดหนุนเศรษฐกิจของท้องถิ่นด้วยการซื้อสินค้าในท้องถิ่นช่วยเหลือ ซึ่งจะได้สิ่งของที่เหมาะสมกับผู้ใช้และเป็นการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจด้วย สังเกตเห็นการร่วมมือของคนท้องถิ่นในทีมงานอาสาฉือจี้ด้วย การใช้ภาษามือร้องเพลงร่วมกัน ภาษามือ “ก่านเอิน” สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอบอุ่นมากขึ้น การออกหน่วยรักษาพยาบาล ได้เห็นภาพความร่วมมือของจิตอาสาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หลากหลายอาชีพที่เต็มใจทำงานอย่างตั้งใจ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เด็กๆทึ่งมาก กับเสื้อกรรมการฉือจี้ที่ทำมาจากขวดพลาสติก
รีไซเคิล ข้อมูลการใช้กระดาษ ๕๐ ก.ก. เท่ากับ ต้นไม้อายุ ๒๕ ปี ๑ ต้น แม้เป็นข้อมูลสำคัญแต่ดูเหมือนเด็กๆจะยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับตัวเองว่าควรจะทำอะไร คุณสมชายได้แทรกข้อคิดให้ทำสามความดี คือ ปากพูดแต่สิ่งดีๆ มือทำแต่สิ่งดีๆ และขาเดินไปในทิศทางที่ดี แล้วการอบรมก็ดำเนินมาถึงเรื่องของหญิงชาวจีน แม่ของเด็กหญิง ๒ คน ที่ประสบอุบัติเหตุทางสมองช่วยตัวเองไม่ได้ สามีต้องออกจากงานมาดูแลภรรยา ลูกน้อยสองคนต้องอยู่โดยลำพังเป็นส่วนใหญ่ เด็กๆเรียนรู้ความไม่แน่นอนของชีวิตความเจ็บป่วยเป็นภาระต่อครอบครัว ภาพห้องของลูกๆตอนที่ชาวฉือจี้ไปเยี่ยมครอบครัวนี้ครั้งแรก สร้างเสียงฮือฮาให้กับห้องประชุม เพราะรกเลอะมาก การช่วยเหลือที่มุ่งสอนให้เด็กช่วยตัวเองเป็นหลัก ตอกย้ำหลักการช่วยคนของชาวฉือจี้ที่ต้องอาศัยความอดทน ความต่อเนื่อง และสร้างผลกระทบต่อคนรอบข้าง สังคม ซึ่งในกรณีนี้ ลูกทั้งสองหลังจากเรียนรู้ที่จะพึ่งตัวเองได้แล้ว ยังสามารถไปปลอบโยน ให้กำลังใจแม่ได้ ทำให้แม่คลายความทุกข์กังวลฟื้นจากการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น ทำให้นึกถึงนิทานอีสบเรื่องราชสีห์กับหนู
การออกเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เด็กๆได้ฝึกพูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย และได้ร้องเพลงครอบครัวเดียวกันประกอบภาษามือให้ผู้ป่วยด้วย ส่วนใหญ่เด็กยังแสดงออกอย่างขัดๆเขินๆเพราะยังไม่เคยทำ จากการสังเกตประสบการณ์นี้น่าจะกระทบใจเด็กหลายคนให้นึกถึงเรื่องของตนเอง กิจกรรมต่อด้วยการเยี่ยมผู้สูงอายุในนิคมคนชราเขาบ่อแก้ว ที่นั่น เด็กๆได้สัมผัสบีบนวด พูดคุยกับผู้สูงอายุตัวต่อตัว ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่สนิทสนมไหลลื่นดีมาก จะมีก็แต่ผู้สูงอายุชายที่ส่วนใหญ่จะมีเรื่องพูดคุยน้อยกว่า และการสัมผัสก็มีอุปสรรคเรื่องต่างเพศ มีการร้องเพลงประกอบภาษามือครอบครัวเดียวกัน และเพลงแม่จ๋า พลังที่ส่งให้สร้างน้ำตาของความปีติไหลนองหน้าแทบทุกคน ช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตและให้ข้อคิดกับเด็กๆเป็นช่วงที่ดีมาก ท่านได้กรุณาเล่าสาระสำคัญของชีวิตจากประสบการณ์ท่าน ทำให้ผมเกิดมุมมองใหม่ว่า ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีค่า อยู่ที่เราจะสามารถเข้าใจคุณค่าที่ท่านมีอยู่มากน้อยเพียงใด กับเด็กๆเขาได้เห็นคุณค่าของตนเองว่าสามารถที่จะให้ความสุขแก่ผู้อื่นได้ ได้เรียนรู้เรื่องราวดีๆที่ทำให้เข้าใจชีวิตตนเอง และนำมาให้ในชีวิตของตนเองได้ ช่วงแบ่งปันประสบการณ์เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลบริบาลก็เป็นช่วงที่ประทับใจ ที่สร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพนี้ให้กับเด็ก กิจกรรมสุดท้ายของวัน เด็กส่วนหนึ่งได้มีโอกาสป้อนอาหารให้บุพการีของตนที่มาร่วมงาน ช่วงแรกๆ คุณพ่อบางคนเสแสร้งหัวเราะทำตลกกลบเกลื่อน แต่ตอนท้ายก็ต้องหลั่งน้ำตาให้กับความปลื้มปีติ เด็กหลายคนรับว่า เพิ่งได้กอดพ่อเป็นครั้งแรก เหตุการณ์นี้สร้างความตื้นตันใจให้กับทุกคน
วันรุ่งขึ้นมีการตั้งท้องสมมุติถึงบ่าย โดยใส่ลูกโป่งในเสื้อ สังเกตดูเด็กไม่ได้เรียนรู้อย่างที่ต้องการมากนัก การเรียนตอนเช้าเป็นประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเขาทองที่มีต่อผู้สูงอายุ เนื้อหาจะเป็นเรื่ององค์ความรู้ด้านเทคนิคเป็นส่วนใหญ่ ก่อนพักเที่ยง เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์กระบวนการพูดคุยกับผู้ป่วยมะเร็งมิตรภาพบำบัด วิทยากรเลือกวิธีให้เด็กสัมผัสกระบวนการด้วยตัวเองด้วยการสงบอยู่กับตัวเอง และแบ่งปันเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวของตน ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยนำมาพูดคุยเสมอ วงสนทนาและการสะท้อนการเรียนรู้แสดงผลของกระบวนการอบรมที่ดำเนินมาแต่ต้น เกิดการมองย้อนทบทวนตนเองได้ชัดขึ้น ตอนบ่าย เรียนรู้ความรัก ความยากลำบากของแม่ก่อนคลอดท้องสมมุติ ตามด้วยกิจกรรมนันทนาการ และเขียนสะท้อนการเรียนรู้ เป็นการสิ้นสุดกิจกรรมที่ ๑
ช่วงเย็น เป็นกิจกรรมที่ ๒ ผู้อาวุโสคือรากแก้วของครอบครัวและสังคมไทย เริ่มด้วยกิจกรรม โยงใยชีวิต และสะท้อนการเรียนรู้ จะได้ข้อคิดเรื่องความสามัคคี การเชื่อมโยงของปัญหา ความอดทนเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา จากนั้นก็ถึงเวลาของการสงบคิด วาดความฝันของแต่ละคนด้วยสีชอล์ก และแบ่งปันเรื่องราวของทุกคนท่ามกลางแสงเทียน เลียนแบบประสบการณ์การสนทนายามค่ำของบรรพบุรุษ ความฝันของแต่ละคนที่อยากทำเพื่อคนอื่นถูกถ่ายทอดจากความรู้สึกที่แท้ของแต่ละคน หลอมรวมเป็นความฝันร่วมกัน
เช้าวันสุดท้าย เริ่มด้วยเสวนา หัวข้อ ผู้สูงอายุคือรากแก้วของครอบครัวและสังคมโดยผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานกับผู้สูงอายุ และให้เยาวชนแบ่งปันความคิดเห็นที่มีต่อผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเห็นควรว่าน่าจะสนใจดูแลช่วยเหลือตามกำลังตน ช่วงบ่าย มีการแบ่งกลุ่มคนตามท้องถิ่นที่อยู่ ๕ กลุ่ม วาดฝันของกลุ่มร่วมกัน และนำเสนอมีการคิดทำกิจกรรมน่าสนใจและเป็นไปได้ ซึ่งได้มีการเตรียมการติดตามความคืบหน้าต่อไป

ไปพุทธฉือจี้ ไต้หวัน

เล่าโดย
อาจารย์ เสริมพงษ์ คุณาวงศ์
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตนครวรรค์


สืบเนื่องจาก การไปดูงานพุทธฉือจี้ที่ไต้หวัน ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 14-17 ม.ค. 2553 โดยเน้นที่โรงพยาบาลทั้งการออกแบบ การจัดการ ระบบจิตอาสาแนวฉือจี้ และการจัดการขยะรีไซเคิลทั้งในโรงพยาบาลและภายนอก คณะที่ไปประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตฯ อาจารย์มหาวิทยาลัย 2 ท่าน แพทย์ 2 ท่าน พยาบาลวิชาชีพ 6 ท่าน และนักการศึกษา 1 ท่าน รวม 12 ท่าน การดูงานครั้งนี้ ผมมีความรู้สึกความคิดหลายประการ อยากแบ่งปันให้เพื่อนๆได้รับรู้
ในการดูงานที่ไต้หวัน จะมีสมาชิกฉือจี้มาต้อนรับดูแลตลอดเวลา หนึ่งในผู้มาดูแลที่พวกเราประทับใจมากท่านหนึ่ง เป็นสมาชิกอาวุโสอายุ 73 ปี ท่านเป็นสมาชิกฉีอจี้กว่า 20 ปีแล้ว ท่านเรียกตัวเองว่า สุ่ยมามา สุ่ยมามา บอกว่าคนฉือจี้ หน้ายิ้ม ปากหวาน ดวงตาสดใส ตัวอ่อนโน้มลงง่าย สองมือว่องไว เคลื่อนไหวนิ่มนวล ทำให้เห็นว่าชาวฉือจี้ฝึกกายภายนอกสู่ใจภายใน เมื่อฝึกนานเข้า ใจภายในจะแสดงออกสู่กายภายนอกเป็นธรรมชาติ ท่านเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ และชาวฉือจี้ตั้งแต่สมัยแรกๆ ทำให้มองเห็นปัจจัยความเป็นไปจนก่อให้เกิดวันนี้ชัดขึ้น ช่วยให้มีกำลังใจทำความดี เห็นระบบแม่ไก่ของฉือจี้ที่ใส่ใจฟูมฟัก สมาชิกรุ่นหลังด้วยความรักและไมตรีอันอบอุ่น สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน ที่ดึงดูดคนให้เข้ามา จากน้ำหยดน้อยมารวมกันเป็นธารน้ำใหญ่ที่ทรงพลัง สามารถรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ได้ สร้างปีติสุขแก่ผู้คน เป็นเสน่ห์ที่ชวนให้หวนหาอยากเข้าร่วมงาน
การใช้ภาษามือเป็นการฝึกฝนให้กาย วาจา ใจ เป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ คำพูดคือความคิดส่งพร้อมกับการเคลื่อนมือ 3 ส่วนหลอมเป็นหนึ่งในขณะเดียวกัน ถ้าขณะนั้นอารมณ์ความรู้สึกตรงกับสารที่ส่งไป พลังของการสื่อความจะชัดแรง ทรงพลัง
การใช้ภาชนะใส่อาหาร ตะเกียบ ช้อน ถ้วยน้ำส่วนตัว แม้ไม่เห็นเหตุผลชัดนักว่า เป็นเหตุผลเรื่องสุขภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการฝึกตนเอง แต่ก็ชวนให้นึกถึง การกินข้าวในกะละมังของชาวสันติอโศก และการพกช้อนส้อมติดตัวของพระสงฆ์ไทยสมัยก่อน สำหรับผมการทำเช่นนี้เป็นเครื่องเตือนตัวเอง ให้นึกถึงสิ่งแวดล้อม คุณค่าอาหาร และสำรวมการกิน
การเยี่ยมชมศาลาจิ้งซือ จากสระบัวที่สงบเย็น นำสู่เรื่องราวดีๆของชาวฉือจี้ ห้องโถงที่ประชุมที่สง่างาม สงบ การออกแบบที่นั่งที่สะท้อนปัญญาอันละเอียดอ่อน สมคำ “จิ้งซือ” ที่แปลหยาบๆว่า ปัญญาที่เกิดจากความสงบ ได้รับรู้ความตั้งใจดูแลของชาวฉือจี้ แม้เพิ่งพบกันก็สังเกตได้สัมผัสได้ถึงความใส่ใจอันอบอุ่น
ที่โรงพยาบาลฮวาเหลียนฉือจี้ เห็นความละเอียดอ่อนในการจัดการสุขอนามัย เช่นก๊อกน้ำที่เปิดปิดน้ำโดยใช้ที่เหยียบ การออกแบบถังใส่ขยะ ใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ประโยชน์ชัดเจน การจัดการแยกขยะตั้งแต่ต้นโดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นสำคัญ การจัดการที่มีระเบียบที่ชัดเจนมีเหตุผลทำให้เห็นคุณค่าของการมีวินัย

2

ที่มหาวิทยาลัยฉือจี้ การรับรู้เรื่องราวของบรมครูผู้ไร้เสียง แม้รู้เรื่องราวการปฏิบัติต่ออาจารย์ใหญ่มาแล้ว แต่สิ่งที่สัมผัสได้ขณะที่เยี่ยมชมคือ จิตใหญ่ที่ยินดีเสียสละสิ่งที่รักและหวงแหนให้กับคนที่รู้คุณค่า เพื่อสร้างประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ต่อผู้อื่น ความกตัญญูรู้คุณในใจของแพทย์ ที่ก่อเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับญาติอาจารย์ใหญ่ ได้เห็นความรักความอาลัยผู้ที่จากไป แต่ก็ยังยินดีสละร่างกายให้เป็นเครื่องศึกษาให้ตนได้มีความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแพทย์ในไทยเราเรายังต้องพัฒนาอีกมาก
ที่ห้องพิธีชงชา สัมผัสเสียงกู่เจิ้งชวนให้วางเรื่องราวที่เพิ่งผ่านมาลง ได้เห็นอากัปกิริยาน้ำเสียง การพูดจาของท่านอาจารย์ที่เป็นภรรยาของท่านอธิการบดี ที่ท่านบรรยายเรื่องราวการชงชาแสดงผลการฝึกฝนจากภายในใจ สะท้อนออกมาเป็นกิริยาท่าทางภายนอก เป็นความสงบ สง่างาม อ่อนโยน นิ่มนวล ทำให้เกิดความชื่นชมประทับใจ การสาธิตพิธีการชงชาที่มีขั้นตอนที่พิถีพิถัน ละเอียดอ่อน น่าจะมีหลักวิชาแฝงอยู่มาก หากดูเพียงหยาบๆ น่าจะเป็นการฝึกจิตไม่ให้เป็นอิสระเผอเรอ ดูไปน่าจะเหมือนการฝึกมวยไทจี๋ฉวนที่มี 3 ขั้น คือ สิง(sing) ฝึกท่าทางให้ถูกต้อง อี้(yi) กำกับความคิดให้ถูกทาง พัฒนาจนเป็น เสิน((shen) เกิดปัญญาหยั่งรู้ผุดขึ้นมาเป็นธรรมชาติ เป็นการฝึกจิตที่เปรียบเหมือนฝึกลิงที่ไม่อยู่สุขให้เปลี่ยนเป็นม้าที่ใช้งานได้ มีพละกำลังมาก (เลี่ยนซินเปี้ยนอี้) ท่านอาจารย์ที่สาธิตชงชา ก็มีไมตรีที่อบอุ่นมาก ท่านยังกรุณามอบขนมที่แสนอร่อยให้พวกเราทุกคน
การเยี่ยมสมณรามจิ้งซือ อารามนักบวชที่ท่านธรรมาจารย์และพระภิกษุณีพำนักอยู่มา 40 ปีมีการก่อสร้างเพิ่มเติม 15 ครั้ง ท่านพาดูเเณรน้อยหินสลักนอนหนุนบักฮื้อ(ที่ใช้เคาะประกอบการสวดมนต์จีน ทำจากไม้เป็นรูปปลา)หลับตาพริ้มอย่างมีความสุข ท่านเตือนใจไม่ให้ประมาทในการปฏิบัติตน อย่าหยุดเพียงแค่สงบอย่างหลับไหล
เห็นผู้คนทั้งเด็กและคนชรา ช่วยกันบรรจุอาหารสำเร็จรูป เพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้คนที่ประสบภัยในไฮติ ด้วยความกรุณาที่อุ่นระอุไอแห่งความรัก ประกอบการพิจารณาตรึกตรองด้วยปัญญา นำสู่การลงมือที่ละเอียดประณีตว่องไวทันการ จนถึงการมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้อื่นอย่างอ่อนน้อมสำนึกบุญคุณ
เห็นภาพท่านธรรมาจารย์ กับคนพิการ 3 คนกับสามล้อคันหนึ่ง คนหนึ่งตาดีขาเสียควบคุม
รถ คนขาดีแต่ตาบอดคอยถีบรถ คนที่สามทั้งตาไม่ดีขาก็เสียแต่มือใช้การได้ สามคนรวมกันสามารถทำความดีได้ ทำให้เห็นว่าการเกื้อกูลกันของผู้คน ที่ยอมรับในข้อด้อยที่พร่องของตนและยินดีรับการเสริมชดเชยจุดด้อยของตนจากผู้อื่นก็สามารถทำความดี โดยไม่มัวมาท้อกับความพิการ
การเห็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างถึงที่สุด ทำให้นึกถึงการใช้จีวรที่พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสแก่พระอานนท์ และเรื่องการเป็นเศรษฐีที่เริ่มต้นจากการใช้ประโยชน์จากซากหนูตายในเรื่องชาดก เตือนให้สังวรระวังการใช้สิ่งของ


3

การได้รับอาหารที่ปรุงโดยภิกษุณี ปรุงพิเศษเพื่อถูกปากคนไทย สะเทือนความรู้สึกในใจว่า เราทำความดีอะไรที่สมควรจะได้รับอาหารนี้หรือยัง เราได้ใช้สังขารร่างกายนี้ยังประโยชน์แก่โลกบ้างหรือเปล่า ได้เห็นการทำเทียนไข โรงงานแปรรูปอาหารเล็กๆ โรงงานทำเซรามิคที่ระลึกเล็กๆเพื่อขายในร้านเครือข่าย สร้างรายได้มาใช้จ่ายในงานของมูลนิธิ ไม่ขายให้ร้านค้าภายนอกบางส่วนทำไว้แจกเพื่อช่วยเหลือคน เป็นการพึ่งตัวเองโดยไม่เบียดเบียนรุกรานใคร มีแต่ให้ ไม่นำออกขายแข่งผู้อื่น
บรรยากาศที่โรงพยาบาลซินเตี้ยนฉือจี้ รู้สึกสบาย สงบ มีการจรรโลงใจให้มีความสุขด้วยเสียงดนตรี และงานศิลปะจากอาสาสมัคร ทุกวันเสาร์ผู้ป่วยและญาติจะได้รับเชิญร่วมงานเลี้ยงน้ำชากับหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ มีโอกาสพูดคุยสนทนากัน มีการแสดงของแพทย์และพยาบาลเพื่อให้เห็นว่าหมอพยาบาลก็เป็นคนธรรมดาทั่วไป ที่จิ้งซือบุ๊คชอพ จับได้คำสอนท่านธรรมาจารย์ที่ “โดน” ใจ ให้มุ่งมั่นเดินหน้าอย่ามัวลังเล ตอกย้ำคำเตือนจากเณรน้อย
สถานีรีไซเคิล ดูสะอาดเป็นระเบียบ น่าชมประสิทธิภาพในการจัดการ ที่สถานีโทรทัศน์ ต้าอ้าย ได้ฟังเรื่องเล่าจากประธานฉือจี้ประเทศแคนาดา เรื่องการสร้างการยอมรับด้วยการสร้างความดีแบบฉือจี้ เช่นที่แคนาดา เมื่อชาวจีนและชาวตะวันออกที่ได้สิทธิเป็นพลเมืองเข้าไปอยู่จะไม่ได้รับการต้อนรับ ท่านจึงชวนให้ปฏิบัติตัวแบบชาวฉือจี้ด้วยการสละเงินสละเวลาออกช่วยคนที่ขาดแคลนพึ่งตัวเองไม่ได้ หลังจากการออกปฏิบัติการต่อเนื่องระยะหนึ่ง สถานการณ์ทุกอย่างก็ดีขึ้น ผู้คนที่ฉือจี้ให้ความช่วยเหลือบอกว่า ฉือจี้ไม่เหมือนองค์กรการกุศลอื่นๆที่มาช่วยเขา ตรงที่มาช่วยเขาแล้วยังขอบคุณเขาอีกด้วย ทำให้เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า ศักดิ์ศรีความเป็นคนกลับคืนมาทำให้อยากทำดี ผลงานของชาวฉือจี้ที่แคนาดาทำให้นายกเทศมนตรีเมืองแวนคูเวอร์ มาออกปากบอกท่านธรรมาจารย์เมื่อครั้งมาเยี่ยมฉือจี้ ไต้หวันว่า “โชคดีที่เมืองแวนคูเวอร์มีชาวฉือจี้” กรณีการช่วยเหลือชาวจีนที่มณฑลอันฮุย คำพูดของผู้ว่าการมณฑลก็สะเทือนความรู้สึกผมมาก ที่ว่า “ถ้าแผ่นดินใหญ่ต้องรบกับไต้หวัน จะไม่มีทหารจากมณฑลอันฮุยไปออกรบ แม้แต่คนเดียว” ทำให้รู้สึกว่า การกระทำด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่ผ่านการฝึกฝนหล่อหลอมตนเองจนชัดเจน สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้ จนเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น ผมมั่นใจว่าสิ่งมหัศจรรย์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ในทุกแห่งของโลก ตราบเท่าที่มีพลังแห่งศรัทธาในความรักที่ไม่มีเงื่อนไข และความมุ่งมั่นที่จะลงมือกระทำ ที่สำคัญเรามีเพื่อน มีเส้นทางที่เคยเดิน เป็นเครื่องมือช่วยให้เดินหน้าได้เร็วขึ้น สิ่งที่ต้องทำคือ “เริ่มทันที”

เมื่อฉือจี้เดินธรรมยาตราศรัทธาแห่งสายน้ำ

อาจารย์ เสริมพงษ์ คุณาวงศ์
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตนครสวรรค์


เมื่อคณะธรรมยาตราศรัทธาแห่งสายน้ำ คณะบุคคลที่มุ่งมั่นที่จะกระตุ้นให้ผู้คนหันกลับมาดูแลสายน้ำให้กลับมามีชีวิตใหม่ ด้วยการเดินเท้าจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำที่จ.สมุทรปราการ โดยเริ่มต้นเดินจากบ้านเจียจัน ติดชายแดนพม่าต้นกำเนิดสายน้ำปิงที่ไหลต่อมาจากพม่า ในจ.เชียงใหม่ เดินทางมาเดือนครึ่งถึงนครสวรรค์ ตอนกลางของสายน้ำแม่ปิง ได้พักทำกิจกรรมธรรมยาตรา ณ สี่แควขึ้นที่บ้านพักป่าไม้เขต ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่ ๘- ๑๐ ม.ค. ๒๕๕๔ ผมเสนอตัวเข้าร่วมทีมงานในฐานะจิตอาสาฉือจี้ เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมภาวนาเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของสายน้ำ และเป็นโอกาสที่จะได้บำเพ็ญกิจของอาสาสมัครฉือจี้ และเรียนรู้การคัดแยกขยะกับทีมคุณเดช ซึ่งได้ปรึกษาคุณสมชาย (สมชายซือชง) ขออนุญาตเข้าร่วมกิจกรรมในนามฉือจี้ และนำถ้วยน้ำฉือจี้มาบริการขายในงานเพื่อลดการใช้ถ้วยน้ำใช้แล้วทิ้ง
๖ โมงเช้าเรารวมตัวกัน และเดินเป็นขบวนรอบหนองสมบุญ และตลาดปากน้ำโพ ผมขอถือธงธรรมจักรด้วยใจที่ปรารถนาจะจรรโลงพระศาสนา ระหว่างเดินนึกถึง คำพูดของพระภิกษุณีฉือจี้ ท่านให้นึกว่า แผ่นดินนี้คือแม่ผู้ให้กำเหนิดและหล่อเลี้ยงเรามา ให้เดินเบาๆอย่าให้แม่ชอกช้ำ เดินๆไปก็นึกถึงเนื้อเพลงชีวิตคือเซนที่ว่า “เดินเบาๆ ยืนตัวตรง นั่งมั่นคง นอนคันศร” ผู้คนที่พบเห็นขบวนเดินผ่านเหลียวดู บ้างก็ถามว่าเดินทำไม บ้างก็ขอมาถวายของให้พระ เราเดินจนถึง ๗ โมงครึ่งจึงหยุดพักรับอาหารว่างและตั้งวงพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์การเดินธรรมยาตรากัน จากนั้นเดินรอบตลาดจนถึงเวลา ๑๐ โมงครึ่ง แล้วทำกิจกรรมต่างๆ มีคนพูดถึงคำพูดของหลวงพ่อคำเขียนว่า “เราเป็นตัวแทนของภูเขา ป่าไม้ สายน้ำ และแผ่นดินมาเตือนใจให้คนเคารพธรรมชาติ และอยู่อย่างเกื้อกูลกัน” พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล พูดถึงธรรมยาตราไม่เพียงเป็นการเดินเพื่อทำให้เกิดการใส่ใจธรรมชาติ หากยังเป็นการเดินเพื่อฝึกตนเอง เพื่อเปลี่ยนตัวเอง การเดินด้วยการสำนึกคุณของสายน้ำ ก็เป็นเรื่องของความกตัญญูกตเวที การเดินอย่างรู้ตัวก็เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ เป็นธรรมนำให้เกิดกุศลธรรมในตัวเอง ในการสนทนาอีกวงหนึ่งท่านอาจารย์ได้พูดถึงงานศึกษาวิจัยที่ทำกับประเทศที่เจริญแล้ว พบว่าประเทศที่เคารพธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดี มนุษย์กับธรรมชาติอยู่อย่างเกื้อกูลกัน จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์กันดี ไม่เบียดเบียนกดขี่กัน จำนวนอาชญากรรมไม่สูง ส่วนประเทศที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม จะมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูง มีการเอารัดเอาเปรียบกันมาก อาชญากรรมสูง ทำให้เห็นคุณค่าความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
มีรายการเวทีสาธารณะ สนใจมาจัดวงสนทนาเพื่อออกอากาศโทรทัศน์ทีวีไทยช่อง ๖ มีการพูดถึงแรงบันดาลใจที่คนจากที่ต่างๆที่มารวมกันทำกิจกรรมนี้ เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์งดงาม เกื้อกูลชีวิตให้มีความสุข ของสายน้ำในอดีตที่ให้ทั้งความสดชื่นสนุกสนาน และอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เมื่อสายน้ำเจ็บป่วยจากความโลภ การแยกขาดความสัมพันธ์ที่เป็นจริงของผู้คน จนมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนน้ำใช้ในอนาคตซึ่งทางเลือกวิธีแก้ไข อาจผันน้ำจากเพื่อนบ้านมาใช้แทนที่จะลดการบริโภคส่วนที่ไม่จำเป็น จึงเป็นเหตุให้เกิดกิจกรรม “ธรรมยาตราศรัทธาแห่งสายน้ำ” ขึ้น
เมื่อมีคำถามว่า การเดินจะมีผลต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างไร อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ตอบว่าการเดินมุ่งผลที่ตัวเองเป็นสำคัญ ทุกก้าวย่างตั้งเจตนาที่เป็นกุศลโดยไม่คิดบีบคั้นทั้งตนเองและผู้อื่นให้เห็นตาม หรือทำตาม เพียงแต่เชื่อว่าพลังของการแสดงความมุ่งมั่นอย่างบริสุทธิ์ใจ จะส่งผลต่อผู้ที่พบเห็นพูดคุยด้วย ไม่มากก็น้อยตามบริบทของคนผู้นั้น ต่อคำถามว่า ทำได้ผลทีละน้อยอย่างนี้เมื่อไรจะเกิดผลต่อคนที่ใช้น้ำนับล้านคนอย่างไร อาจารย์ตอบว่า พระพุทธศาสนาก็เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวก่อน ที่จะมีคนนับถือพระพุทธศาสนาหลายร้อยล้านคนในเวลานี้
การขายถ้วยน้ำฉือจี้ ผู้จัดการขายเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อรายได้มาจัดงาน ได้ให้ความกรุณาขายน้ำให้กับผู้ซื้อถ้วยฉือจี้ ถ้วยน้ำรักธรรมชาติ ในราคาเพียงบาทเดียว และเติมได้ครั้งละบาทตลอดงาน ช่วยให้คนสนใจซื้อกันใช้มาก กิจกรรมจัดการขยะ มีการตั้งจุดบริการคัดแยกขยะด้วยตัวเองทั่วบริเวณงาน และนำมารวมกันทุกวันเพื่อให้ผู้เข้าชมงาน และทีมงานเห็นปริมาณขยะที่ได้มีส่วนทำให้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา ๓ วัน กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือดีพอสมควร แต่ขยะกึ่งเปียกเช่น ถุงที่เปื้อนน้ำจิ้ม กล่องUHT ที่ควรจะล้างในภาชนะที่เตรียมให้ก่อนทิ้งในถังขยะรีไซเคิล ยังไม่ค่อยมีผู้ทำ ต้องเป็นภาระของทีมงาน ที่น่าทึ่งคือ ขยะย่อยสลายได้ ได้แก่เศษอาหารต่างๆเมื่อโปรย “โบกาฉิ” ทับสลับชั้นกับเศษอาหาร กลิ่นเหม็นลดทันที และกองรวมที่สะสม ๓ วันมีอุณหภูมิสูงขึ้น แสดงผลการทำงานของจุลินทรีย์ เมื่อหมดงานก็เกลี่ยไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ในบริเวณที่จัดงานเพื่อเป็นปุ๋ย จบงานปริมาณขยะย่อยสลายได้กับขยะรีไซเคิล(ถ้ากดให้ยุบตัว) จะมากที่สุด มีใกล้เคียงกัน ขยะมีพิษไม่มี ขยะไม่สามารถรีไซเคิลมีน้อยมากน่าจะประมาณ ไม่เกิน ๓% ของขยะทั้งหมด แต่น่าเสียดายที่พลาสติคประเภทฟิล์ม ได้แก่ ถุงชนิดต่างๆ หาผู้รับซื้อไม่ได้จึงต้องให้เป็นภาระของเทศบาลพร้อมกับขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ ผลที่เกิดนี้ทำให้คุณเดช ซึ่งเป็นทั้งวิศวกรและช่าง เกิดแรงบันดาลใจที่จะคิดค้นเครื่องจักรอย่างง่ายๆ ที่จะแปรสภาพฟิล์มพลาสติกเป็นเม็ดเพื่อให้โรงงานรับซื้อต่อไป งานนี้มีผู้ได้แรงบันดาลใจหลายอย่าง มีท่านหนึ่งเป็นพยาบาลเห็นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าทำให้นึกถึงแม่ที่อาศัยอยู่ริมน้ำตกน้ำขึ้นมาใช้ ใช้น้ำประหยัดและคุ้มค่ามาก เธอบอกว่าจะไปแยกขยะที่วอร์ดไม่ว่าใครจะทำด้วยหรือไม่ก็ตาม อีกท่านหนึ่ง เสนอเป็นผู้ประสานงานเชื่อมต่อกับองค์กรปกครองในท้องถิ่น เพื่อส่งต่อความรู้และกิจกรรมคัดแยกวัสดุนี้เข้าสู่โรงเรียนต่อไป
การเรียนรู้ครั้งนี้มีมากมาย และส่งผลหลายอย่างที่คาดไม่ถึง ที่สำคัญคือ ทำให้เกิดทั้งความสุขใจ และพลัง ที่จะเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างสิ่งดีงาม อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย หวังว่ากิจกรรมลักษณะนี้อาจเป็นการก้าวของฉือจี้ ในประเทศไทยที่จะมามีบทบาทในกลุ่มกิจกรรมอื่นที่มีแนวทางที่สอดคล้องกันได้ สู่ความเป็นครอบครัวเดียวกัน

ท้ายที่สุดนี้ ขอคัดลอกคำภาวนาที่กลุ่มธรรมยาตรา ใช้ภาวนาก่อนออกเดินทุกวัน

“ ทุกย่างก้าวในวันนี้ เราจะเดินด้วยความสงบ
อย่างมีสติ เพื่อสันติสุขในใจเรา
และเพื่อระลึกรู้บุญคุณ ของผืนดิน ป่าไม้ และสายน้ำ
ที่ช่วยหล่อเลี้ยงและเกื้อกูล ชีวิตของเรา
เราจะเปิดใจรับรู้ทุกข์สุข ของสรรพชีวิต
ด้วยความอ่อนโยน และนอบน้อมต่อธรรมชาติ
ตามรายทางเบื้องหน้านี้
ขอสรรพชีวิต จงเป็นสุข ปลอดพ้นจากภัยทั้งปวง
ขอให้ทุกชีวิต เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
อยู่อย่างบรรสานสอดคล้อง ด้วยเมตตาต่อกัน
ขอให้บุญกุศล ที่เราพร้อมใจบำเพ็ญในวันนี้
จงเป็นพลวปัจจัย ให้สันติสุขบังเกิดขึ้น บนแผ่นดินนี้
ขอความบริสุทธิ์สดใส จงคืนสู่แม่น้ำเจ้าพระยา อย่างยั่งยืนยาวนานตลอดไป”.

จิตอาสาฉือจี้ในมุมมองของพยาบาลคนหนึ่ง




โดย
คุณเพียรพร ยูงทอง
วทม.สาขาการเจริญพันธ์และประชากร
PCU วัดช่องคีรีศรีสิทธิวราราม
รพ.นครสวรรค์


คำถามที่มักจะได้ยินอยู่เสมอเมื่อได้รับรู้เกี่ยวกับฉือจี้ รู้สึกอย่างไรบ้าง? บางคนก็สงสัยว่าเป็นลัทธิอะไรหรือเปล่า? ทำไมต้องทำอย่างฉือจี้? ของไทยเราก็ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ ทำไมจะต้องก้มมากขนาดนั้น เรามีรูปแบบของเราอยู่แล้ว อาสาสมัครของเราก็มีอยู่แล้ว ทำไมต้องเป็นแบบฉือจี้ด้วย สร้างภาพประชาสัมพันธ์มากเกินไปไหม? นี่คือคำถามของผู้ที่ยังคลางแคลงใจ ไม่เชื่อใจว่าจะมีคนทำอะไรได้ดีๆจากใจได้ขนาดนั้น แต่สำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อได้รู้จักก็รู้สึกดีและทึ่งว่ามีองค์การกุศลที่ทำด้วยใจที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ มีสมาชิกจำนวนมากทั่วโลก และดำเนินการต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ทำให้คิดถึงคำพูดที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”
สำหรับตัวเองที่เป็นพยาบาลคนหนึ่งเห็นว่าเป็นแนวทางที่ดีในอุดมคติที่ตนค้นหาอยู่ และอยากให้มีในระบบสาธารณสุขของบ้านเรา เพราะนี่คือหนทางที่ทำให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการมีความสุข มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และพัฒนาไปสู่สังคมที่สงบเย็นและอุดมปัญญาในที่สุด ซึ่งจะขอวิเคราะห์โดยใช้การเรียนรู้ผ่านตัวเองเป็นขั้นตอนดังนี้

รู้จักฉือจี้ครั้งแรก
เมื่อประมาณปี2549 ต่อปี2550ได้มีโอกาสอ่านหนังสือของนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ที่เขียนเรื่องมูลนิธิพุทธฉือจี้และเรื่องบริการทางการแพทย์ กล่าวโดยสรุปคือ โรงพยาบาลของฉือจี้มีการรณรงค์ภายในเพื่อสร้างจิตวิญญาณการแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ เรียกว่า “The mission to be a human doctor” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจิตใจของผู้รับบริการทุกระดับให้ใส่ใจในคุณค่าศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ให้เกียรติและให้ความเคารพคนทุกคนทุกระดับชั้น และให้ระลึกในพระคุณของผู้ป่วยและญาติที่มาใช้บริการ โดยกล่าวว่า “แพทย์ พยาบาลและทีมงานมีหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ซึ่งเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นทุกคนต้องลดตัวตนให้เล็กที่สุด จึงจะทำภารกิจที่สำคัญนั้นได้” หลังจากได้อ่านรู้สึกประทับใจมาก และได้นำไปให้คุณหมอมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์อ่านด้วย เราต่างก็เห็นตรงกันว่าอยากเผยแพร่ให้บุคลากรของโรงพยาบาลได้รู้จัก จึงได้เขียนจดหมายไปตามที่อยู่ในหนังสือ เพื่อขอหนังสือนำมาแจกให้ผู้สนใจ แต่ทางไปรษณีย์ตีกลับว่า ไม่มีที่อยู่ตามจ่าหน้า ต่อมาจึงใช้การโทรศัพท์อยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีผู้รับสาย และต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้แต่ละโรงพยาบาลดำเนินการด้านจิตอาสา โดยกำหนดให้มีการรายงานกิจกรรมในแต่ละเดือน ซึ่งทางกลุ่มงานเวชกรรมสังคมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้ ทางเราก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด



เรียนรู้จิตอาสาฉือจี้ไต้หวัน
ต่อมาในปี2552ได้มีโอกาสศึกษาดูงานเกี่ยวกับฉือจี้ที่ไต้หวัน โดยร่วมเดินทางไปกับคณะอาจารย์ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทางนครสวรรค์เราไปด้วยกัน 3 คน โดยออกเงินค่าเดินทางกันเอง คุณหมอสมพงษ์ ยูงทองซึ่งเป็นผู้บริหารของวิทยาเขตนครสวรรค์มีความตั้งใจอย่างมากที่จะให้ระบบบริการ และการเรียนการสอนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเองที่เป็นTransformative Learning ซึ่งเราเลื่อมใสในแนวทางฉือจี้กันมาอยู่นานแล้ว จึงได้ชวนคุณวาสนา อัศรานุรักษ์ ประธานกลุ่ม YCL (Young Community Leader) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการสร้างมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เพื่อให้เข้าใจแนวทางของฉือจี้ไปพร้อมกัน สำหรับการศึกษาดูงานคือวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2552 โดยมีคุณกวิช ไตรวงศ์ไพศาล ไปในคณะของศูนย์จิตตปัญญาศึกษาด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของพวกเราที่ได้รับความรู้จากคุณกวิช มากมายหลายเรื่อง และเป็นผู้ที่ช่วยแปลภาษาจีนให้ฟัง และได้เรียนรู้อักษรจีนบางตัวอย่างน่าทึ่ง ที่ให้เห็นถึงรากของอักษรแต่ละเส้นคืออะไร มีความหมายอย่างไร เมื่อประกอบเป็นตัวใหม่แล้ว ความหมายคืออะไร ทำให้อยากกลับไปเรียนภาษาจีนใหม่
การมาศึกษาดูงานฉือจี้ที่ไต้หวันครั้งนี้มีความประทับใจหลายเรื่อง ได้เรียนรู้เรื่องราวและปณิธานอันยิ่งใหญ่ของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ได้ก่อเกิดภารกิจ 4 ด้านของมูลนิธิพุทธฉือจี้ คือ การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ การศึกษา และวัฒนธรรม มนุษยธรรม ซึ่งมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ และถือว่าคณะของเรามีบุญที่ได้ยืนต้อนรับท่านธรรมาจารย์ขณะที่จะเข้าห้องประชุม ท่านได้กล่าวทักทายคณะของเรา โดยมีคุณกวิชเป็นผู้ตอบเป็นภาษาจีน พวกเราทุกคนรู้สึกปลื้มปิติมาก
สิ่งที่ประทับใจมากจากการพบจิตอาสาฉือจี้ที่เราไปเยี่ยมชมทุกที่นั้น ให้การต้อนรับด้วยรอยยิ้มที่อบอุ่นทุกคน ทุกคนมีความสุขกับการพาชมกิจกรรมและบอกเล่าเรื่องราวอย่างมีชีวิตชีวาไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ตั้งแต่สถานีแยกขยะรีไซเคิล สถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย โรงพยาบาลซินเตี่ยน พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแพทย์ วิทยาลัยพยาบาล และสมณารามจิ้งซือที่ฮวาเหลียน คณะของเรามีสุ่ยมามา และคุณบังอรดูแลไปตลอดเส้นทางพร้อมกับมัคคุเทศน์คือคุณส้มและจิน ขณะนั่งรถ
สุ่ยมามาก็จะบรรยายเป็นภาษาจีนโดยมีคุณจินและคุณส้มช่วยแปล ทำให้เราคิดถึงอาสาสมัครของเราอยากให้ทำงานอย่างมีความสุขและเห็นคุณค่าในการทำงานเช่นนี้จัง และที่สมณารามมิสเตอร์หวู่มารอต้อนรับพวกเรา โดยเดินทางล่วงหน้าทางรถไฟจากไทเปมา มิสเตอร์หวู่ชอบคณะที่มาจากเมืองไทยและจะมาต้อนรับตลอด ได้รับความรู้จากมิสเตอร์หวู่เป็นอย่างดี ทางคุณกวิชได้เล่าถึงความตั้งใจของหมอสมพงษ์ ที่จะนำเอาเรื่องจิตอาสาฉือจี้ไปดำเนินการในมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ และอยากส่งนักศึกษาแพทย์มาเรียนที่ไต้หวันด้วย ซึ่งทางคุณกวิชและมิสเตอร์หวู่ได้เรียนให้ท่านธรรมาจารย์ทราบ ซึ่งท่านธรรมาจารย์ก็ยินดีให้การสนับสนุน

ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ชุมชนร่มเกล้า
หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ทางมูลนิธิฉือจี้ได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาตาต้อกระจกร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ทางเราจากนครสวรรค์ได้ไปร่วมเรียนรู้ ได้พบกับคุณกวิชและคุณสุชน ทางคุณกวิชได้เล่าให้ฟังว่าได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับฉือจี้ซึ่งซื้อมาหลายเล่ม (ที่เห็นฝากคุณส้มมาตอนพวกเราจะกลับมาเมืองไทย รู้สึกประมาณ 3 ลัง ตอนนั้นคุณกวิชเดินทางไปปักกิ่งต่อ) ยิ่งอ่านยิ่งเห็นความละเอียดลึกซึ้งที่ท่านธรรมาจารย์ทำงาน ท่านให้ความสำคัญอย่างมากในทุกอย่างมีที่มาไม่ว่าจะเป็นรากฐาน พื้น เสาและสิ่งแวดล้อมต่างๆในการสร้างโรงพยาบาล ทุกอย่างมีความหมาย และให้ความสำคัญต่อคนไข้และญาติ ในการดูแลรักษา ดังนั้นถ้ามหิดลนครสวรรค์จะส่งนักศึกษาไปเรียนที่ฉือจี้ไต้หวัน เพียงคนสองคน กลับมาทำงานก็คงยาก คุณกวิชแนะนำว่าควรทำอย่างเป็นระบบตั้งแต่แรกเช่นเดียวกับฉือจี้ ซึ่งอาจจะเป็นแบบอย่างของภูมิภาคนี้ในอนาคต สำหรับตัวเองรู้สึกยินดี และใฝ่ฝันที่จะได้เห็นระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเช่นนี้มานาน แต่ก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งยากที่จะขับเคลื่อนในการสร้างโรงพยาบาลที่มาจากศูนย์ ทั้งด้านงบประมาณต่างๆ และการสร้างแนวร่วมในสังคม แต่ก็มีแรงบันดาลใจที่จะก้าวเดินในแนวทางนี้

เข้าร่วมอบรมจิตอาสาฉือจี้ที่โพธาราม
ต่อมาทางมูลนิธิฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทยได้ร่วมกับโรงพยาบาลโพธาราม จัดอบรมจิตอาสารุ่นที่4 ที่โพธาราม ในวันที่1-4 ก.ค.2553 ทางนครสวรรค์ของเราไปเข้าร่วมอบรม 10 คน โดยเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่และอสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน ) รวม6 คน ส่วนทางโรงพยาบาลเราไปกัน 4 คนเป็นพยาบาล 3 คน และนำทีมโดยคุณหมอมนทกานติ์ ก็เป็นความฝันที่เราจะได้มาสัมผัสจริงจากการฝึกฝนก่อน หลังจากที่ได้จากการอ่าน จากการศึกษาดูงานมาแล้ว
การอบรมครั้งนี้ก็ทำให้ได้เรียนรู้ตัวเองมากเหมือนกัน การจะเป็นจิตอาสาที่ดีไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ต้องมีการบ่มเพาะที่เป็นรูปแบบที่เราไม่คุ้นชิน เกิดข้อคำถามขึ้นในใจเป็นระยะอยู่เหมือนกัน ในเรื่องที่ไม่ตรงกับสิ่งที่เราเคยฝึกมา แต่สุดท้ายก็คลี่คลายกับตัวเองได้ ก็คิดว่าอาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนสำหรับบางคนที่อาจจะยังคับข้องใจอยู่บางประเด็น แต่นี่ก็คือข้อคิดเห็นส่วนตัว
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมคณะวิทยากรฉือจี้ เจ้าหน้าที่ด้านโสต พ่อครัวและแม่ครัว รวมทั้งทีมงานของโพธารามทั้งคุณหมอสมบูรณ์ นันทานิช และพยาบาลที่เป็นพี่เลี้ยงและแม่ไก่ และที่สำคัญนำทีมโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี นายแพทย์บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์ ที่ให้การดูแลในการอบรมที่อบอุ่นและดูแลทุกข์สุขเป็นอย่างดี มีการดำเนินงานที่มีระบบระเบียบพิถีพิถัน ได้เรียนรู้อย่างมากมาย และได้เรียนรู้ใจตัวเองนี่ก็สำคัญ มนุษย์เราก็มีเพียง 2 อย่างคือความชอบและไม่ชอบ
เห็นความตั้งใจของวิทยากรทุกท่าน คุณสุชน ได้สร้างแรงบันดาลใจของความเคารพ ศรัทธาเลื่อมใสท่านธรรมาจารย์ และงานฉือจี้ต่างๆที่ได้ทำกันมาทั้งในประเทศไต้หวัน ประเทศไทย และประเทศต่างๆทั่วโลก เห็นความมุ่งมั่นที่คุณสุชนทำมายาวนาน เป็นผู้ใหญ่ใจดีที่ห่วงใยลูกหลาน สำหรับน้องหญิงก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความศรัทธาและถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างดี และเป็นธรรมชาติ เห็นพลังของทุกท่านที่ไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ทั้งที่ตื่นแต่เช้ามาสอนการออกกำลังกาย ในขณะที่กลางคืนทุกท่านก็อยู่สรุปงาน และเตรียมงานวันใหม่
ที่กล่าวว่าได้เรียนรู้ตัวเอง และเรียนรู้ใจตัวเองก็คือ ในการเข้าค่ายนี้ ตัวเองมีความขัดแย้งและคับข้องใจอยู่ในช่วงแรกๆ ได้แก่ช่วงเช้าที่มีการออกกำลังกาย และมีการเจริญสติด้วยการเดินจงกรม ซึ่งมีการกำหนดการย่างเท้าที่เหมือนกันตามจังหวะที่เคาะให้สัญญาณ ในตอนนั้นรู้สึกอึดอัด เพราะเคยไปปฏิบัติธรรม มา พระอาจารย์ให้กำหนดรู้กับการก้าวเดินตามสบาย ไม่เพ่ง ไม่เผลอ แต่เมื่อถูกกำหนดรู้ตามเสียงเคาะจังหวะ และการกำหนดเท้าที่ก้าวข้างเดียวกันทุกคน ทำให้รู้สึกเกร็ง และไม่มีสมาธิเท่าที่ควร เพราะเกิดวิตกวิจารณ์ขึ้น แต่ต่อมาก็คลี่คลายกับตัวเอง เมื่อได้เห็นภาพที่ชาวฉือจี้เป็นหมื่นที่ร่วมงานประจำปีบริเวณลานกว้าง (จำไม่ได้ว่าบรรยายว่าที่ไหน) ภาพที่เห็นนั้นเป็นระเบียบมาก ความคิดที่ติดค้างหายไปสิ้น เกิดปัญญาเข้าใจแล้วว่า เพื่อความเป็นระเบียบ เพราะเป็นคนมาอยู่ร่วมกันมหาศาล ถ้าไม่เช่นนั้นจะดูวุ่นวาย และเห็นต่อไปอีกว่านี่คือการสร้างวินัยร่วมกัน นี่ไงที่เรามักพูดว่าทำไมประเทศอื่นเด็กๆจึงมีระเบียบวินัย ก็เพราะเขามีการสร้างกันอย่างจริงจังในทุกระดับ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และเกิดการไม่ติดยึดถือมั่นในรูปแบบ และสัญญาเดิมที่มีอยู่ เป็นเพียงรับรู้อย่างโปร่งเบากับปัจจุบัน ที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเสียงจังหวะที่เคาะ ..........
ความจริงเมื่อเข้าใจแก่นก็คือ รับรู้กับการเคลื่อนไหว ในหลายวิธีแล้วแต่จริตของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติด้วยการเคลื่อนไหวมือ 14 จังหวะแบบของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ การรับรู้ลมหายใจ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ หรือการรำมวยไท้เก็ก ชี่กง หรือแม้แต่โยคะ ซึ่งล้วนแต่เป็นการฝึกสติ สมาธิ แล้วแต่ใครถนัด เมื่อรู้อย่างนี้ก็ไม่ต้องไปยึดติดจนทุกข์ ไปอยู่ตรงไหนเราก็ปรับตัวกับรูปแบบของเขาอย่างเข้าใจ ก็โปร่งเบาดีขึ้น
หรือแม้แต่ต่างศาสนา ถ้าเราเข้าใจมีความรู้สึกที่ดีไปกับเขาด้วย ก็จะรับรู้ไม่ต่างจากที่เราปฏิบัติ ตัวเองเคยตามเพื่อนไปโบสถ์คริสต์ขณะที่ฟังเพลงสวดก็รู้สึกถึงความสุขสงบ และตัวเองเคยทำกิจกรรมให้นักศึกษาพยาบาลซึ่งเป็นชาวใต้และนับถือศาสนาอิสลาม เราขอให้เขาทำละมาดให้ดู ขณะที่ฟังเสียงนำสวดนั้นรับรู้ถึงพลังศรัทธาและความสงบในจิตใจ จนกระทบใจเราและเกิดปีติน้ำตาไหล คล้ายๆตอนที่เราปฏิบัติธรรมแล้วเกิดปีติน้ำตาไหลเหมือนกัน เมื่อเข้าใจตรงนี้ก็รับรู้ว่าทุกศาสนาล้วนมุ่งสู่ความดี ความงามเช่นกัน แต่มีรูปแบบที่ต่างกันไป ดังนั้นถ้าเราเปิดใจไม่ยึดติด ก็จะเห็นตามที่ท่านธรรมาจารย์ว่า “เราคือครอบครัวเดียวกัน” ไม่ต้องแบ่งแยกเราเขา ก็ไม่ทุกข์ระแวงสงสัย ในเมื่อรับรู้ว่าดี ใยต้องระแวงว่าทำไมดีเกินเหตุ น่าจะมีอะไรแอบแฝงหรือเปล่า เป็นเพราะสังคมเรามักคิดว่าคนเราทำอะไรก็ต้องหวังผลอะไรที่ซ่อนเร้นหรือเปล่า เราลองมองลึกลงไปถึงก้นบึ้งของจิตเราซิ เห็นพิรุธในใจเราหรือไม่ ที่ไม่วางใจผู้คนซึ่งมีมานานแค่ไหนไม่อาจรู้ได้ แต่ถ้าเราไม่ผ่าตัดตัวเองคงจะยากที่จะให้ความไว้วางใจและเชื่อใจใครหรือแม้แต่คนใกล้ชิด ขณะที่เขียนบันทึกนี้ได้ยินเสียงเพลงของหมู่บ้านพลัม เข้ากับสิ่งที่พูดถึงพอดี..เราคือใบไม้ ต้นเดียวกัน เวลามีมาให้เรา ได้ใช้ร่วมกัน เราคือลูกคลื่นทะเลเดียวกัน เวลามีมาให้เรา ได้ใช้ร่วมกัน เราคือดวงดาวฟ้าเดียวกัน เวลามีมาให้เรา ได้ใช้ร่วมกัน เราคือดวงดาว ฟ้าเดียวกัน....

เผยแพร่แนวคิดและปรัชญาฉือจี้ในนครสวรรค์
หลังจากพวกเราได้ร่วมกันจัดการบรรยาย “ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาพุทธฉือจี้สู่การปฏิบัติ:ประสบการณ์โรงพยาบาลโพธาราม” เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา โดยมีคุณสุชน และคุณเมตตา จากมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย พร้อมคุณหมอสมบูรณ์และคณะจากโรงพยาบาลโพธาราม เป็นวิทยากร ซึ่งทำให้การรับรู้เกี่ยวกับจิตอาสาฉือจี้ชัดเจนมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมหลายหน่วยงาน มีทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล จากโรงพยาบาลต่างๆในจังหวัด อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา ของโรงพยาบาลและ สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนต่างๆ เจ้าหน้าที่ จากสาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด จาก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ อาจารย์พยาบาลและนักศึกษาพยาบาลจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ และเจ้าหน้าที่ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ นอกจากนั้นได้มีการต่อโทรทัศน์วงจรปิดส่งไปตามหอผู้ป่วยทุกตึกในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยความชื่นชมและอยากให้มีการจัดขึ้นอีก และมีผู้มาขอรับกระปุกออมสินจำนวน 77 คน งานนี้สำเร็จด้วยดีจากหลายฝ่าย เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม พวกเราได้มีการประชุมแบ่งงานกันช่วยกันทำตามความถนัดและความพร้อม และได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากทีมวิทยากรเป็นอย่างดี

เยี่ยมครอบครัวบุญคุณ
ในวันที่ 27 ก.พ.2554 พวกเราได้ไปเยี่ยมครอบครัวบุญคุณที่ตำบลเขาทอง ซึ่งเป็นที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ การเยี่ยมครอบครัวบุญคุณครั้งนี้ต่อเนื่องจากโครงการวัยใสใส่ใจบุพการี ซึ่งคุณดาริกาและคุณปฏิธรรม เป็นเจ้าของโครงการได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา เครือข่ายพุทธิกา และได้มีการจัดอบรมเยาวชนจิตอาสาในตำบลเขาทอง และหนองปลิง เมื่อ10-13 ธ.ค.2553 โดยวิทยากรจากมูลนิธิฉือจี้ คือคุณสมชาย น้องหญิง และคณะ ที่ผ่านมาเยาวชนและอสม. และผู้จัดทำโครงการได้ไปเยี่ยมครอบครัวบุญคุณมาแล้วครั้งหนึ่ง และในวันที่27ก.พ.ได้มีการชวนพวกเราจิตอาสาไปร่วมด้วย ในวันนั้นเราไปกัน 7 คนที่อบรมฉือจี้มาแล้ว และมีเยาวชนวัยใสที่ผ่านการอบรมมาเช่นกัน รวมๆกันก็เป็น 10 กว่าคน ก็ได้เห็นพลังเวลาไปกันหลายคน เราไปเยี่ยมคุณตาเณรซึ่งเป็นอัมพาตมานาน 10 ปี แต่ต้องชื่นชมคุณยายไม้และลูกหลานที่ดูแลเป็นอย่างดี ไม่มีแผลกดทับเลย ใบหน้าผิวพรรณผ่องใส สะอาดสะอ้าน แม้คุณยายจะตัวเล็กนิดเดียวดูแลพยุงจนปวดหลังอยู่ตลอด ขอเล่าเหตุการณ์ความประทับใจจากการเยี่ยมในวันนั้น
ครั้งแรกที่เห็นคุณตานอนอยู่บนเตียง ลืมตาอยู่ แต่นอนนิ่งเฉย ขณะที่พวกเราบ้างก็ตัดเล็บ บ้างก็นวดคุณตา ตอนแรกเราคิดว่าคุณตาพูดได้หรือเปล่านะ ก็ลองถามคุณตาว่า “เห็นพวกเราไหมค่ะ” คุณตาบอกว่าเห็นลางๆ ก็ชวนคุณตาคุยต่อว่ากินข้าวเช้าหรือยัง คุณตาบอกว่า “กินข้าวต้มกับปลา” ก็ได้ถามคุณตาว่าเจ็บตรงไหนไหมค่ะ หลังจากนวดแขนขากัน คุณตาอยากตะแคง และเมื่อช่วยกันตะแคงแล้ว เยาวชนช่วยนวดหลัง คุณตาบอกว่า สบายดี ตอนหลังก็พยุงคุณตาลุกนั่งได้ พอคุณตาเห็นพวกเรามากันเยอะ ก็จะร้องไห้ ตื้นตันใจและบอกว่า “มากันเยอะ ไม่มีอะไรให้กินเลย” ทำให้เห็นว่าถ้าคุณตาดีๆ แข็งแรงคุณตาคงจะหาอะไรมาเลี้ยงดู แสดงถึงความมีน้ำใจโอบอ้อมอารี พวกเราได้เตรียมผลไม้ และพวงมาลัยไป โดยเยาวชนเป็นผู้มอบให้คุณตาและคุณยาย และป้อนผลไม้คุณตาคุณยาย คุณตาคุณยายให้ศีลให้พรเด็กๆ และคุณยายป้อนผลไม้ให้เด็กด้วย ขณะนั้นจิตอาสาที่พาไปเล่าว่าสมัยก่อนคุณตาร้องเพลงรำวงเก่ง พวกเราก็ขอให้คุณตาร้องให้ฟัง คุณตาบอกว่า “ถ้าร้องก็ต้องมีคนรำซิ” พวกเราก็ยินดี คุณตาก็ร้องว่า “จะมายืนหน้าเศร้าร้องไห้อยู่ทำไม” แล้วก็หัวเราะ บอกว่านึกไม่ออกแล้ว จิตอาสาบอกว่าเป็นเพลงชี้บทของชาวเขาทอง หลังจากนั้นลูกหลานและจิตอาสาชาวเขาทองก็ช่วยกันร้อง คุณตาคุณยายก็ร่วมร้องด้วย เป็นวรรคๆที่จำได้ คุณตายิ้มและหัวเราะอย่างมีความสุข และเยาวชนก็ร้องเพลงชี้บทและรำให้คุณตาดู และจบด้วยเพลงครอบครัวเดียวกัน ขณะที่เยาวชนลาคุณตาคุณยาย จิตอาสาบอกว่าคนนี้เป็นหลานลูกบ้านนั้นแม่ชื่อ... หลังจากนั้นเราจึงให้เยาวชนเข้าไปแนะนำตัวทีละคนว่าเป็นลูกหลานใคร ก็ให้รู้สึกว่าไม่ใช่อื่นไกลลูกหลานบ้านเราเอง เป็นภาพและบรรยากาศที่ดีมาก
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเยี่ยมครอบครัวบุญคุณ 2 บ้านที่ต่างจาการเยี่ยมบ้านที่เราได้ทำมาตลอดในการทำงานชุมชน วันนั้นเราไปในนามของจิตอาสาและเป็นภาพขององค์กร เป็นความรู้สึกที่ดีที่ลดความเป็นตัวตน เป็นลูกหลานที่เยี่ยมเยือนผู้สูงวัยผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมานาน และเห็นถึงพลังกลุ่ม ที่สามารถกระตุ้นศักยภาพของคนไข้และครอบครัวได้มากกว่า กระตุ้นแรงบันดาลใจของคุณตา ซึ่งถือเป็นจิตวิญาณของคุณตาที่ชอบร้องเพลงพื้นบ้าน รื้อฟื้นให้คุณตาและญาติเกิดพลัง แต่ถ้าเราไปเยี่ยมกันในหน้าที่ แม้ว่าตัวเองมักจะค้นหาแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจของคนไข้ แต่ก็คงไม่สามารถทำให้คนไข้ร้องเพลงออกมาได้ขนาดนี้ การเยี่ยมในบทบาทพยาบาลแม้เราจะพยายามทำตัวใกล้ชิดถอดหมวกพยาบาล แต่ลึกๆก็มีเส้นบางๆของความมีอำนาจที่เหนือกว่าอยู่ ซึ่งคนไข้และญาติมักจะยกให้สูงกว่าระดับของเขา ถามว่าดีไหม ?
แต่ถ้าต้องการการเข้าถึงความทุกข์ที่แท้จริงของผู้ป่วยและญาติก็คงไปไม่ถึงเท่าที่ควร ถ้าเราไม่อ่อนน้อมถ่อมตนพอ อย่างที่คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้พูดถึงพยาบาลหรือผู้ช่วยเหลือคนไข้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็คือลูกหลานชาวบ้าน แต่พอทำงานไปไม่นานก็ถูกกลืน สามารถดุว่าคนไข้ได้อย่างไม่ต้องมีใครสอนเลย และได้พูดถึงระบบบริการสาธารณสุขของเรานั้นมีความทุกข์ทั้งคนให้บริการ และคนรับบริการ เป็นการบริการที่เป็นกลไก ขาดความละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์ พยาบาลก็ทุกข์เพราะคนไข้ก็มาก งานก็หนัก คนไข้ก็ทุกข์เช่นกัน ในขณะที่อาสาสมัครมาช่วยงานแรกๆก็มีความเข้าอกเข้าใจคนไข้ที่ทุกข์ยากดี แต่ไปนานๆเข้าก็อาจจะชาชิน และเริ่มเป็นคนละระดับกับคนไข้แล้ว กลายเป็นหมออีกระดับหนึ่งที่อาจจะเผลอดุคนไข้ไปโดยไม่รู้ตัว ถามว่าถ้าเรามาทำงานในแต่ละวันทั้งในหน้าที่ และอาสาสมัคร แต่เราได้เผลอดุว่าคนไข้จนทำให้เขาขุ่นข้องหมองใจกลับไป เราได้หรือเสีย สิ่งดีงามที่ทำมาก็แทบจะหมดไป เรามักได้ยินว่าหมอ พยาบาลในขณะที่ทำบุญก็อาจจะทำบาปไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จริงไหม?
ถามว่า ถ้าเราเป็นคนไข้เราต้องการการบริการดูแลอย่างไร คำตอบที่ทุกคนต้องการก็คือ
เราต้องการการดูแลดุจญาติมิตรซึ่งเป็นคำอมตะทุกยุคสมัย คนให้บริการก็อยากเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพื่อเป็นที่รักและมีคุณค่าในสายตาของผู้รับบริการและมีความสุขกับการทำงาน ส่วนอาสาสมัครก็ต้องการทำงานอย่างมีความสุข ได้รับการชื่นชมจากผู้รับบริการในความเสียสละทั้งเวลาและอื่นๆ แต่นานๆไปเราอาจจะพากันหลงลืมจิตวิญญาณที่ดีเหล่านั้นไปเสียเมื่อไหร่ ไม่รู้ได้ กลับกลายเป็นเสียงบ่นใส่กันเมื่อยามเหน็ดเหนื่อย เป็นสิ่งที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง จะเห็นว่าความเครียด ความทุกข์ ทำให้เราขาดความสมดุลในชีวิต จนไม่มีความสุขจากการทำงาน ไม่ปีติกับงาน บางคนเหมือนนักเรียนที่ไม่อยากตื่นไปโรงเรียน ขาดพลัง และแรงบันดาลใจ หรือทำอย่างไรให้ผู้ที่ทำงานที่ดีและมีความสุขอยู่แล้ว มีความสุขยิ่งขึ้น และขยายผลสู่คนอื่นๆได้
ลองมองกลับอีกด้านหนึ่งที่มีการนำพา และบ่มเพาะให้เห็นคุณค่าในการทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ และไม่ได้เกิดจากการเสแสร้ง หรือสร้างภาพ แต่ออกมาจากความละเอียดอ่อนจากภายในอย่างแท้จริง ลองพิศดูใบหน้าของจิตอาสาฉือจี้แต่ละคน ก็จะเห็นผิวหน้าที่ผ่องใส รอยยิ้มที่อบอุ่นและเป็นมิตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถจะปั้นได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่ของจริง ชาวฉือจี้ถือว่าโรงพยาบาลคือวิหารธรรมที่ทำให้เราได้บ่มเพาะ ความเป็นพระโพธิสัตว์ โรงพยาบาลมีสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ได้ครบ ทั้งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร เข้าถึงความจริง ความดี และความงามได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าค้นหาคำตอบด้วยการน้อมตัวเข้าไปเรียนรู้ จากการลงมือปฏิบัติกับเขาอย่างเปิดใจจริง ภาพฝันที่ตัวเองต้องการเห็นคือ ภาพในโรงพยาบาลที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีสัมพันธภาพที่ดี เข้าใจกันดุจญาติมิตร และมีจิตอาสามาช่วยบริการในการดูแลจิตใจผู้ป่วยด้วย ช่วยลดความเครียดของผู้ป่วย และภาระงานของเจ้าหน้าที่และพยาบาลในส่วนที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนบางส่วน ก็จะเป็นโรงพยาบาลที่มีความสุข
ท่านธรรมาจารย์ได้นำพาชาวฉือจี้เดินตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ ด้วยหลักธรรมพรหมวิหาร 4 คือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยนำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ผ่านการทำงานจริง และเป็นอยู่ในเนื้อตัว ดังนั้นถ้าทุกส่วนของสังคมไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา การเมืองการปกครองได้นำหลักธรรมมาปฏิบัติอย่างแท้จริง ก็น่าจะนำพาสังคมไปสู่ความสุข ถ้าเราไม่เริ่มตอนนี้ แล้วลูกหลานจะอยู่กันอย่างเป็นสุขในวันข้างหน้าได้อย่างไร ทำให้คิดถึงพุทธพจน์ที่ว่า “เมตตาค้ำจุนโลก”
นี่คือส่วนหนึ่งที่ได้เรียนรู้จักฉือจี้ในมุมมองของตนเองที่เป็นพยาบาล และได้ทำงานในชุมชนมานานพอควร ได้เห็นปัญหาต่างๆของผู้คน คิดว่าแนวทางของฉือจี้เป็นทางหนึ่งที่จะนำพาสังคมสู่ทางรอดได้ จึงขอแลกเปลี่ยนทัศนะของตนเองให้เพื่อนๆ อาจจะถูกหรือผิด แต่เป็นความกล้าหาญของตนเองระดับหนึ่งที่กล้าบอกกล่าวความรู้สึกตรงๆของตนเอง ทั้งช่วงที่รู้สึกอึดอัดคับข้องใจ และเมื่อเปิดใจเราก็เห็นมุมมองใหม่ที่ดี และก็ถือว่าได้ผ่าตัด Explor ตัวเองด้วย

เพียรพร ยูงทอง

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เชิญชวน อาสาสมัครไปให้บริการผู้ป่วยที่ โรงเรียนพิชัยพัฒนา กทม


ด้วย
คุณยงเกียรติ เกียรติเสริมสกุล
ประธาน
สมาคมแพทย์อาสาฉือจี้นานาชาติ สาขาประเทศไทย(TIMA- Thai Branch)
(Tzuchi international Medical Association=TIMA)


ได้ประกาศเชิญชวน อาสาสมัครทุกท่าน
ไปให้บริการ และ มอบความรักให้กับผู้ป่วยที่ โรงเรียนพิชัยพัฒนา กทม
ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2554
เวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น.
เพื่อเตรียมการก่อนที่ผู้ป่วยจะมา
ขอให้อาสาสมัคร มาถึงโรงเรียนพิชัยพัฒนา ก่อนเวลา 1 ชั่วโมง

แพทย์ พยาบาล เภสัช บุคคลากรทางสาธารณสุขทุกๆท่าน
แม้ไม่ได้เป็นอาสาสมัครฉือจี้ ก็สามารถมาร่วมงานได้ตามอัธยาศัย
เป็นโอกาส ที่พวกเราจะได้มารวมพลังกันทำความดี ชำระจิตใจตนเอง
ลดละอัตตา ตัวตน
การให้ความรักความเมตตา
จะทำให้สังคมร่มเย็น สงบสุข

ฝ่ายสนับสนุนงาน TIMA
อาสาสมัครฉือจี้ เขตราชบุรี
มีความยินดี เรียนเชิญ
ผู้สนใจทุกท่าน ทั้งที่เป็น อาสาสมัครฉือจี้ และไม่ใช่
ยิ่งถ้าเป็นบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขก็ยิ่งจะตรงงานมาก
มาร่วมกันทำความดีในครั้งนี้

ที่ รพ.โพธาราม จะมีขบวนรถออกจากโรงพยาบาล
เวลา 5.30 น. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2554

การนี้
ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล
นพ.สุภัค ปิติภากร
ท่านได้สั่งการ ให้สนับสนุนอย่างเต็มที่

นำโดย คุณหมอ ทันตแพทย์หญิงมัลลิกา
หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม
นำทีม กลุ่มงานทันตกรรม และอุปกรณ์ ไปช่วยงาน

นพ.สมบูรณ์ จะนำทีม แพทย์พยาบาล และอาสาสมัคร
และผู้สนใจไปร่วมงาน

ท่านที่สนใจ จะไปกับทีมเราโปรด แจ้งความจำนงที่

หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนงาน TIMA
คุณสุพัตรา แตงฮ้อ
โทร 0819861383
tanghore@gmail.com

หัวหน้าหน่วยโพธิต้าอ้าย
คุณนฤมล คุณธร
โทร 0838170318
E-mail narumol@gmail.com

หัวหน้าหน่วยโพธิเปาหยง
คุณจารุวรรณ หีบท่าไม้
โทร 0890604374
E-mail jaaree8@gmail.com

หัวหน้าหน่วยโพธิจุ้นจง
คุณทัศนีย์ นันทานิช
โทร 0818372124
E-mail tnantanit@hotmail.com


เพื่อที่เราจะได้จัดรถให้เพียงพอทุกคนครับ

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเริ่มต้นทำงานเป็นอาสาสมัครฉือจี้

การเริ่มต้นทำงานเป็นอาสาสมัครฉือจี้
จะต้องทำอย่างไร?


โดย

นายแพทย์สมบูรณ์ นันทานิช

คำนำ

มีผู้สนใจ อยากทำงานเป็นอาสาสมัครฉือจี้บ้าง
มาถามข้าพเจ้าบ่อยๆ
ว่าจะต้องทำอย่างไร

แรกๆก็ตอบใครไม่ได้ เพราะยังไม่เข้าใจ
และไม่กล้าแนะนำใคร เพราะอาจแนะนำผิด
ถึงวันนี้ คุณเมตตา แซ่ชิว
อาสาสมัครอาวุโส ชาวไต้หวัน
ที่เป็นแม่ไก่ข้าพเจ้า
ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าให้คำแนะนำ
ผู้สนใจทั่วไป ให้มาเป็นอาสาสมัครฉือจี้ได้แล้ว

จริงๆแล้ว ฉือจี้สาขาประเทศไทย ตั้งมากว่าสิบปี
แทบไม่มีคนไทยมาเป็นอาสาสมัครเลย
มีแต่คนไต้หวัน ราวๆ สี่ ถึง ห้าสิบคน
ที่มาทำงานในเมืองไทยเท่านั้น

คุณสุชนเคยเล่าว่า
เคยประกาศเชิญชวนคนไทยให้มาเป็นอาสาสมัครฉือจี้
คณะชาวฉือจี้ ก็รอ จนเย็น จนค่ำ ที่มูลนิธิ
มีคนมาเพียงคนเดียว
ทุกคน รุม บรรยายให้ คนไทยคนนี้ ตามกำหนดจนจบ

เพิ่งมาสองสามปีมานี้ที่มีคนสนใจมากขึ้น
มีผู้ติดต่อให้ข้าพเจ้าไปบรรยาย เรื่อยๆ หลายครั้ง
แต่แรกๆ ข้าพเจ้าคิดว่า ตัวเองยังไม่ค่อยรู้เรื่องเลย
ไปพูดให้เขาฟังในสิ่งที่เราไม่รู้เรื่อง
เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ไม่สมควรไปเลย
แต่ก็อยากให้เขาได้รับสิ่งที่ดีๆ เช่นที่เราได้รับมาแล้ว
ข้าพเจ้าต้องโทรบอก คุณสุชน คุณเมตตา ขอให้ไปด้วยกันหน่อย
จะได้มีฐานอิงหน่อย ว่าที่พูดนี่
เป็นของแท้นะจ๊ะ มีอาจารย์มาด้วย

ได้ออกงานกับ อาจารย์ทั้งสองท่านหลายครั้ง
ก็เริ่มค่อยๆ เข้าใจ ซาบซึ้ง ถึงสิ่งที่ ฉือจี้ นำเสนอให้กับสังคมทั้งโลก
ค่อยๆ เข้าใจ ปณิธานท่านธรรมมาจารย์
เริ่มเข้าใจคำว่า ให้มาแบกภาระกิจของฉือจี้
เข้าใจว่า ทำไม ฉือจี้จึงเรียก ว่า กรรมการฉือจี้
ไม่ใช่สมาชิกฉือจี้ ที่เป็นแค่ อาสาสมัคร มาทำเป็นครั้งคราวตามโอกาส
เพราะชาวฉือจี้ คือผู้ที่ ต้อง มาแบกภาระกิจของฉือจี้

อาสาสมัครฉือจี้ ระดับ เริ่มต้น ฝึกหัด (สวมเสื้อเทา)
อาสาสมัครฉือจี้ ระดับ กรรมการฉือจี้ (สวมเสื้อน้ำเงิน มีตราโลโก้)

เป็นคำที่แสดงถึง แก่นแท้ของ บทบาท ของอาสาสมัคร ทั้งสองประเภท
และมีความหมายสากล ไปทั่วโลก

จุดเริ่มต้น

วิถีชีวิตของชาวฉือจี้แต่ละคน ที่เข้ามาสู่ แวดวง ชาวฉือจี้ แทบไม่เหมือนกันเลย
ข้าพเจ้า ได้ฟัง ชาวฉือจี้เล่าเรื่อง แลกเปลี่ยนในกลุ่ม ก็ทราบว่า
ทุกคนมากันต่างๆกัน จนเขาบอกกันต่อๆมาว่า
เพราะเรามีวาสนามาจากอดีตกาล
จึงมาพบกัน มาทำงานด้วยกัน ในปัจจุบันกาล

ยกตัวอย่าง

เมื่อครั้งมีการอบรม อาสาสมัครครั้งแรก ที่เชียงราย ปี พ.ศ.2551
มีชาวเชียงรายท่านหนึ่ง ท่านเห็นชาวฉือจี้ในทีวี อยากทำงานแบบนั้นบ้าง
ก็โทรศัพท์ไปที่มูลนิธิที่ กทม.
ทางมูลนิธิก็แนะนำว่า ขณะนี้กำลังมีการอบรมอาสาสมัครที่เชียงราย
ให้ไปหาที่ที่เรากำลังอบรมกันอยู่
อาสาสมัครท่านนี้ก็ให้สามีขับรถพาลูกทั้งครอบครัวมาอบรมเป็นอาสามัครฉือจี้
กับพวกเราที่เชียงราย
โอ มหัศจรรย์มาก

*
ขณะที่เราอบรมปีนั้น(2551) เราออกทำความสะอาด หมู่บ้าน วัด
ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เชียงราย
ทำกันอย่างเป็นขบวน สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย
ชาวบ้านท่านหนึ่งก็มาขอสมัครป็นอาสาสมัครบ้าง

*
คุณนุช อยู่หาดใหญ่ นั่งรถไฟไป กทม.
ไปที่ทำการมูลนิธิฉือจี้ กทม
เพื่อสมัครเป็นอาสาสมัครฉือจี้โดยเฉพาะ
อยากช่วยเหลือคนแบบฉือจี้
ทั้งๆที่ท่านเองก็ไม่ได้เป็นคนที่ร่ำรวยเป็นเศรษฐี
ทางมูลนิธิตกใจมาก
ได้แนะนำว่าบ้านอยู่ภาคใต้ จะทำกิจกรรมฉือจี้ ที่ภาคใต้ก็ได้
ไม่ต้องมาถึง กทม ให้ไปที่ ภูเก็ต !!
ขณะนั้นที่ภาคใต้ มีกิจกรรมฉือจี้ เฉพาะที่ภูเก็ตเท่านั้น
คุณนุชต้องนั่งรถจากหาดใหญ่ ภูเก็ต ไปกลับ นาน 6-8 ชั่วโมง
เพื่อไปทำกิจกรรมจิตอาสาฉือจี้ที่ภูเก็ต ทุกๆเดือน มานานเกือบปี
ร่วมกับอาสาสมัครฉือจี้ที่ภูเก็ต

ท่านเป็นเมล็ดพันธ์ คนไทย ชาวใต้ เมล็ดแรกๆของหาดใหญ่ สงขลา
ปัจจุบัน ท่านกำลังอบรมเป็นกรรมการฉือจี้
จะไปเข้าพิธี โซ่วเจิ้ง พย 2554 นี้

*

ตัวข้าพเจ้ามาจากอ่านหนังสือ ดอกหญ้า ของ ชาวอโศก
ฉบับหนึ่งมีบทความที่เล่าการไปเยี่ยมชม ชาวฉือจี้ที่ไต้หวันของชาวอโศก
ข้าพเจ้าอ่านแล้ว ซาบซึ้งใจมาก รู้สึกว่า
ชาวฉือจี้เขาทำกันถึงขนาดนี้เชียวหรือ
อ่านไป เช็ดน้ำตาไป
ชาวพุทธในโลกนี้ ไม่เห็นมีใครทำแบบที่ไต้หวันทำ

ชาวพุทธเรา ควรต้องมีกิจกรรมในลักษณะแบบชาวฉือจี้ทำนี้ จึงจะสามารถ
ตอบสังคมได้ เป็นความสมบูรณ์พร้อมของลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
เป็นการรวมจุดแข็งของ พุทธแบบเถรวาท และ พุทธแบบมหายานมารวมกัน
จนไม่มีการแบ่งแยกนิกาย
ไม่ยึดติดว่าเป็นคนชาติใด เชื้อชาติใด สัญชาติใด
ผิวสีอะไร ถือลัทธิ ความเชื่ออะไร


1.ไม่ทำความชั่วทั้งปวงโดยสิ้นเชิง
2.ลงมือทำความดีอย่างมีปัญญา
3.พัฒนาจิตตนเองให้บริสุทธ


เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นคำสอนของ พ่อแม่ ครู อาจารย์ ในทุกๆนิกาย
เหมือนกันตรงกัน

ถ้าผิดไปจากนี้แล้ว
ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เชิญ อาสาสมัคร ฉือจี้ มาอบรมเตรียมเป็นกรรมการ ปี ๒๕๕๔

ตามข้อเสนอแนะของ นพ.บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์
มูลนิธิฉือจี้ เห็นชอบให้ อาสาสมัครฉือจี้ ที่ผ่านการอบรมแล้ว ของจังหวัดราชบุรี
สามารถมาเข้าอบรมเป็นกรรมการ ได้ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ นี้
ตามหนังสือเชิญนี้

เรื่อง ขอเชิญ อาสาสมัครฉือจี้ เข้าอบรมเพื่อเตรียมตัวเป็นกรรมการฉือจี้
เรียน นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี นายแพทย์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รพ.ศ/รพ.ท/รพ.ช ในจังหวัดราชบุรีทุกแห่ง สาธารณสุขอำเภอในจังหวัดราชบุรีทุกอำเภอ


ด้วยฝ่ายฝึกอบรม มูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย มีความยินดีเรียนเชิญ อาสาสมัครฉือจี้ทุกท่าน เฉพาะในจังหวัดราชบุรี ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร ๔ วันแล้ว ให้เข้าร่วมอบรมเพื่อเตรียมตัวเป็นกรรมการฉือจี้ ณ สำนักงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก ๓ กรุงเทพมหานคร ตามกำหนดการที่แนบมาด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ โปรดกรุณาเวียนแจ้งให้อาสาสมัครฉือจี้ในหน่วยงานท่านได้ทราบด้วย หากท่านและอาสาสมัครฉือจี้ในหน่วยงานท่านมีความสนใจและประสงค์จะเข้าร่วมอบรมดังกล่าว กรุณารวบรวมรายชื่ออาสาสมัครที่สนใจ ส่งมายังเลขานุการชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลโพธาราม เพื่อที่จะรวบรวมแจ้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ต่อไป


ขอแสดงความนับถือ


(นายสุภัค ปิติภากร)
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธาราม

ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลโพธาราม
โทร 0 3235 5300-09 ต่อ 183 , 081 986 1383
โทรสาร 0 3223 3594
E-mail tanghore@gmail.com



กำหนดการอบรม อาสาสมัครฉือจี้ เพื่อเตรียมตัวเป็นกรรมการ ฉือจี้ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔
สถานที่จัดการอบรม สำนักงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย
ถนนรัชดาภิเษก ซอย๓ กทม.
วันอาทิตย์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2554
วันอาทิตย์ ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2554
วันอังคารที่ 8-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 เฉพาะผู้ที่ผ่านการอนุมัติ จาก คณะกรรมการฉือจี้ที่ไต้หวันให้เป็นกรรมการได้ ออกเดินทางไป เมืองฮัวเหลียง ประเทศไต้หวัน เข้าพิธีรับตำแหน่งกรรมการ (โซ่วเจิ้ง = Certification Ceremony)
(กำหนดการนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ควร โทรถามยืนยันก่อนการอบรม 1-2 วัน)



กำหนดการอบรม อาสาสมัครฉือจี้ เพื่อเตรียมตัวเป็นกรรมการ ฉือจี้
ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ หลักสูตรพิเศษ สำหรับผู้ที่อยู่ไกลไม่สามารถมาทุกเดือนได้
สถานที่จัดการอบรม และพักค้างคืน
สำนักงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย
ถนนรัชดาภิเษก ซอย๓ กทม.

วันที่ 13 -17 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ( ห้าวัน สี่คืน)
ผู้เข้าอบรม ต้องอยู่อบรมจนครบหลักสูตร

วันอังคารที่ 8-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 เฉพาะผู้ที่ผ่านการอนุมัติ จาก คณะกรรมการฉือจี้ที่ไต้หวันให้เป็นกรรมการได้ ออกเดินทางไป เมืองฮัวเหลียง ประเทศไต้หวัน เข้าพิธีรับตำแหน่งกรรมการ (โซ่วเจิ้ง = Certification Ceremony)
(กำหนดการนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ควร โทรถามยืนยันก่อนการอบรม 1-2 วัน)