แนวคิดการเร่งรัดให้มีอาสาสมัครเสื้อน้ำเงินมากๆ
ระยะหลัง มีกระแส เร่งรัดให้
มีสมาชิกประเภท เสื้อน้ำเงินมากๆ
มีกรรมการมากๆ
ตามความเห็นของข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เหมือนกับ กดดันให้ "บวชพระ" โดยที่ใจยังไม่พร้อม
พระหลายท่าน เกิดภาวะ "ผ้าเหลืองร้อน" ต้องสึก
สังคมไทย เวลาบวชพระ จะมีงานใหญ่โต
แต่ตอนสึก ก็สึกเงียบๆ
การเร่งรัด เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ
อาจผลสะท้อนกลับในทางลบได้
อาสาสมัครฉือจี้ ที่เป็นกรรรมการแล้ว
แต่ภายหลังก็ ปฏิเสธ แนวทางการทำงาน
ก็ยุติ ชีวิตแบบ อาสาสมัครฉือจี้ ไปอย่างเงียบๆ
ก็มี
ผลที่เกิดง่ายๆ คือมีแต่ จำนวนมาก แต่ไม่มีคุณภาพ
อยากเป็นกรรมการฉือจี้
แต่ยังไม่เข้าใจ ว่ากรรมการคืออะไร
ยังไม่รู้จักแก่นธรรรม และยอมรับแก่นธรรม เลย
ก่อนที่ ข้าพเจ้า จะมาเป็น ชาวฉือจี้
เห็นคนแต่ง เครื่องแบบ เสื้อเทา
ก็รู้สึกดี น่าภาคภูมิใจ
ถ้าเราได้แต่ง ก็ภูมิใจที่เขายอมรับเราเป็นอาสาสมัครฉือจี้ เสื้อเทา คนหนึ่ง
ไม่เคยคิดว่า ต่อไปจะได้เป็น กรรมการฉือจี้เสื้อน้ำเงินแต่อย่างใด
แต่งชุดเสื้อเทา แล้วจึงไปดูงานที่ไต้หวัน
ในฐานะ อาสาสมัครฉือจี้ ไม่ใช่ผู้ไปดูงาน
(แต่ร่วมคณะไป เมื่อ พย.2551)
ตอนข้าพเจ้าได้ใส่เสื้อน้ำเงิน
เขาก็เอาเสื้อมาให้ใส่
ก็ถามเขา(อาสาสมัครที่เป็นกรรมการ)ว่า ผมใส่ได้หรือ
เขาว่า ผมใส่ได้แล้ว
ตอนที่รับเสื้อมา ก็งงๆ เขาบอกว่าให้ใส่ได้เลย
เหตุผลว่า
เมื่อไร จึงใส่ได้ ไม่ได้ อย่างไร
ตอนนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจ
ถึงวันนี้ ข้าพเจ้า คิดว่าควร ต้องเกิดความเข้าใจก่อน
อย่างไรก็ดี อาสาสมัครฉือจี้ อาวุโส
ก็คงเห็นว่า ให้ลงมือทำก่อน
จนซาบซึ้ง แล้วจะเข้าใจเอง
พอเป็นกรรมการแล้วก็จะรู้เอง
มัวแต่ถาม ทำไม ๆ ๆ ก็จะไม่ได้อะไร
เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ เสียเวลา ก็เป็นไปได้
พระเวลาจะบวช ต้องผ่านการบวชเณรก่อน
เรียกว่า บรรพชา
แล้วจึงบวชพระ เรียกว่า อุปสมบท
จะมีพิธี ที่เรียกว่า ขานนาค
ในพระอุโบสถ ต้องมีการ ฝึกเรียนก่อน
เป็นภาษาบาลี จนคล่องแล้ว
อุปัชฌาจารย์ จึงอนุญาติให้บวชได้
ในพิธีจะมี คณะสงฆ์ มีองค์ประกอบต่างๆ
ครบตามพระธรรมวินัย
ถ้าไม่ครบก็ อาจกลายเป็นโมฆะ สูญเปล่าไป
ไม่ได้เป็นพระภิกษุ ตามธรรมวินัยโดยสมบูรณ์
แม้จะบวชมานาน กี่สิบ กี่ร้อยปี
ก็ยังไม่ถือว่าเป็นพระ
บางคนจำต้องมาทำพิธีใหม่
จากนั้นจึงนับพรรษา 1 ใหม่
เป็นอะไรที่ ทำเล่นๆไม่ได้
นั่นเป็นแค่พิธีการ
แต่ก็ งั้นแหละ
อาจบวช ไม่กี่วันก็สึก
เช่นเดียวกับ
คู่สมรส ที่จัดงานแต่งงาน มโหฬาร ตระการตา
เชิญแขกเหรื่อมา 1000 กว่าโต๊ะเป็นสักขีพยาน
หมดค่างาน ค่าสินสอดทองหมั้น 100 กว่าล้านบาท
อยู่กันไม่ถึงเดือน หย่า
ที่สำคัญคือที่ใจ
และการพัฒนา ตามธรรมชาติ ของแต่ละคน
ย้ำ
แต่ละคน (Individual)
ดูประวัติ พระสาวก ของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลแล้ว
ก็ต่างๆกันมาก
ดังนั้น
ต้องเข้าใจ
Individual ให้มากๆ
ต้องละเอียด ลึกซึ้ง ให้มากๆ
ข้าพเจ้าเห็นว่า
วิถีชีวิตแต่ละคน
ที่จะมาเป็นชาวฉือจี้
ต้องแล้วแต่วาสนา จริงๆ
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔