วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อคิดเรื่อง"ผู้หญิงกับพุทธฉือจี้"

สังคมจีน ในอดีต จะชอบมีลูกชายมาก การมีลูกผู้หญิง
บางครั้งก็ทำให้พ่อแม่ไม่ชอบ
เด็กหญิงอาจถึงตายตอนเกิดใหม่ๆได้ง่าย
พ่อแม่จะเลี้ยงลูกชายดีกว่าลูกหญิง

สังคมอินเดียก็แบบเดียวกัน อาจรุนแรงกว่า
เพราะเดี๋ยวนี้มี เครื่องอัลตร้าซาวด์ พอดูเพศรู้ว่าเป็นหญิงก็ทำแท้งกันมากมาย
จนรัฐสภาอินเดีย ออกกฎหมายว่า
หมอห้ามดูเพศเด็กในครรภ์ เห็นแล้วก็ห้ามบอกพ่อแม่
ถ้าละเมิดก็ติดคุกสถานเดียว
มีคดีตัวอย่างหมอติดคุกเรื่องนี้มาแล้ว

จุดเริ่มต้นของมูลนิธิพุทธฉือจี้ มาจากผู้หญิงท่านหนึ่งที่ไต้หวัน
คือท่านธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน
ท่านหาเลี้ยงชีพเองไม่บิณฑบาตร
เก็บหอมออมริบ
เริ่มจากท่านพาลูกศิษย์ที่เป็นแม่บ้าน 30 คน
ออกช่วยเหลือคน โดนเอาเงินจากการลดค่าอาหารทุกวัน
วันละ 1-2 เหรียญ
รวบรวมกันมาช่วยคนที่ยากไร้
ท่านเก็บภาพกิจกรรม เป็นหลักฐานไว้หมด
เมื่อข่าวนี้รู้กระจายไป
เป็นอะไรที่สะเทือนใจคนทั้งเกาะไต้หวัน
และสะเทือนมาถึงเมืองไทย
ผู้หญิง ตัวเล็กๆ ทำงานช่วยเหลือคนขนาดนี้
ใครเห็น ใครก็ต้องหลั่งน้ำตา
ถ้าไม่สามารถไปช่วยด้วยตนเอง ก็บริจาคเงินช่วย
กิจการของท่านขยายตัวจนเป็นมูลนิธิใหญ่โต
มีสมาชิกกว่า 6 ล้านคน
และอาสาสมัครหลายหมื่นคนกระจาย 60 กว่าประเทศทั่วโลก ภายในเวลา 40 กว่าปี

ท่านทำมา 10 กว่า ปี จึงค่อยรับผู้ชายมาทำงานเป็นอาสาสมัครด้วย

ทำไมผู้ชายจึงมาทำความดีทีหลัง

ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า

ผู้ชายจีนถือว่าตนเองเป็นผู้นำ
การมายอมรับ การนำของผู้หญิงก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย
ตอนนี้ก็ยอมรับแล้ว
จึงมีผู้ชายมาช่วยงานฉือจี้ มากขึ้น
แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้หญิงมาก

การนำ การคุมกำกับหน่วยงานสำคัญๆ ในมูลนิธิ
เป็นของผู้หญิงโดยสิ้นเชิง
ทั้งที่ไต้หวันและเมืองไทย
ตอนออกหน้าก็ให้ผู้ชายออกหน้า
ให้เกียรติหน่อย
จำนวนคน การขับเคลื่อนเป็นของผู้หญิงทั้งนั้น

อุบาสก อุบาสิกา ที่ไปวัดในเมืองไทย
ข้าพเจ้า ดูๆ ก็เป็นเพศหญิง กว่า 80%

กิจกรรม วัฒนธรรมองค์กร
โดยมากก็จะ ละเอียด อ่อนช้อย
มีชงน้ำชา ปักดอกไม้ รำภาษามือ
ฯลฯ
ถูกจริตผู้หญิงมาก

ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรเลยที่
มีผู้หญิงมาเข้าร่วมกิจกรรม อาสาสมัครฉือจี้มากมาย
ทั้งไต้หวัน เมืองไทย
เช่นเดียวกันกับที่โพธาราม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น