การอบรม อาสาสมัครฉือจี้ ไทยรุ่นที่ 5
ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
ระหว่างวันที่ 22 ถึง 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
มูลนิธิพุทธฉือจี้ ในประเทศไทย
ได้จัด การอบรมอาสาสมัครฉือจี้ใหม่
อย่างเป็นทางการมาแล้ว 4 รุ่น
รุ่นที่ 1 ร่วมกับ รพ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี
ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อเดือน ธันวาคม 2551
รุ่นที่ 2 ร่วมกับ รพ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี
ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อเดือน 2552
รุ่นที่ 3 ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่ คณะแพทย์ศาสตร์ มอ.อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ.2553
รุ่นที่ 4 ร่วมกับ รพ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี
ที่สวนส้มทิพย์รีสอร์ท อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี พ.ศ.2553
เป็นข่าวกิจกรรมของกลุ่ม อาสาสมัครฉือจี้ เขตราชบุรี บันทึกความก้าวหน้า สื่อสาร เผยแพร่ ข่าวสารให้ผู้ที่สนใจ กิจกรรมจิตอาสาแนวพุทธฉือจี้ ทราบและมาร่วมงานกัน
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554
ปณิธาน ของ กลุ่ม สสจรบ และกลุ่ม วพรบ
อาจารย์พิศมัย อนัญจวณิชย์
อาจารย์บุญทิพย์ ลิขิตพงษ์วิทย์
อาจารย์ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง
อาจารย์ นัทธมน ยิ้มแย้ม
อาจารย์บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์
กล่าวแถลงในที่ประชุมอาสาสมัครฉือจี้ ที่
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔
วันนี้วันดีเป็นศรีวัน
เปลี่ยนผันเวียนมาสพราศรี
เป็นวันที่พวกเราชาวฉือจี้มาร่วมใจ
ร่วมอวยชัยต่างยินดีโดยทั่วกัน
วันอบรมวันแรกแปลกแปลกนัก
พอมาสักวันที่สองและที่สาม
เข้าใจปัญหาปัญญาญาณ
ใจสมานเปลี่ยนความคิดเห็นความจริง
มาฉือจี้ได้อะไรแปลกใจนัก
ค่อยค่อยจักจับต้องมองเห็นได้
เป็นรูปธรรมที่พิเศษเห็นเกินใคร
เราเข้าใจจึงร่วมใจทำกล่องบุญ
บุญกุศลที่พวกเราทำได้นำส่ง
เปลี่ยนจากคนเป็นโพธิสัตย์ที่แปลงร่าง
ส่งความรักสร้างความดีมีความงาม
ชนทุกคามทั่วทุกแคว้นล้วนชื่นชม
จะพากเพียรสร้างความดีให้ต่อเนื่อง
ทำเนืองเนืองติดต่อกันไม่หวั่นไหว
ช่วยเหลือครอบครัวเดียวกันให้ทั่วไทย
ขอฝากไว้ต้องสำนึกบุญคุณแผ่นดิน
สิ่งแรกที่จะทำสำรวจจิต
จะนิ่งคิดพิชิตใจให้เฉลย
ชีวิตชอบทำอะไรที่เคยเคย
กระไรเลยทำชีวิตจิตอาสาให้รุ่งเรือง
สิ่งที่สองจะร่วมมือร่วมใจกันประสาน
นำชีวิตคนไทยให้เบิกบาน
ช่วยชาวบ้านบรรเทาทุกข์เป็นสุขเอย
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
上人 ซ่างเหริน
"上人 ซ่างเหริน"
เป็นคำเรียก ภาษาจีนกลาง ท่านธรรมมาจารย์ ของชาวฉือจี้
เวลา พูดคุยกันเองในหมู่ชาวฉือจี้
เช่นจะบอกว่า "ได้ฟังธรรมของท่านซ่างเหริน เมื่อเช้าวันนี้ ท่านกล่าวว่า..."
ในประเทศไทย
อาจารย์ สุชน แซ่เฮง เมื่อท่านบรรยาย ให้คนทั่วไปฟัง
ท่านจะเรียกท่านเป็นภาษาไทยว่า "ท่านธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน ได้กล่าวว่า...."
ตอนที่ไปดูงานที่ไต้หวัน
คนที่พาชม บรรยาย เวลาพูดถึงท่าน เจิ้งเอี๋ยน
ท่านพูดภาษาอังกฤษกับผม เพราะทราบว่าผมฟังภาษาจีนไม่ออก
เวลาที่พูดถึงท่านธรรมมาจารย์
ก็จะพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า
"Master Cheng Yen"
ในหนังสือแปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่มูลนิธิฉือจี้ที่ไต้หวันพิมพ์ใช้คำเต็มเรียกท่านว่า
"Venerable Master Cheng Yen"
หรือ
"Dharma Master Cheng Yen"
(Venerable (เวน’เนอระเบิล) adj. น่าเคารพ,นับถือ (เพราะอาวุโส) ,น่าเคารพนับถือ,น่านับถือ.
บางคน แปลเป็น หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ หรือพระคุณเจ้า
เนื่องจาก ในประเทศไทยไม่มี ภิกษุณี
ถ้ามี ก็อาจเรียกเป็น หลวงยาย หลวงย่า หลวงแม่
นักบวชทางศาสนาคริสต์ ก็เป็น Venerable Father)
"Dharma Master" น่าเป็นคำที่เรียก โดยมีรากศัพท์ จากภาษาจีน
แปลเป็นไทยก็ตรงๆว่า ธรรมมาจารย์
คนไทยไปดูงานที่ไต้หวัน มากมายหลายพันคน
เมื่อกลับมา ก็จะเรียกท่าน ต่างๆกัน
บางท่านเรียก แม่ชี เจิ้นเอี๋ยน
บางท่านเรียก ธรรมมาจารย์เจิ้นเอี๋ยน
บางท่านเรียก พระภิกษุณีเจิ้นเอี๋ยน
ลักษณะพิเศษ ของศาสนาพุทธ ที่ทำให้สตรีทั่วโลก สะเทือนใจ ซาบซึ้งใจก็คือ
น้ำพระทัยของพระพุทธเจ้าและ พระอานนท์ โดย
พระพุทธองค์ ตรัสว่า แม้สตรีก็สามารถ
บรรลุคุณวิเศษทางศาสนาพุทธ คือเป็นพระอรหันต์ ถึงนิพพาน
ได้เท่าเทียมกับบุรุษเพศ
พระอานนท์ เป็นผู้ทูลขอให้พระองค์บวชให้พระน้านางของพระองค์
คือ พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
สตรีองค์อื่นๆก็ได้บวชตามกันมา
เรื่องนี้เกิดเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว
ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้ใน สังคมสมัยนั้น
(ไม่มีศาสนาใดในโลก ที่ให้สิทธิสตรี มากเท่าศาสนาพุทธ
นักบวชในศาสนาอื่นๆ มีให้เฉพาะชายเท่านั้น
ผู้หญิงจะเข้าถึงธรรมของ ศาสดาได้ ต้องผ่านนักบวชที่เป็นชายก่อนเสมอ)
ในประเทศไต้หวันมี
พุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา)ครบ
ในประเทศไทยปัจจุบัน มีแค่ พุทธบริษัท ๓ เท่านั้น ขาดภิกษุณี
มีกระแสเคลื่อนไหวให้มีในไทย
แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ เนื่องจาก
การบวชในไทย ไม่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามพระธรรมวินัย
(คือต้องบวชโดยภิกษุณีสงฆ์ และ ภิกษุสงฆ์สองฝ่ายจึงจะครบถ้วน
ในเมื่อ ในไทยไม่มีภิกษุณีสงฆ์ ก็ไม่สามารถบวชภิกษุณีได้)
ทราบว่า ที่นครปฐม มีสำนักภิกษุณี อยู่แต่ท่านไปบวช
ที่ต่างประเทศ
ภิกษุณีจึงมีเฉพาะศาสนาพุทธเท่านั้น
ในสายมหายาน ยังมีภิกษุณี สืบทอดจนถึงปัจจุบัน
ภาษาไทย ถ้าจะเรียกท่านแบบไทย ก็น่าจะเรียกว่า
พระภิกษุณี เจิ้นเอี๋ยน
พระอาจารย์ เจิ้นเอี๋ยน
พระเจิ้นเอี๋ยนมหาเถรี
คุณพิพัฒน์ แปลคำ 上人 ว่า
"เหนือคน หรือ ผู้ที่สูงส่งกว่าคนทั่วไป
เป็นตำแหน่งทางพระของมหายานระดับขั้นต่ำสุด(แต่สูงสุดที่ภิกษุณีจะพึงได้รับ)
แต่ก็ใช้ทั่วไปว่าผู้สูงส่งได้เหมือนกัน"
上人
ซ่างเหริน เป็นคำเฉพาะ ใช้เรียกท่านธรรมมาจารย์ เฉพาะในหมู่ลูกศิษย์เท่านั้น
บางคน อาจพูดว่า ไม่ใช่ลูกศิษย์ห้ามเรียก
แต่เรื่องแบบนี้ จะไปออก กฎเกณฑ์ ให้คนอื่นๆได้อย่างไร ก็แล้วแต่เขาเรียกกัน
ในกลุ่ม สันติอโศก จะเรียนท่านโพธิรักษ์ ว่า "พ่อท่าน"
คำนี้เป็นคำที่เรียกกันเอง ในหมู่ลูกศิษย์ ท่านโพธิรักษ์
คนอื่นๆ ก็มักไม่เรียกกัน แต่จะเรียกก็ไม่เห็นมีใครว่า
ไม่น่าผิดอะไร
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554
人文 เหริน หวุน ทางเดินของชาวฉือจี้ Tzuchi's Pathway
人文 เหริน หวุน
แปลว่า Humanity มนุษยธรรม หรือ จริยธรรมของความเป็นมนุษย์
คำแปลดังกล่าว
อจ.สุชน แซ่เฮง บอกว่า
ก็ยังไม่ตรงความหมายของมัน และ เป็นคำจีนที่ หาคำแปลเป็นไทย หรือเป็น อังกฤษ ยังไม่ได้
ข้าพเจ้าเลย ไม่รู้จะว่าอย่างไร เพราะข้าพเจ้า ไม่ได้เก่งภาษาจีน
แต่เอามาเขียนเป็นเรื่อง เพราะเป็น "สิ่งที่เป็นหัวใจของ ชาวฉือจี้มากๆ"
ถ้าท่านมาทำงานฉือจี้
จะมีคนประเมินท่านว่า
ท่านมี 人文 เหริน หวุน
แล้วหรือยัง?
คำตอบอาจเป็น
"มี 人文 เหริน หวุน บ้างแล้ว"
"ไม่มี 人文 เหริน หวุน เลยสักนิดเดียว"
"มี 人文 เหริน หวุน แล้ว"
ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถให้การรับรองใครว่า
เขามี 人文 เหริน หวุน หรือไม่
ค่อนข้างจะเป็น นามธรรมเอามากๆ
ที่เขียนตรงนี้ ก็เป็นเพียงแค่
"ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า"
ที่เพิ่งเข้ามาเป็นชาวฉือจี้ เท่านั้น
(ชาวฉือจี้ ในที่นี้เขาหมายถึงกรรมการฉือจี้)
ชาวฉือจี้ที่ไม่มี 人文 เหริน หวุน
ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ
เปรียบเทียบคล้ายเป็น "พระใบลานเปล่า"
นั่นคือต้องผ่านการชำระจิตใจ
มาระดับหนึ่ง มากน้อยแล้วแต่ว่า เขามี 人文 เหริน หวุน มากน้อยแค่ไหน
โอ้โห ยากขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งแล้ว
เพราะเมื่อเป็นชาวฉือจี้แล้ว ก็ไม่หยุดแค่นี้
ต้องมาฝึกชำระจิตใจกัน
เพื่อเพิ่ม 人文 เหริน หวุน ในใจของเราให้ละเอียดมากขึ้น มากขึ้น
จะต้องไปฝึกที่ไหนกันล่ะ
สำนักในไทยมีหรือไม่
ต้องไปฝึกที่สมณารามที่เมือง ฮัวเหลียงหรือเปล่า?
เอ หรือว่า ให้แปลง โรงพยาบาลเป็นสถานธรรม
ตามวาทะธรรมที่ท่านธรรมมาจารย์สอนไว้
ตอนนี้ข้าพเจ้า ก็รู้สึกว่า
สภาวะจิตเรา ก็ละเอียดขึ้นบ้างกว่าเดิม
แต่รู้สึกยังห่างไกลจาก
อจ.สุชน แซ่เฮง
อจ.เมตตา แซ่ชิว มาก
ตอนไป เข้าพิธี โซ่วเจิ้ง
เหล่าอาสาสมัครทั้งหลาย
จะได้รับคำสอนจากพระภิกษุณีหลายท่าน หลายโอกาส
แน่นอน มีท่านธรรมมาจารย์ เป็นประธาน
มีการสอน หลักธรรมขั้นสูงขึ้น
(และแน่นอน ข้าพเจ้าฟังภาษาจีนไม่เข้าใจ)
อะไรคือ
"จิตพุทธะ ปณิธานธรรมมาจารย์"
เป็นคำพูดที่ลึกซึ้ง เข้าใจยาก
และ จิตของเรา จะเป็นแบบนั้น
ได้อย่างไร?
ข้าพเจ้าว่า อันนี้
เป็น ทางเดินของชาวฉือจี้ Tzuchi's Pathway
เป็นการบ้าน ที่ต้องมาศึกษา
ฝึกตนอีก ไม่ใช่น้อยๆ
คอร์สอบรมที่เมืองไทยตอนนี้
มีแค่อบรม อาสาสมัครใหม่
อบรมอาสาสมัครเก่าเพื่อเป็นกรรมการฉือจี้
คงจะต้องเพิ่ม
เป็นการอบรม ชาวฉือจี้ ให้เข้าใจ 人文 เหริน หวุน
ให้เข้าใจ
"จิตพุทธะ ปณิธานธรรมมาจารย์"
----------------------------------------
แปลว่า Humanity มนุษยธรรม หรือ จริยธรรมของความเป็นมนุษย์
คำแปลดังกล่าว
อจ.สุชน แซ่เฮง บอกว่า
ก็ยังไม่ตรงความหมายของมัน และ เป็นคำจีนที่ หาคำแปลเป็นไทย หรือเป็น อังกฤษ ยังไม่ได้
ข้าพเจ้าเลย ไม่รู้จะว่าอย่างไร เพราะข้าพเจ้า ไม่ได้เก่งภาษาจีน
แต่เอามาเขียนเป็นเรื่อง เพราะเป็น "สิ่งที่เป็นหัวใจของ ชาวฉือจี้มากๆ"
ถ้าท่านมาทำงานฉือจี้
จะมีคนประเมินท่านว่า
ท่านมี 人文 เหริน หวุน
แล้วหรือยัง?
คำตอบอาจเป็น
"มี 人文 เหริน หวุน บ้างแล้ว"
"ไม่มี 人文 เหริน หวุน เลยสักนิดเดียว"
"มี 人文 เหริน หวุน แล้ว"
ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถให้การรับรองใครว่า
เขามี 人文 เหริน หวุน หรือไม่
ค่อนข้างจะเป็น นามธรรมเอามากๆ
ที่เขียนตรงนี้ ก็เป็นเพียงแค่
"ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า"
ที่เพิ่งเข้ามาเป็นชาวฉือจี้ เท่านั้น
(ชาวฉือจี้ ในที่นี้เขาหมายถึงกรรมการฉือจี้)
ชาวฉือจี้ที่ไม่มี 人文 เหริน หวุน
ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ
เปรียบเทียบคล้ายเป็น "พระใบลานเปล่า"
นั่นคือต้องผ่านการชำระจิตใจ
มาระดับหนึ่ง มากน้อยแล้วแต่ว่า เขามี 人文 เหริน หวุน มากน้อยแค่ไหน
โอ้โห ยากขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งแล้ว
เพราะเมื่อเป็นชาวฉือจี้แล้ว ก็ไม่หยุดแค่นี้
ต้องมาฝึกชำระจิตใจกัน
เพื่อเพิ่ม 人文 เหริน หวุน ในใจของเราให้ละเอียดมากขึ้น มากขึ้น
จะต้องไปฝึกที่ไหนกันล่ะ
สำนักในไทยมีหรือไม่
ต้องไปฝึกที่สมณารามที่เมือง ฮัวเหลียงหรือเปล่า?
เอ หรือว่า ให้แปลง โรงพยาบาลเป็นสถานธรรม
ตามวาทะธรรมที่ท่านธรรมมาจารย์สอนไว้
ตอนนี้ข้าพเจ้า ก็รู้สึกว่า
สภาวะจิตเรา ก็ละเอียดขึ้นบ้างกว่าเดิม
แต่รู้สึกยังห่างไกลจาก
อจ.สุชน แซ่เฮง
อจ.เมตตา แซ่ชิว มาก
ตอนไป เข้าพิธี โซ่วเจิ้ง
เหล่าอาสาสมัครทั้งหลาย
จะได้รับคำสอนจากพระภิกษุณีหลายท่าน หลายโอกาส
แน่นอน มีท่านธรรมมาจารย์ เป็นประธาน
มีการสอน หลักธรรมขั้นสูงขึ้น
(และแน่นอน ข้าพเจ้าฟังภาษาจีนไม่เข้าใจ)
อะไรคือ
"จิตพุทธะ ปณิธานธรรมมาจารย์"
เป็นคำพูดที่ลึกซึ้ง เข้าใจยาก
และ จิตของเรา จะเป็นแบบนั้น
ได้อย่างไร?
ข้าพเจ้าว่า อันนี้
เป็น ทางเดินของชาวฉือจี้ Tzuchi's Pathway
เป็นการบ้าน ที่ต้องมาศึกษา
ฝึกตนอีก ไม่ใช่น้อยๆ
คอร์สอบรมที่เมืองไทยตอนนี้
มีแค่อบรม อาสาสมัครใหม่
อบรมอาสาสมัครเก่าเพื่อเป็นกรรมการฉือจี้
คงจะต้องเพิ่ม
เป็นการอบรม ชาวฉือจี้ ให้เข้าใจ 人文 เหริน หวุน
ให้เข้าใจ
"จิตพุทธะ ปณิธานธรรมมาจารย์"
----------------------------------------
พระใบลานเปล่า
ในพระอรรถกถา กล่าวว่า
ในสมัยพุทธกาล
มีพระองค์หนึ่งชื่อ พระโปทิละ
โปทิละ ไม่น่าจะเป็นชื่อจริง
น่าจะเป็นฉายาใหม่ที่พระพุทธองค์ทรงเรียกขึ้น
ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ แก่พระลูกศิษย์
เพราะคำว่่า โปทิละ แปลว่า ใบลานเปล่า
หมายถึงคัมภีร์ ที่ปราศจากตัวอักษร
เปรียบเหมือน จิตที่ปราศจากธรรม
เป็นคำตำหนิ
ท่านพระเถระเป็นผู้ที่แตกฉานในธรรมวินัยมาก
รู้แต่ปริยัติธรรมเท่านั้น
ท่านมีลูกศิษย์มากมาย
ท่านได้แต่สอนปริยัติธรรม
แต่ไม่เคยปฏิบัติธรรม ให้บรรลุเห็นแจ้งตามที่พระพุทธองค์สอน
เวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็จะเรียกท่านว่า
“โปทิละ”
“โปทิละ”
เพื่อเป็นการ กระตุ้นท่าน
ว่าท่านนั้น เป็นเพียงแค่ผู้มีความทรงจำธรรมมะได้ เท่านั้น
แต่ใจยังไม่มีธรรมนั้น
ท่านก็ทราบว่า ถูกพระพุทธเจ้า ตำหนิ
ต่อมา ท่านก็รู้สึกอาย
ท่านก็กราบทูลลาไปปฏิบัติธรรม
ท่านไปสำนักของพระอรหันต์ ที่เถระผู้ใหญ่หลายรูป
ก็ไม่มีใครยอมรับท่านเป็นลูกศิษย์
ท่านถูกทรมาน
จนท่านต้องยอมลดทิฐิมานะ
ไปกราบสามเณรน้อย ที่เป็นพระอรหันต์
ขอเป็นลูกศิษย์
ขอเรียนกรรมฐาน
สามเณรยอมรับแบบมีเงื่อนไขว่า
ท่านต้องทำตามสั่งทุกประการ
ท่านก็ยอมรับเงื่อนไข
พลัน
สามเณรอรหันต์ ก็แกล้งท่าน โดยให้ท่านลุยสระน้ำ
เพื่อให้จีวรราคาแพงของท่านเปียกสกปรก
ท่านก็ลงลุยน้ำอย่างไม่ลังเล
พอชายจีวร สัมผัสน้ำ
สามเณรอาจารย์ ก็สั่งให้ท่านหยุด
สั่งให้ท่านขึ้นจากน้ำมาฟังคำสอนของท่าน
สามเณรกล่าวว่า
"ท่านผู้เจริญ
ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง
มีช่องอยู่ ๖ ช่อง
มีเหี้ยเข้าไปอยู่ภายใน
บุคคลผู้ประสงค์จะจับมัน
พึงอุดช่องทั้ง ๕
ทำลายช่องที่ ๖
แล้วจึงจับเอา
แม้ท่านก็จงปิดทวารทั้ง๕
จงเริ่มตั้งกรรมฐานไว้ใน มโนทวาร"
กล่าวเพียงเท่านี้
ท่านโปทิละก็เข้าใจแจ่มแจ้ง
ออกฝึกปฏิบัติ ไม่นาน
หลังจากได้รับคำชี้แนะจากพระพุทธองค์อีกครั้ง
ท่านพระโปทิละ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงปัญญาเป็นเลิศ
ในพระพุทธศาสนาอีกองค์หนึ่ง
(ถอดจาก หนังสือเรื่อง "ประทีปส่องธรรม" โดยท่านพระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช)
ในสมัยพุทธกาล
มีพระองค์หนึ่งชื่อ พระโปทิละ
โปทิละ ไม่น่าจะเป็นชื่อจริง
น่าจะเป็นฉายาใหม่ที่พระพุทธองค์ทรงเรียกขึ้น
ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ แก่พระลูกศิษย์
เพราะคำว่่า โปทิละ แปลว่า ใบลานเปล่า
หมายถึงคัมภีร์ ที่ปราศจากตัวอักษร
เปรียบเหมือน จิตที่ปราศจากธรรม
เป็นคำตำหนิ
ท่านพระเถระเป็นผู้ที่แตกฉานในธรรมวินัยมาก
รู้แต่ปริยัติธรรมเท่านั้น
ท่านมีลูกศิษย์มากมาย
ท่านได้แต่สอนปริยัติธรรม
แต่ไม่เคยปฏิบัติธรรม ให้บรรลุเห็นแจ้งตามที่พระพุทธองค์สอน
เวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็จะเรียกท่านว่า
“โปทิละ”
“โปทิละ”
เพื่อเป็นการ กระตุ้นท่าน
ว่าท่านนั้น เป็นเพียงแค่ผู้มีความทรงจำธรรมมะได้ เท่านั้น
แต่ใจยังไม่มีธรรมนั้น
ท่านก็ทราบว่า ถูกพระพุทธเจ้า ตำหนิ
ต่อมา ท่านก็รู้สึกอาย
ท่านก็กราบทูลลาไปปฏิบัติธรรม
ท่านไปสำนักของพระอรหันต์ ที่เถระผู้ใหญ่หลายรูป
ก็ไม่มีใครยอมรับท่านเป็นลูกศิษย์
ท่านถูกทรมาน
จนท่านต้องยอมลดทิฐิมานะ
ไปกราบสามเณรน้อย ที่เป็นพระอรหันต์
ขอเป็นลูกศิษย์
ขอเรียนกรรมฐาน
สามเณรยอมรับแบบมีเงื่อนไขว่า
ท่านต้องทำตามสั่งทุกประการ
ท่านก็ยอมรับเงื่อนไข
พลัน
สามเณรอรหันต์ ก็แกล้งท่าน โดยให้ท่านลุยสระน้ำ
เพื่อให้จีวรราคาแพงของท่านเปียกสกปรก
ท่านก็ลงลุยน้ำอย่างไม่ลังเล
พอชายจีวร สัมผัสน้ำ
สามเณรอาจารย์ ก็สั่งให้ท่านหยุด
สั่งให้ท่านขึ้นจากน้ำมาฟังคำสอนของท่าน
สามเณรกล่าวว่า
"ท่านผู้เจริญ
ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง
มีช่องอยู่ ๖ ช่อง
มีเหี้ยเข้าไปอยู่ภายใน
บุคคลผู้ประสงค์จะจับมัน
พึงอุดช่องทั้ง ๕
ทำลายช่องที่ ๖
แล้วจึงจับเอา
แม้ท่านก็จงปิดทวารทั้ง๕
จงเริ่มตั้งกรรมฐานไว้ใน มโนทวาร"
กล่าวเพียงเท่านี้
ท่านโปทิละก็เข้าใจแจ่มแจ้ง
ออกฝึกปฏิบัติ ไม่นาน
หลังจากได้รับคำชี้แนะจากพระพุทธองค์อีกครั้ง
ท่านพระโปทิละ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงปัญญาเป็นเลิศ
ในพระพุทธศาสนาอีกองค์หนึ่ง
(ถอดจาก หนังสือเรื่อง "ประทีปส่องธรรม" โดยท่านพระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช)
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554
กรรมการฉือจี้ใหม่ของ โพธาราม ราชบุรี ปี พ.ศ.2553
ปีนี้ 2553 มีกรรมการใหม่ ของ โพธาราม ราชบุรีไปเข้าพิธี โซ่วเจิ้ง ที่ไต้หวัน
เมื่อ 3-11 ธันวาคม พ.ศ.2553 จำนวน 5 คน ดังนี้
๑.นายแพทย์สมบูรณ์ นันทานิช รอง ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์
๒.นายชาญเดช สหสัจจญาณ พนักงานขับรถยนต์ รพ.โพธาราม
๓.นางสาวสุพัตรา แตงฮ้อ พยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัด
๔.นางสาวสายหยุด เล่นวารี พยาบาลวิชาชีพ ตึกสงฆ์
๕.นางสาวสำเนียง เภาประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพ ข้าราชการบำนาญ
ทั้ง 5 ท่าน ได้ผ่านงานเป็นอาสาสมัครฉือจี้ระดับฝึกงานฝึกงาน(เสื้อเทา กางเกงขาว)
ที่โรงพยาบาลโพธารามมา
อย่างต่อเนื่อง ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 2 ปี
และผ่านการประเมิน ทางด้านจิตใจ (จิตอาสา หรือ เหยินหวุน)
จาก พี่เลียงที่เป็นกรรมการ("แม่ไก่")
และผ่านการอนุมัติ จาก คณะกรรมการฉือจี้ สาขาประเทศไทย
และคณะกรรมการ ฉือจี้ ที่สำนักงานใหญ่ ที่ประเทศไต้หวัน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเสื้อผ้า เครื่องแบบ ทุกๆท่านต้องออกเงินเอง
ค่าที่พัก ค่าอาหาร ฟรี
ค่าไปทัวร์รอบๆเกาะไต้หวัน
ก็เป็นความกรุณา ความรัก ที่ บรรดา แม่ไก่ และคนไต้หวันที่รักคนไทย
เคยมาเมืองไทย ได้ลงขันกันเป็น Sponsor ให้
วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554
เครื่องแบบ กรรมการฉือจี้
เครื่องแบบกรรมการฉือจี้
องค์กรฉือจี้มีหลักนียมเรื่องเครื่องแบบชัดเจน และเข้มงวด
เขาถือว่าเป็น มารยาทสำคัญ อย่างหนึ่ง
เช่น การปรากฎตัวไปพบคนอื่นภายนอก การแต่งตัวเป็นภาษากาย
จะบ่งบอกถึงว่า เราให้เกียรติคนอื่นมากขนาดไหน
ยังแสดงออกถึง การสำนึกคุณ
และในขณะเดียว คนภายนอกที่มองมา ก็จะประทับใจกับความงามของชาวฉือจี้
ดังประโยคที่ว่า
"บนเส้นทางของชาวฉือจี้
มีความดี
มีความงาม
มีความจริง
มีความรัก"
เวลาชาวฉือจี้จะออกไปทำความดี
จะต้องมีการวางแผนว่า จะทำอะไร เป้าหมายคือใคร
ใครไปด้วย ต้องชวนใครไปบ้าง
และ ชายต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบอะไร
หญิงต้องแต่งอย่างไร
แม่ไก่ ต้องดูแล เรื่องพื้นฐาน คือเรื่องการแต่งกายนี้
ให้เรียบร้อย ถูกระเบียบเป๊ะ
ใครผิดระเบียบ โอ้โห เป็นเรื่อง เป็นราว ต้องแก้ไข
ถูกเพ่งเล็ง
ชุดปฏิบัติการ ออกสนาม ชาย และหญิงเหมือนกันคือ
กางเกงสีขาว รองเท้าขาว ถุงเท้าขาว
คาดเข็มขัด หัวเข็มขัด มีตราฉือจี้
เสื้อสีน้ำเงินเข้ม มีได้ทั้งแบบแขนสั้น และแบบแขนยาว
มีกระเป๋าที่อกด้านซ้าย เหนือกระเป๋ามีตราฉือจี้ ปักสีขาว
ชุดกรรมการชาย
ใส่ในพิธีในอาคาร หรือพิธีกลางแจ้ง
กางเกงขายาวสีน้ำเงินเข้ม
รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าดำ
คาดเข็มขัด หัวเข็มขัด มีตราฉือจี้
เสื้อเชิ้ต แขนยาวสีฟ้า
ผูกเนกไท้ ฉือจี้
พิธีการมากๆ รับแขกอาวุโส
ให้สวมสูท กลัดกระดุมทุกเม็ด
(ข้าพเจ้า เคยเข้ารับอบรมผู้บริหาร เขาสอนว่า
ให้สวมสูท กลัดกระดุมเม็ดบนสุดเม็ดเดียวเท่านั้น
ถ้ากลัดทุกเม็ดก็เป็นบ๋อย ฉือจี้ อาจให้แสดงถึงว่าเป็นผู้มีจิตอาสา จิตให้บริการ จึงให้กลัดทุกเม็ด)
ในพิธีมากๆ ต้องติดบัตรประจำตัวที่ได้รับจากท่านธรรมมาจารย์ด้วย
ตอนเข้าพิธี ข้าพเจ้าต้องติดดอกไม้ด้วยตามรูบ
ส่วนผู้หญิงก็ มีชุดพิธี ลำบากมากกว่าชายอีกมากโข
ชุดพิธี สูงสุดของผู้หญิงคือชุดกี่เพ้า
มีแถบสีแดงเข้มเส้นเล็ก
มีเข็มกลัดทองรูป โลโก้ฉือจี้ (ราคาไม่เบาทีเดียว)
รองเท้าผ้าแบบจีน มีลวดลายเฉพาะ
วันรับ โซ่วเจิ้ง มีดอกไม้ติดด้วย
คงมีถุงเท้า หรือถุงน่องด้วย
ผมมวยที่ท้ายทอยแบบจีน ติดแถบโบว์ชั้นๆ แต่ละชั้นมีโลโก้ฉือจี้
โอกาสใส่ คือพิธีการ ฉือจี้ ในอาคาร ในไทยควรต้องห้องแอร์
ไม่งั้นก็จะทนอยู่ไม่นาน
ปีหนึ่งมีโอกาสใส่น้อยครั้ง
รองลงมาคือชุด มรรค๘
ใส่บ่อยมาก ใช้ได้หลายโอกาส
ทั้งพิธีการ ออกทำงาน
แต่ไม่เหมาะ ถ้าออกไปลุย ทำความสะอาดให้ครอบครัวบุญคุณ ช่วยน้ำท่วม
รองเท้า เห็นใส่กันสีขาว
เขาบอกว่าดำก็ใส่ได้
คัทชูก็ได้
เวลาไปคงต้องโทรเช็คว่าจะใส่รองเท้าสีอะไร
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554
พิธีรับบัตรกรรมการ
โซ่วเจิ้ง แปลว่า
พิธีรับตำแหน่งเป็นกรรมการฉือจี้
(Certification Ceremony)
ณ ประเทศไต้หวัน พ.ศ.2553
พิธีรับบัตรกรรมการฉือจี้ เป็นพิธีที่จัดขึ้นทุกๆปี ที่ ศาลาจิ้งซือ
ณ เมืองฮัวเหลียง เมืองชายทะเล ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะไต้หวัน
จุดกำเนิดของ มูลนิธิพุทธฉือจี้
ความจริง ตามความเห็นของข้าพเจ้า น่าจะเป็นแค่ พิธีรับบัตรสมาชิกของกลุ่มอาสาสมัครฉือจี้ เท่านั้น
คำว่ากรรมการ เป็นคำที่เหนือสมาชิกขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง
คล้ายกับ สมาชิกพรรคการเมือง กับ กรรมการพรรคการเมือง
ถ้าบอกว่า ข้าพเจ้าเป็นกรรมการฉือจี้ คนฟัง จะรู้สึก แหมดู สูงส่ง สำคัญกว่า ว่าเป็นสมาชิกฉือจี้ เฉยๆ
แต่ก็นั่นแหละ เพราะว่าเราเป็นคนใหม่ เข้าองค์กรใหม่ๆ
สงสัยอยู่เรื่อย
ถ้าจะไปเปลียนแปลง ชื่อ กฎ ระเบียบ อะไรของเขา ตอนนี้ ข้าพเจ้าก็ว่าไม่เหมาะสม
ดูไม่ดีเลย
ข้าพเจ้าต้องทำเป็น "นักเรียนน้อย" หรือ "ถ้วยน้ำชาเปล่าไว้ ก็น่าจะดีกว่า"
เดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 เป็นเดือนประวัติศาสตร์ มีคนจากประเทศไทยไป โซ่วเจิ้ง 13 คน
เป็นคนไทย 9 คน คนไต้หวัน 4 คน นับว่า เยอะมากที่สุด ทุกๆปีก็มีกัน 4-5 คน เท่านั้น
และ เป็นคนไทยมากที่สุด
พวกเราไม่มีรูป ตอนท่าน ธรรมมาจารย์ ติดบัตร มอบ อั่งเปา ให้เรา
เพราะ เขาไม่ให้มีการถ่ายรูป ทุกๆคนแบบที่เราเคยรับปริญญา ในไทย
พวกเราต้องยืนเรียบร้อย ขอให้คนอื่นถ่ายรูปให้เรา
ข้าพเจ้าแทบไม่มีรูป
ต้องมาถ่ายที่เมืองไทย
ปีนี้ มีคนมาเข้าพิธี โซ่วเจิ้ง ถึง 1,300 คน
ปีที่แล้วมีราว 800 คน เท่านั้น
เขาจึงต้องแบ่งเป็น 2 รอบ
รอบเช้า เฉพาะ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเดียว ราว 600 กว่าคน
ที่เหลือเป็นประเทศที่เหลือ
ท่าน ธรรมมาจารย์ต้องมา ยืนแจกทั้งวัน
ท่านอายุกว่า 76 ปีแล้ว.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)