วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การอบรมอาสาสมัครฉือจี้ แนวใหม่ ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน พ.ศ.2554
ฮู่อ้ายราชบุรี ได้ลงมือปฏิบัติ
อบรม อาสาสมัคร แนวพุทธฉือจี้ แบบใหม่ ครั้งที่ 1

ความเป็นมา
จากการประเมินผล การอบรม 5 รุ่นที่ผ่านมา
แม้ว่าจะได้ผลระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีปัญหาหลายประการ ได้แก่

1.ใช้งบประมาณมาก เฉลี่ยแล้ว 4-5,000 บาทต่อคน
(ไม่ได้นับค่าใช้จ่ายของวิทยากร จากมูลนิธิฉือจี้)
2.การรับสมัครคนมาเข้าอบรม ยังไม่มีระบบรับที่ดี
3.การนำพาอาสาสมัครใหม่รุ่นหลังๆ ออกทำงานช่วยเหลือคนไม่เป็นระบบ
โดยมากมัก ขาดการติดตาม
4.ใช้ ทรัพยากร บุคคลมาก เหนื่อย ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว
5.หลักสูตร และทีมวิทยากร ยังไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอด
6.การประชาสัมพันธ์ไม่เป็นระบบ
7.การต้องค้างคืน 3 คืนต่อรุ่น เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ถ้าผลผลิต ออกมาทำงานเป็นอาสาสมัครน้อยมาก ก็ถือว่าไม่คุ้มค่า

แนวทางการจัดการรุ่นที่ 6 จึงเป็นการทดลองจัดในแนวใหม่ ดังนี้

1.ให้ อาสาสมัครที่เข้าอบรม ไปกลับ ทุกวัน ไม่ต้องพักค้างคืน
ผู้จัดไม่ต้องรับผิดชอบ ค่าที่พัก (ประหยัดไปมหาศาล)
2.จำนวนวันมากขึ้น แต่ไม่ได้อบรมติดต่อกัน เว้นระยะห่างกัน 1-2 เดือนมา 1 ครั้ง
จำนวนวันเพิ่มเป็น 6 วัน แต่ทำให้หลายท่านที่ไม่สามารถ มาติดต่อกันได้ ไม่สามารถค้างคืนได้ ก็มาได้
3.แม้บางวันไม่ว่างมา ก็สามารถมา "เก็บ" จำนวนวันในภายหลังจนครบ 6 วันได้ เมื่อครบแล้วจึงสามารถ
เข้าพิธีรับเกียรติบัตร และพิธีรับ ซันเป่า เสื้อสีเทา("บาตรและจีวร") จาก ผู้จัดงานได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มาครบ
4.การที่ต้องมาถึง 6 ครั้ง 6 วัน ก็เป็นการทดสอบจิตใจของ อาสาสมัครผู้เข้าอบรมว่า
มีใจในการเป็น อาสาสมัคร มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามาวันแรกแล้ว วันหลังไม่มาเลย ก็เป็นสิ่งที่ ควรเป็นไปอยู่แล้ว
ไม่ต้องฝืนใจอยู่จนครบเหมือนการอบรมแบบเก่า
5.ไม่มีการแจกชุดเสื้อเทา ตั้งแต่วันแรกแบบการอบรมแบบเดิม จะให้ในวันสุดท้ายเท่านั้น
ทำให้ประหยัดไปส่วนหนึ่ง ที่สำคัญคือ เกิด ความหมายของ ชุดเสื้อเทา ว่าเป็นชุดที่ "ศักดิ์สิทธิ์"
มีความหมายที่ลึกซึ้งต่อเหล่าบรรดาอาสาสมัคร
6.ระบบพี่เลี้ยง แม่ไก่ลูกไก่ ได้รับการพัฒนา ให้เป็นหัวใจของการคัดเลือกคน การติดตามหลังการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม จะต้องผ่าน การแนะนำจากแม่ไก่ก่อน จึงจะมาเข้าอบรมได้
7.จำนวนผู้เข้าการอบรม ไม่มีการกะเกณฑ์ว่าต้องมี เท่าโน้น เท่านี้ แบบเดิม
เมื่อแม่ไก่ จะรายงานมายังผู้จัดว่า ใครมีกี่คน รวมแล้ว 30-40 คน
ก็สามารถจัดการอบรมได้ทันที
8.การติดตาม ให้ลูกไก่มาอบรมจนครบ ก็เป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยง ที่ต้องดูแลลูกไก่ตนเอง
9.เกิดการสร้างทีมวิทยากรใหม่ๆ และเกิดเครือข่ายใหม่ๆ ที่เข้มแข็งขึ้น พึ่งพา
อาสาสมัครฉือจี้จากไต้หวันลดลง ชาวราชบุรีทำเองมากขึ้น นานๆเข้าก็สามารถทำเองได้ในที่สุด
10.ใช้งบประมาณน้อยลงมาก กว่าเดิม เหลือประมาณ ราว 2-3,000 บาทต่ออาสาสมัคร 1 คน
11.สามารถพัฒนาต่อยอด เป็นการจัดระบบการรับบริจาค เพื่อการพัฒนาอาสาสมัครฉือจี้ใหม่ขึ้น ให้เป็นการ ดำเนินงานด้วยตนเอง
ไม่ต้องพึ่งพา ระบบราชการ คล้ายๆยุวพุทธจัดการ อบรม หลักสูตรคุณแม่สิริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น