เป็นข่าวกิจกรรมของกลุ่ม อาสาสมัครฉือจี้ เขตราชบุรี บันทึกความก้าวหน้า สื่อสาร เผยแพร่ ข่าวสารให้ผู้ที่สนใจ กิจกรรมจิตอาสาแนวพุทธฉือจี้ ทราบและมาร่วมงานกัน
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
上人 ซ่างเหริน
"上人 ซ่างเหริน"
เป็นคำเรียก ภาษาจีนกลาง ท่านธรรมมาจารย์ ของชาวฉือจี้
เวลา พูดคุยกันเองในหมู่ชาวฉือจี้
เช่นจะบอกว่า "ได้ฟังธรรมของท่านซ่างเหริน เมื่อเช้าวันนี้ ท่านกล่าวว่า..."
ในประเทศไทย
อาจารย์ สุชน แซ่เฮง เมื่อท่านบรรยาย ให้คนทั่วไปฟัง
ท่านจะเรียกท่านเป็นภาษาไทยว่า "ท่านธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน ได้กล่าวว่า...."
ตอนที่ไปดูงานที่ไต้หวัน
คนที่พาชม บรรยาย เวลาพูดถึงท่าน เจิ้งเอี๋ยน
ท่านพูดภาษาอังกฤษกับผม เพราะทราบว่าผมฟังภาษาจีนไม่ออก
เวลาที่พูดถึงท่านธรรมมาจารย์
ก็จะพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า
"Master Cheng Yen"
ในหนังสือแปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่มูลนิธิฉือจี้ที่ไต้หวันพิมพ์ใช้คำเต็มเรียกท่านว่า
"Venerable Master Cheng Yen"
หรือ
"Dharma Master Cheng Yen"
(Venerable (เวน’เนอระเบิล) adj. น่าเคารพ,นับถือ (เพราะอาวุโส) ,น่าเคารพนับถือ,น่านับถือ.
บางคน แปลเป็น หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หรือพระคุณเจ้า
เนื่องจาก ในประเทศไทยไม่มี ภิกษุณี
ถ้ามี ก็อาจเรียกเป็น หลวงยาย หลวงย่า หลวงแม่
นักบวชทางศาสนาคริสต์ ก็เป็น Venerable Father)
"Dharma Master" น่าเป็นคำที่เรียก โดยมีรากศัพท์ จากภาษาจีน
แปลเป็นไทยก็ตรงๆว่า ธรรมมาจารย์
คนไทยไปดูงานที่ไต้หวัน มากมายหลายพันคน
เมื่อกลับมา ก็จะเรียกท่าน ต่างๆกัน
บางท่านเรียก แม่ชี เจิ้นเอี๋ยน
บางท่านเรียก ธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน
บางท่านเรียก พระภิกษุณีเจิ้นเอี๋ยน
ลักษณะพิเศษ ของศาสนาพุทธ ที่ทำให้สตรีทั่วโลก สะเทือนใจ ซาบซึ้งใจก็คือ
น้ำพระทัยของพระพุทธเจ้าและ พระอานนท์ โดย
พระพุทธองค์ ตรัสว่า แม้สตรีก็สามารถ
บรรลุคุณวิเศษทางศาสนาพุทธ คือเป็นพระอรหันต์ ถึงนิพพาน
ได้เท่าเทียมกับบุรุษเพศ
พระอานนท์ เป็นผู้ทูลขอให้พระองค์บวชให้พระน้านางของพระองค์
คือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
สตรีองค์อื่นๆก็ได้บวชตามกันมา
เรื่องนี้เกิดเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว
ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้ใน สังคมสมัยนั้น
(ไม่มีศาสนาใดในโลก ที่ให้สิทธิสตรี มากเท่าศาสนาพุทธ
นักบวชในศาสนาอื่นๆ มีให้เฉพาะชายเท่านั้น
ผู้หญิงจะเข้าถึงธรรมของ ศาสดาได้ ต้องผ่านนักบวชที่เป็นชายก่อนเสมอ)
ในประเทศไต้หวันมี
พุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)ครบ
ในประเทศไทยปัจจุบัน มีแค่ พุทธบริษัท ๓ เท่านั้น ขาดภิกษุณี
มีกระแสเคลื่อนไหวให้มีในไทย
แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ เนื่องจาก
การบวชในไทย ไม่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามพระธรรมวินัย
(คือต้องบวชโดยภิกษุณีสงฆ์ และ ภิกษุสงฆ์สองฝ่ายจึงจะครบถ้วน
ในเมื่อ ในไทยไม่มีภิกษุณีสงฆ์ ก็ไม่สามารถบวชภิกษุณีได้)
ทราบว่า ที่นครปฐม มีสำนักภิกษุณี อยู่แต่ท่านไปบวช
ที่ต่างประเทศ
ภิกษุณีจึงมีเฉพาะศาสนาพุทธเท่านั้น
ในสายมหายาน ยังมีภิกษุณี สืบทอดจนถึงปัจจุบัน
ภาษาไทย ถ้าจะเรียกท่านแบบไทย ก็น่าจะเรียกว่า
พระภิกษุณี เจิ้นเอี๋ยน
พระอาจารย์ เจิ้นเอี๋ยน
พระเจิ้นเอี๋ยนมหาเถรี
คุณพิพัฒน์ แปลคำ 上人 ว่า
"เหนือคน หรือ ผู้ที่สูงส่งกว่าคนทั่วไป
เป็นตำแหน่งทางพระของมหายานระดับขั้นต่ำสุด(แต่สูงสุดที่ภิกษุณีจะพึงได้รับ)
แต่ก็ใช้ทั่วไปว่าผู้สูงส่งได้เหมือนกัน"
上人
ซ่างเหริน เป็นคำเฉพาะ ใช้เรียกท่านธรรมมาจารย์ เฉพาะในหมู่ลูกศิษย์เท่านั้น
บางคน อาจพูดว่า ไม่ใช่ลูกศิษย์ห้ามเรียก
แต่เรื่องแบบนี้ จะไปออก กฎเกณฑ์ ให้คนอื่นๆได้อย่างไร ก็แล้วแต่เขาเรียกกัน
ในกลุ่ม สันติอโศก จะเรียนท่านโพธิรักษ์ ว่า "พ่อท่าน"
คำนี้เป็นคำที่เรียกกันเอง ในหมู่ลูกศิษย์ ท่านโพธิรักษ์
คนอื่นๆ ก็มักไม่เรียกกัน แต่จะเรียกก็ไม่เห็นมีใครว่า
ไม่น่าผิดอะไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น