วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหตุเกิดที่นครสวรรค์เมื่อ ๗-๘ ก.พ.๒๕๕๓

บันทึกการประชุมฉือจี้เมื่อ ๗-๘ ก.พ. ๒๕๕๓
ที่นครสวรรค์


การประชุมกลุ่มคนนครสวรรค์ผู้สนใจ งานฉือจี้ หลังจากที่มีคนไปดูงานที่ฉือจี้ไต้หวันชุดแรก ( ๑๔-๑๗ ม.ค. ๒๕๕๓ ) การประชุมจัดที่บ้านหมอสมพงษ์ ยูงทอง ริมอุทยานสวรรค์ เวลา ๑๙.๓๐ - ๒๓.๐๐ น. รูปแบบการประชุม เป็นแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue ) มีผู้ร่วมประชุม ๑๕ คน
บรรยากาศการประชุมสบาย เป็นกันเอง เริ่มด้วยการนั่งสงบอยู่กับการรู้ตัว ถัดจากนั้นก็เช็คอิน (Check in ) แนะนำตัวและความรู้สึก / ความคาดหวังในใจต่อการพูดคุยครั้งนี้ หลายคนพูดถึงความเต็มใจที่จะทำงานแบบฉือจี้ หลายคนอยากมาพบ มาฟังคุณกวิชช์พูด การสนทนา ส่วนใหญ่จะฟังคุณกิชช์อธิบายแนวคิด และเรื่องราวของชาวฉือจี้ประเทศไทย มีการแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ ทำให้มองเห็นแนวทางที่จะดำเนินงานของฉือจี้ในนครสวรรค์ได้ สาระสำคัญที่ได้จากการสนทนาคือ
• คนไทยคุ้นเคยกับการเป็นอาสาสมัคร คือทำตามสมัครใจ ชอบก็ไป ไม่ชอบก็ไม่ไป ไมj
สม่ำเสมอ แต่ชาวฉือจี้ เป็นพวกจิตอาสา คือทำด้วยจิตใจมุ่งมั่นแน่วแน่ เพราะตระหนักถึงผลที่ได้คือความปีติในใจ
• ความสุขที่ได้จากการทำกิจกรรมแบบฉือจี้ ใช้คำภาษาจีนว่า ซิ่งฝู แทนคำ เกาซิ่ง ทั้งสอง
คำแปลว่าความสุขเหมือนกัน แต่คำว่าซิ่งฝู ไม่ใช่ความสุขอย่างทั่วไป คำว่าซิ่งมาจากคำ เกาซิ่ง หมายถึงความสุข ความยินดี ฝู หมายถึงบุญวาสนา ความสมบูรณ์ รวมความอาจแปลว่า ความสุขที่เต็มอิ่ม สุขเพราะพบเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นความเป็นมนุษย์ในตัว
• หลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติของชาวฉือจี้ ได้แก่พรหมวิหาร ๔ ซึ่งแปรออกเป็นการ
กระทำ ดังนี้
๑. เมตตา ความรักที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีเงื่อนไข แปรเป็น การสงเคราะห์ผู้ต้องการความช่วยเหลือ โดยเห็นเขาเป็นคนเท่าทียมกับเรา และเป็นผู้มีพระคุณกับเราที่ทำให้เราได้มีโอกาสบำเพ็ญความดี เป็นตัวอย่างให้เราได้ตระหนักถึงความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ กล่อมเกลาจิตใจเราให้นุ่มนวลอ่อนโยน
๒. กรุณา เห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น แปรเป็น การรักษาพยาบาล เกื้อกูลผู้เจ็บป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ ช่วยอย่างต่อเนื่องจนเขาสามารถพึ่งตนเองได้ บางรายก้าวหน้าถึงการเปลี่ยนจิตใจของเขาจนมาเป็นจิตอาสา

๓. มุทิตา ยินดีในความสุข ความสำเร็จของผู้อื่น แปรเป็นการศึกษา เพราะคนจะประสบความสุข ความสำเร็จได้ อาศัยความรู้นำพาให้พึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ การศึกษาจึงเป็นเหตุแห่งมุทิตา
๔. อุเบกขา การปล่อยวาง แปรเป็นการกระจายข่าวสารทางสื่อต่างๆ ปกติคนจีน มีอะไรดีๆมักเก็บหวงเอาไว้ไว้เป็นของๆตน ของพวกตัวเอง ยึดไว้วางไม่ลง การแบ่งปันสิ่งดีๆจึงเป็นการลดการยึดมั่นถือมั่นให้คลายลง (หลักทั้ง ๔นี้ ปัจจุบันปรับเป็น ๘ ภารกิจ)
• การทำกิจกรรมฉือจี้ ควรเริ่มจากเล็กๆใกล้ตัวก่อน แต่ควรทำเป็นกลุ่ม จะไม่เป็นตัวตลก
การรับการบริจาคด้วยการโค้งโน้มต่ำอย่างชาวฉือจี้ อาจจะยังไม่เหมาะในตอนแรก เพราะคนไทยเราจะมีความระแวงเรื่องเงินรับบริจาค และท่าทางของชาวฉือจี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอาจตีความผิดเพี้ยนได้
• การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ของจิตอาสาฉือจี้ จะมีการบันทึกเรื่องราวรายละเอียด สิ่งที่
ชอบ ไม่ชอบของผู้ป่วย เพื่อส่งต่อให้จิตอาสาที่มารับหน้าที่ต่อ ทำให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องราบรื่น บันทึกนี้สำคัญมาก
• การดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย (Palliative care) ควรยกจิตของผู้ป่วยให้เห็นค่าของตัวเองจนเกิดปีติ
จะช่วยให้เขามีโอกาสจากไปด้วยดีมากกว่านำให้เขาวางจิตปล่อยวาง ซึ่งเมื่อภาวการณ์ตายมาถึงอาจกลัว หรือเจ็บปวดได้จะนำให้เขาไปไม่ดี
• การเยี่ยมบ้านเพื่อดูผู้ต้องการความการช่วยเหลือ ให้ทำอย่างเป็นธรรมชาติ เอาความรักที่มี
ต่อเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกันนำไป และมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ เช่น หมอ พยาบาลไปเสริม ไม่ไปหาอย่างเป็นทางการในฐานะแพทย์ พยาบาล ซึ่งมีกรอบของตำแหน่งหน้าที่ มีฐานะที่ดูสูงกว่า
• การให้ความช่วยเหลือ ให้ตั้งเป้าหมายไม่เพียงแต่ช่วยให้เขาพ้นจากความเดือดร้อน
หากแต่ให้เขาได้มีโอกาสพัฒนาจิตใจจนมีจิตของผู้ให้ในตัว ซึ่งบางครั้งก็สามารถเหนี่ยวนำให้เพื่อนบ้านได้ยกจิตใจของเขาขึ้นมาด้วย การเยี่ยมบ้านควรไปอย่างน้อย ๓ คน พูดคุยกับเขา และเพื่อนบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือ ต้องมีการบันทึกภาพเก็บเป็นข้อมูล การบันทึกการสัมภาษณ์ และต้องประชุมจัดการความรู้หลังการเยี่ยมทุกครั้ง การไปเยี่ยมต้องมีความต่อเนื่อง อาจเป็นสัปดาห์ละครั้ง ๒สัปดาห์ครั้ง แล้วแต่ความจำเป็น
• การตั้งกลุ่ม ควรมีการประชุมแบบ Dialogue เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารประสบการณ์ สัปดาห์
ละครั้ง ควรมีการตั้งประธาน รองประธาน เลขา เหรัญญิก ของกลุ่ม มีการจดบันทึก การรับเงินบริจาค ถ้าทำในนามฉือจี้ ต้องมีกรรมการของฉือจี้มาร่วมรับรู้ด้วย
• วันที่ ๒๓ – ๒๖ มี.ค. มีการอบรมฉือจี้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นครสวรรค์ไปร่วม
ด้วย และวันที่ ๒๐ ก.พ. เปิดตัว จิ้งซืออวี่ ฉบับภาษาไทย ที่โรงแรมดิอิเมอรัล อยากชวนให้ไปกับมากๆ
สรุปการทำกิจกรรม เริ่มจากการดูแลให้กำลังใจกับคุณนุ้ย คนอำเภอท่าตะโก ที่มีการกระทำ
แบบชาวฉือจี้อยู่ ทั้งที่ตัวเองก็ประสบเหตุที่มีความทุกข์อยู่ คุณเพียรพร ยูงทอง เป็นผู้ประสานงานเบื้องต้น
ศึกษาความเป็นอยู่ของกลุ่มคนเจ้าของที่ดินที่ขายที่ดินให้มหาวิทยาลัยที่เขา
ทอง ที่อยู่ในกลุ่มที่ฐานะยากจน ว่าเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และวางแผนการเยี่ยมเยือนช่วยเหลือต่อไป

วันที่ ๘ ก.พ. มีการพูดคุยเกี่ยวกับงานของฉือจี้เพิ่มเติม ต่อเนื่องจากวันที่ ๗ สรุปได้ดังนี้
• พื้นที่หลักที่จะทำกิจกรรม จะใช้พื้นที่เขาทอง โดยเริ่มจากเจ้าของที่ดินเดิมที่หมดที่ทำกิน
• การทำงาน จะให้ทีมจิตอาสานครสวรรค์ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนศึกษาความเป็นอยู่ก่อน ๒รอบ
จากนั้นจะประสานให้ ทีมฉือจี้กรุงเทพมาร่วมด้วย เพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานระบบฉือจี้
• จิตอาสา อาจทำงานร่วมกับคลินิกแพทย์แผนไทย ที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะตั้งขึ้นที่เขาทอง
• การดูงานฉือจี้ ที่ไต้หวัน รอบ ๒ มีชุดครอบครัวคุณหมอนุช และอาจารย์มหิดลที่เข้ามา
ใหม่เป็นหลักคาดว่าอาจไปเร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิม ( เดิมประมาณเดือนสิงหาคม )
• การอบรมฉือจี้ วันที่ ๒๓ – ๒๖ มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางนครสวรรค์โดย
มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จะจัดส่งคนไปอบรม อาจารย์ดาริกาเป็นผู้ประสานงาน
• การแต่งกายของจิตอาสาฉือจี้ ทำเพื่อให้ออกจากภาพ หมอ พยาบาล และทำให้เป็นทีม
เดียวกัน ไม่เปรียบเทียบกันในกลุ่ม เครื่องแบบปรับเปลี่ยนตามจำนวนชั่วโมงการทำงานดังนี้
ชั่วโมงที่ ๐ - ๑๐๐ สวมเสื้อกั๊กสีเหลือง
๑๐๐ - ๘๐๐ สวมเสื้อสีเทา กางเกงขาว แต่เปลี่ยนสีบัตรตามฉัพพรรณรังสี * และสีทั้ง ๖
๘๐๐ – ๙๐๐ สวมเสื้อสีน้ำเงิน กางเกงขาว
การนับชั่วโมงการทำงาน นับทั้งชั่วโมงการประชุม การเดินทาง การทำงาน การอบรม รวมถือเป็นเวลาที่สละมาทำงานจิตอาสา

* ฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการคือ ๑.นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒.ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓.โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕.มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง หรือหงอนไก่ ๖.ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น