วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การอบรมอาสาสมัครฉือจี้ แนวใหม่ ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน พ.ศ.2554
ฮู่อ้ายราชบุรี ได้ลงมือปฏิบัติ
อบรม อาสาสมัคร แนวพุทธฉือจี้ แบบใหม่ ครั้งที่ 1

ความเป็นมา
จากการประเมินผล การอบรม 5 รุ่นที่ผ่านมา
แม้ว่าจะได้ผลระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีปัญหาหลายประการ ได้แก่

1.ใช้งบประมาณมาก เฉลี่ยแล้ว 4-5,000 บาทต่อคน
(ไม่ได้นับค่าใช้จ่ายของวิทยากร จากมูลนิธิฉือจี้)
2.การรับสมัครคนมาเข้าอบรม ยังไม่มีระบบรับที่ดี
3.การนำพาอาสาสมัครใหม่รุ่นหลังๆ ออกทำงานช่วยเหลือคนไม่เป็นระบบ
โดยมากมัก ขาดการติดตาม
4.ใช้ ทรัพยากร บุคคลมาก เหนื่อย ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว
5.หลักสูตร และทีมวิทยากร ยังไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอด
6.การประชาสัมพันธ์ไม่เป็นระบบ
7.การต้องค้างคืน 3 คืนต่อรุ่น เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ถ้าผลผลิต ออกมาทำงานเป็นอาสาสมัครน้อยมาก ก็ถือว่าไม่คุ้มค่า

แนวทางการจัดการรุ่นที่ 6 จึงเป็นการทดลองจัดในแนวใหม่ ดังนี้

1.ให้ อาสาสมัครที่เข้าอบรม ไปกลับ ทุกวัน ไม่ต้องพักค้างคืน
ผู้จัดไม่ต้องรับผิดชอบ ค่าที่พัก (ประหยัดไปมหาศาล)
2.จำนวนวันมากขึ้น แต่ไม่ได้อบรมติดต่อกัน เว้นระยะห่างกัน 1-2 เดือนมา 1 ครั้ง
จำนวนวันเพิ่มเป็น 6 วัน แต่ทำให้หลายท่านที่ไม่สามารถ มาติดต่อกันได้ ไม่สามารถค้างคืนได้ ก็มาได้
3.แม้บางวันไม่ว่างมา ก็สามารถมา "เก็บ" จำนวนวันในภายหลังจนครบ 6 วันได้ เมื่อครบแล้วจึงสามารถ
เข้าพิธีรับเกียรติบัตร และพิธีรับ ซันเป่า เสื้อสีเทา("บาตรและจีวร") จาก ผู้จัดงานได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มาครบ
4.การที่ต้องมาถึง 6 ครั้ง 6 วัน ก็เป็นการทดสอบจิตใจของ อาสาสมัครผู้เข้าอบรมว่า
มีใจในการเป็น อาสาสมัคร มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามาวันแรกแล้ว วันหลังไม่มาเลย ก็เป็นสิ่งที่ ควรเป็นไปอยู่แล้ว
ไม่ต้องฝืนใจอยู่จนครบเหมือนการอบรมแบบเก่า
5.ไม่มีการแจกชุดเสื้อเทา ตั้งแต่วันแรกแบบการอบรมแบบเดิม จะให้ในวันสุดท้ายเท่านั้น
ทำให้ประหยัดไปส่วนหนึ่ง ที่สำคัญคือ เกิด ความหมายของ ชุดเสื้อเทา ว่าเป็นชุดที่ "ศักดิ์สิทธิ์"
มีความหมายที่ลึกซึ้งต่อเหล่าบรรดาอาสาสมัคร
6.ระบบพี่เลี้ยง แม่ไก่ลูกไก่ ได้รับการพัฒนา ให้เป็นหัวใจของการคัดเลือกคน การติดตามหลังการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม จะต้องผ่าน การแนะนำจากแม่ไก่ก่อน จึงจะมาเข้าอบรมได้
7.จำนวนผู้เข้าการอบรม ไม่มีการกะเกณฑ์ว่าต้องมี เท่าโน้น เท่านี้ แบบเดิม
เมื่อแม่ไก่ จะรายงานมายังผู้จัดว่า ใครมีกี่คน รวมแล้ว 30-40 คน
ก็สามารถจัดการอบรมได้ทันที
8.การติดตาม ให้ลูกไก่มาอบรมจนครบ ก็เป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยง ที่ต้องดูแลลูกไก่ตนเอง
9.เกิดการสร้างทีมวิทยากรใหม่ๆ และเกิดเครือข่ายใหม่ๆ ที่เข้มแข็งขึ้น พึ่งพา
อาสาสมัครฉือจี้จากไต้หวันลดลง ชาวราชบุรีทำเองมากขึ้น นานๆเข้าก็สามารถทำเองได้ในที่สุด
10.ใช้งบประมาณน้อยลงมาก กว่าเดิม เหลือประมาณ ราว 2-3,000 บาทต่ออาสาสมัคร 1 คน
11.สามารถพัฒนาต่อยอด เป็นการจัดระบบการรับบริจาค เพื่อการพัฒนาอาสาสมัครฉือจี้ใหม่ขึ้น ให้เป็นการ ดำเนินงานด้วยตนเอง
ไม่ต้องพึ่งพา ระบบราชการ คล้ายๆยุวพุทธจัดการ อบรม หลักสูตรคุณแม่สิริ

อาสาสมัคร ชุดสีเทา กางเกงขาว

อาสาสมัครฉือจี้ ชุดสีเทา กางเกงขาว รองเท้าขาว

เป็นเครื่องแบบ อาสาสมัครฉือจี้ ที่แสดงถึงว่า
เป็นผู้ที่ กำลัง บ่ม เพาะ คุณธรรม ในจิตใจตนเอน
ให้มี ธรรม (เหรินหวุน)
ให้เกิดขึ้นในใจ จนเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา

เช่น จากเดิม เป็นคนที่ชอบสูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก ประจำ
(จริงๆแล้ว การติดใน เครื่องดื่ม บางประเภท เช่นยาชูกำลัง น้ำอัดลม ก็อนุโลมเข้าข้อนี้ได้)
ก็มา ฝึกฝน บ่มเพาะ ให้เลิก ละ มัน โดยมา ทำงานช่วยสังคม
ระหว่างนี้ ก็จะไม่มีการสูบในเครื่องแบบ เป็นอันขาด
(ถ้าอยากมาก จนทนไม่ไหว ก็ถอดเครื่องแบบออกไปสูบ)
นานๆเข้าก็ชิน ใส่เครื่องแบบ หรือไม่ใส่ ก็ไม่สูบ เป็นต้น

ระหว่างที่บ่มเพาะ นอกจากเรื่องศีล 10 ข้อแล้ว
ก็ต้องเรียนรู้ คุณธรรมพื้นฐานของชาวฉือจี้
ได้แก่

การสำนึกคุณ (กั่งเอิ๊น)

เมื่อมีการสำนึกคุณ
ก็จะมี จุ้นจ้ง(เคารพ ให้เกียรติผู้อื่น)
เกิด กตัญญู

เมื่อมีจุ้นจ้ง เราก็กลายเป็นคนที่อ่อนน้อม ถ่อมตนโดยอัตโนมัต
ตัวตน ลดลง โดยลำดับ

การฝึกช่วยเหลือคน
ไม่เลือกว่าเป็น คนชาติใด ภาษาใด นับถือศาสนาอะไร อยู่ที่ไหน
และโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ

ทำให้เกิดความรัก
เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่(ต้าอ้าย) หรือ มหาเมตตา

เพราะเห็น ความจริงของสรรพชีวิต
ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในโลก

ทำให้มีการดำรงชีวิต
อย่างซื่อสัตย์ สมถะ
เมตตาต่อตนเอง
เมตตาผู้อื่น
การใช้ชีวิต อย่างสมถะ เรียบง่าย
เพื่อให้มีเงินเหลือไปช่วยคนอื่น
เป็นการสะสมบุญให้กับตนเอง ให้ครอบครัว ให้สังคม และให้ประเทศชาติ


ธรรมต่างๆก็ ไหลตามมาโดยลำดับ

ธรรมเหล่านี้ สัมผัสได้ เวลาที่มันบังเกิดขึ้นในจิตใจ
ธรรมเหล่านี้จะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่ออกปฏิบัติ ลงมือช่วยเหลือคน จริงจัง
เมื่อไม่บังเกิด จิต ก็ไม่รู้จักธรรมเหล่านี้

เมื่อจิตไม่ได้สัมผัสธรรมเหล่านี้ จิตก็ไม่ซาบซึ้ง
เมื่อจิตไม่ซาบซึ้ง ก็จะ ไม่สามารถสัมผัสกับ กระแสจิตของ
เหล่า อาสาสมัคร ชายหญิง รุ่น อาวุโสได้
และก็ไม่สามารถสัมผัส
กระแสจิตท่านธรรมมาจารย์ได้

เมื่อความซาบซึ้งไม่มี การปฏิบัติธรรม ก็มักท้อถอย
ไม่อยากทำ ทำไปทำไม เสียเวลา

อาสาสมัคร ท่านหนึ่ง ท่านใส่เสื้อสีเทา กางเกงขาว
มานานหลายปี เกิน เวลา 2 ปี ตามกติกาแล้ว
ท่านบอกว่า ท่านยังต้องบ่มเพาะอยู่
ใจท่านยังไม่มี เหรินหวุน มากพอที่ จะเป็น อาสาสมัคร เสื้อน้ำเงิน ได้
ขอฝึกต่ออีก

ท่านไม่เคย มาอ้อนวอนขอเป็นเสื้อน้ำเงิน
เพราะท่านเข้าใจแล้วว่า การเป็นเสื้อน้ำเงินหมายถึงอะไร
ขอบ่มเพาะต่อ จริงๆแล้ว ท่านทำงานหนักกว่าเสื้อน้ำเงินบางท่านอีก

เมื่อเทียบกับท่านแล้ว
ข้าพเจ้า รู้สึกอาย
เพราะข้าพเจ้าเป็นกรรมการแล้ว
ข้าพเจ้า ยังต้องเรียนจากท่าน อีกมากมาย

เมื่อ เดือน ธันวาคม 2553
ข้าพเจ้าไป "รับกรรมการ" (=โซ่วเจิ้ง หรือ Certification ceremony)
ข้าพเจ้าเห็น คนที่ไปรับ รับกรรมการ จำนวนมาก
ซาบซึ้งมาก ร้องไห้ ด้วยความปลื้มปิติ
ข้าพเจ้าเห็น แล้วก็ต้องร้องไห้ตาม


เส้นทางของ ชาวฉือจี้
มีความดี
มีความงาม
มีความจริง
มีความรัก
และ มีน้ำตา(จากความซาบซึ้ง)
(อันหลังข้าพเจ้าเพิ่มเอง)

ดูๆไปแล้ว การสวมเสื้อสีอะไร ก็ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญอะไร
อยู่ที่ใจ การปฏิบัติตัวของเรา
ว่า ปฏิบัติ เหมือน คนสวมเสื้อสีอะไรมากกว่า
หรือ ปฏิบัติเหมือนคนที่ไม่ใช่ชาวฉือจี้เลย

ฆารวาสบางคน ใจท่านเป็น "พระใน เครื่องแบบ ฆารวาส"
และพระบางท่าน ใจท่านเป็น "ฆารวาส ในเครื่องแบบพระ"

พอนานๆเข้า สวมเสื้อสีอะไร ใส่เครื่องแบบอะไร
ชุดฉือจี้ หรือไม่ใช่ (สวมเครื่องแบบ อุบาสก หรือพระ หรือไม่ได้สวม)

เมื่อใจเราก็มี เหรินหวุน จนเป็นปกติ เป็นธรรมดาแล้ว
ถึงจะถือว่าสุดยอดของการปฏิบัติธรรม

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อคิดเรื่อง"ผู้หญิงกับพุทธฉือจี้"

สังคมจีน ในอดีต จะชอบมีลูกชายมาก การมีลูกผู้หญิง
บางครั้งก็ทำให้พ่อแม่ไม่ชอบ
เด็กหญิงอาจถึงตายตอนเกิดใหม่ๆได้ง่าย
พ่อแม่จะเลี้ยงลูกชายดีกว่าลูกหญิง

สังคมอินเดียก็แบบเดียวกัน อาจรุนแรงกว่า
เพราะเดี๋ยวนี้มี เครื่องอัลตร้าซาวด์ พอดูเพศรู้ว่าเป็นหญิงก็ทำแท้งกันมากมาย
จนรัฐสภาอินเดีย ออกกฎหมายว่า
หมอห้ามดูเพศเด็กในครรภ์ เห็นแล้วก็ห้ามบอกพ่อแม่
ถ้าละเมิดก็ติดคุกสถานเดียว
มีคดีตัวอย่างหมอติดคุกเรื่องนี้มาแล้ว

จุดเริ่มต้นของมูลนิธิพุทธฉือจี้ มาจากผู้หญิงท่านหนึ่งที่ไต้หวัน
คือท่านธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน
ท่านหาเลี้ยงชีพเองไม่บิณฑบาตร
เก็บหอมออมริบ
เริ่มจากท่านพาลูกศิษย์ที่เป็นแม่บ้าน 30 คน
ออกช่วยเหลือคน โดนเอาเงินจากการลดค่าอาหารทุกวัน
วันละ 1-2 เหรียญ
รวบรวมกันมาช่วยคนที่ยากไร้
ท่านเก็บภาพกิจกรรม เป็นหลักฐานไว้หมด
เมื่อข่าวนี้รู้กระจายไป
เป็นอะไรที่สะเทือนใจคนทั้งเกาะไต้หวัน
และสะเทือนมาถึงเมืองไทย
ผู้หญิง ตัวเล็กๆ ทำงานช่วยเหลือคนขนาดนี้
ใครเห็น ใครก็ต้องหลั่งน้ำตา
ถ้าไม่สามารถไปช่วยด้วยตนเอง ก็บริจาคเงินช่วย
กิจการของท่านขยายตัวจนเป็นมูลนิธิใหญ่โต
มีสมาชิกกว่า 6 ล้านคน
และอาสาสมัครหลายหมื่นคนกระจาย 60 กว่าประเทศทั่วโลก ภายในเวลา 40 กว่าปี

ท่านทำมา 10 กว่า ปี จึงค่อยรับผู้ชายมาทำงานเป็นอาสาสมัครด้วย

ทำไมผู้ชายจึงมาทำความดีทีหลัง

ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า

ผู้ชายจีนถือว่าตนเองเป็นผู้นำ
การมายอมรับ การนำของผู้หญิงก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย
ตอนนี้ก็ยอมรับแล้ว
จึงมีผู้ชายมาช่วยงานฉือจี้ มากขึ้น
แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้หญิงมาก

การนำ การคุมกำกับหน่วยงานสำคัญๆ ในมูลนิธิ
เป็นของผู้หญิงโดยสิ้นเชิง
ทั้งที่ไต้หวันและเมืองไทย
ตอนออกหน้าก็ให้ผู้ชายออกหน้า
ให้เกียรติหน่อย
จำนวนคน การขับเคลื่อนเป็นของผู้หญิงทั้งนั้น

อุบาสก อุบาสิกา ที่ไปวัดในเมืองไทย
ข้าพเจ้า ดูๆ ก็เป็นเพศหญิง กว่า 80%

กิจกรรม วัฒนธรรมองค์กร
โดยมากก็จะ ละเอียด อ่อนช้อย
มีชงน้ำชา ปักดอกไม้ รำภาษามือ
ฯลฯ
ถูกจริตผู้หญิงมาก

ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรเลยที่
มีผู้หญิงมาเข้าร่วมกิจกรรม อาสาสมัครฉือจี้มากมาย
ทั้งไต้หวัน เมืองไทย
เช่นเดียวกันกับที่โพธาราม

"เวลาทำงานจิตอาสา ทำไมต้องแต่งเครื่องแบบ อาสาสมัครฉือจี้ ไม่แต่งเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ รพ.โพธาราม?"

เป็นคำถามที่ ท่านอาจารย์จาก รพ.เด็ก
ถามข้าพเจ้า

ผมขออนุญาต แลกเปลี่ยน ข้อคิด ดังนี้

1.เวลาแต่งเครื่องแบบอะไร เมื่อปรากฎตัวต่อสาธารณชน
สาธารณชนก็ จะมีปฏิกิริยา เป็นชุดของ สิ่งที่เห็น
เช่น คน แต่งเครื่องแบบ พระสงฆ์ คนไทยเห็นส่วนใหญ่ ก็ให้ความเคารพ หลีกทางให้ ใจก็รู้สึก เคารพนับถือ ยกย่อง ใส่บาตร หรือบริจาคทาน
คนแต่งเครื่องแบบ ลูกเสือ เราก็มักให้เกียรติ เพราะลูกเสือมีเกียรติ เชื่อถือได้
คนแต่งเครื่องแบบตำรวจ หมอ ข้าราชการ ก็จะสะท้อนไปยัง จิตคนต่างๆกัน
เราเป็นเจ้าหน้าที่ รพ. ถ้า วันนี้พวกเราลาไปปฏิบัติธรรม อยู่วัด เราจะนุ่งขาวห่มขาวถือ จะถือศีล 8 ศีล 10 แล้วแต่ ใครที่เห็นภาพเรา ก็มองเราเป็นผู้มีศีล
ตัวเราเอง ก็ตั้งใจ ถือศีลปฏิบัติธรรมให้ใจบริสุทธิ คนที่รู้จักเรา ก็รู้อยู่แล้วว่าเราเป็น เจ้าหน้าที่ รพ.โพธาราม (หรือรพ.เด็ก) เขาชื่นชมเราที่เป็นเจ้าหน้าที่ รพ.(โพธาราม หรือ เด็ก) มาปฏิบัติธรรม

2.เวลาเรา แต่งเครื่องแบบ อส.ฉือจี้ กางเกงขาว รองเท้าขาว เสื้อน้ำเงิน เทียบได้กับ เราเข้าวัดปฏิบัติธรรม ถือศีล 10 ข้อ ตอนไปรับบริจาคเงิน เขาก็ทราบว่าเราเป็นเจ้าหน้าที่และ อส.รพ.โพธาราม กำลังมาทำความดี ต่อผู้อื่น อส.ฉือจี้ เป็นอาสาสมัครที่มีลักษณะ ที่ต้อง ถือศีล มีกิริยามารยาทดี ซือสัตย์ มีสัจจะ สมถะ ไม่กินเนื้อสัตว์ ฯลฯ
ภาพพจน์ อันนี้เป็น จุดที่ คณะกลุ่ม เน้นมาก ถ้ามีใครแต่งเครื่องแบบแล้วทำไม่ดี 1 คน ก็เน่าไปทั้งข้อง เครื่องแบบฉือจี้ ค่อนข้าง "ศักดิ์สิทธิ" จะแต่งแล้วเข้า อาบอบนวด ไม่ได้ จะไป อโคจรไม่ได้ทำแบบ วินัยพระ

3.พวกเรา ที่แต่งเครื่องแบบมารับชาว รพ.เด็ก มารำภาษามือให้ท่านชม พวกเราถือว่าเรามาปฏิบัติธรรม มาสร้างความดี ความงาม ความจริง ให้กับ เพื่อนชาว รพ.เด็ก ที่ได้มาเยี่ยม อส.ที่โพธาราม จะไปรำในงานแต่งงาน งานมหรสพ ไม่ได้ แต่งแล้วต้อง คิดดี พูดดี ทำดี มีวินัย สำรวมกายวาจาใจ อ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตอาสาให้บริการ (นานๆไป พวกเราก็จะกลายเป็นนิสัยปกติของเราเอง ใหม่ๆก็เคอะเขินมาก ทุกวันนี้ ข้าพเจ้าก็เปลี่ยนไปมาก เราต้องเป็นหนี้บุญคุณคนไข้ ไม่ใช่คนไข้มาติดหนี้บุญคุณเรา เพราะเขามาให้เรารักษา ทำให้เราได้บุญ) วันนี้เราก็ได้ ขัดเกลาจิตใจมากขึ้นอีก 1 หน่วย จากการให้บริการคนอื่นที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน

4.เครื่องแบบฉือจี้เป็นเครื่องแบบสากล คล้ายเครื่องแบบ จีวร ของพระสงฆ์ แต่พวกเราก็เป็นแค่อุบาสก อุบาสิกา การทำงาน ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ IT ครบถ้วน เพื่อการเผยแพร่ ความจริง ความดี ความงาม ของชาวฉือจี้ มีอส.ฉือจี้ กว่า 60 ประเทศ มีสมาชิกกว่า 6 ล้านคน ชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวอิสลาม ก็เป็น อส.ฉือจี้ได้ ศีล 10 ข้อเป็นพื้นฐานของทุกศาสนาอยู่แล้ว

5.เวลาที่พวกเราแต่งเครื่องแบบฉือจี้ เป็นช่วงเวลาที่พวกเรามีความสุข Endorphin หลั่ง เป็นเวลาที่ พวกเรากำลังไปสร้างความดี ให้สังคม และผู้อื่น สร้างบุญบารมี ให้กับตนเอง เช่น พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เราเป็นแค่พระโพธิสัตว์น้อยๆองค์หนึ่ง ถ้าพวกเรา รวมตัวกัน 500 คน เราก็จะมีมือรวมกันถึง 1000 มือ อาจมีพลังทำงานได้เท่า เจ้าแม่กวนอิมที่มีมือ 1000 มือ 1 องค์ได้(เป็นการเปรียบเทียบให้กำลังใจอาสาสมัคร) ตามเพลงที่พวกเรา รำภาษามือให้ท่านอาจารย์ชมในวันนี้

ก็เป็นการแลกเปลี่ยน ข้อคิด กับท่านอาจารย์
คิดว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
ก็ขออภัย เวลาน้อย ไม่สามารถ คุยแลกเปลี่ยนให้จบที่ รพ.โพธารามได้
ยินดี และขอบคุณที่ คณะ อจ.มาเยี่ยมพวกเรา
ให้พวกเราได้แต่งเครื่องแบบ เพิ่มอีก 1 วัน
(ทำความดีอีก 1 วัน)

สำนึกคุณ
เคารพรััก
--
นพ.สมบูรณ์ นันทานิช